โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

ตำบลยายแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวสิริยากร ไกรพะเนาว์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่

         ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติงาน มีการวางแผนร่วมกัน ในการพัฒนาพื้นที่ ตามเงื่อนไขมหาวิทยาลัย มีการติดต่อประสานงานที่ตกลงร่วมกัน ระหว่างอาจารย์ผู็รับผิดชอบตําบล มีการปฏิบัติงานด้านการสํารวจศักยภาพตําบล ๑๖ เป้าหมาย วางแผนและลงพื้นที่สํารวจ จัดเก็บข้อมูลศักยภาพตําบล ๑๖ เป็าหมาย เพื่อรวบรวมเป็น ข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) ให้เป็นกลไกของระบบข้อมูลที่สนับสนุนการดําเนินงานตามลักษณะแผนเดียว (One Plan) มีการปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และวิเคราะห์ข้อมูลโครงการพัฒนาตําบลแบบบูรณาการของกระทรวงมหาดไทย โดยข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูล การพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP: Thai People Map and Analytics Platform) ข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Land Use) และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาจัดทําเป็น Tambon Profile เพื่อสนับสนุนการจัดทําแผนดําเนินการ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ให้สอดคล้องศักยภาพและความต้องการของตําบล มีการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาตําบล ปฏิบัติงานร่วมกับผู้รับผิดชอบประจําตําบลในการพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ) สร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับ การท่องเที่ยว) และการนําองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ)และการส่งเสริม ด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) โดยผู้ปฏิบัติงานได้เข้ารับการพัฒนาทักษะ ผ่านระบบ e-Learning (อบรมด้วยตนเอง) ตามที่โครงการฯ กําหนด ๔ ด้าน ได้แก่ ๑.ด้านการเงิน Financial Literacy ๒.ด้านดิจิทัล Digital Literacy ๓.ด้านสังคม Social Literacy ๔.ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy มีการปฏิบัติงานด้านการประสานงาน ประสานการทํางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนด และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข่าใจหรือความร่วมมือในการดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีการลงชื่อปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานได้ลงเวลาปฏิบัติงาน ผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ หรือ http://otou.bru.ac.th/ ทุกวันโดยลงเวลามาและลงชื่อเวลากลับ ตามวันเวลาราชการ มีการเผยแพร่ผลงาน โดยผู้ปฏิบัติงานได้เขียนบทความเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับงานเป็นบทความอย่างน้อยเดือน ละ 1 เรื่อง/คน โดยอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้ตรวจสอบความถูกต้องของบทความก่อนนำไปเผยแพร่ลงในระบบ และผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกันจัดทําวิดีโอที่รวบรวมสรุปผลงานตําบลอย่างน้อย 1 เรื่อง/เดือน เผยแพร่ทาง YouTube ในช่องที่ทางมหาวิทยาลัยกําหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

           จากการดำเนินงานในครั้งนี้ ส่งผลให้ตำบลยายแย้มวัฒนามีรายได้เพิ่มขึ้น หรือเท่ากับ 5% และยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการโดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทําและร่วมเฟื่อนฟูเศรษฐกิจชุมชน เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน และเกิดข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data)

          ขอขอบพระคุณ

รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิราณี จุโฑปะมา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารงานบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศ

อาจารย์ ดร.พัชนี กุลฑานันท์  คณบดีคณะครุศาสตร์

นายอภิสิทธิ์ วรศักดิ์กัญญา นายกเทศมนตรีตำบลยายแย้มวัฒนา

นายธำรงค์ ชำนิจศิลป์ ปลัดเทศบาลตำบลยายแย้มวัฒนา

นายทวีชัย โทศรี กำนันตำบลยายแย้มวัฒนา

ผู้ใหญ่ทั้ง 16 หมู่บ้าน

อาจารย์กรรัช มากเจริญ          ผู้รับผิดชอบโครงการ

อาจารย์ปัฐพงศ์ เทียมตรี          Admin ตำบล

อาจารย์สุวิมล ชูสุวรรณ            อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์วรีรัตน์ ก่อกิตติพงศ์      อาจารย์ประจำหลักสูตร

ว่าที่ รต.ปฏิวัติ ปฏิสังข์             เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำหลักสูตร

 

อื่นๆ

เมนู