ข้าพเจ้า นายพีรพัฒน์ แสมรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์
ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฎิบัติงานกับทีมงานประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 1 – 10 เมษายน 2564
ณ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
การลงพื้นที่สำรวจความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจในพื้นที่ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 (บ้านเจริญสุข) หมู่ที่12 (บ้านเจริญสุข) หมู่ 14 (บ้านเจริญสุข) การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเดือนเมษายน ข้าพเจ้าได้พบว่านอกเหนือจากฤดูการทำนาข้าว ชาวบ้านในชุมชนได้มีการทำเศรษฐกิจพอเพียงแบบประยุกต์ โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดในการเลี้ยงสัตว์ ปลูกที่พักอาศัย ปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อการดำรงชีพของแต่ละครัวเรือน โดยพืชผักสวนครัวที่ปลูกกันมากคือ กล้วย มะเขือเทศราชะนี ทำสวนลำไย ทำนา อีกทั้งยังมีการปลูกถั่วเขียวอีกด้วย จากการลงสำรวจพื้นที่ได้พบว่าการที่ชาวบ้านนิยมปลูกถั่วเขียวเนื่องจากถั่วเขียวเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากในการเจริญเติบโต เนื่องจากในหน้าแล้งพื้นที่ตำบลเจริญสุข ค่อนข้างคลาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตร จึงทำให้ชาวบ้านนิยมปลุกถั่วเขียว อีกทั้งการปลุกถั่วเขียวมีต้นทุนที่ค้อนข้างต่ำ จากการสอบถามข้อมูลทำให้ทราบว่า การทำถั่วเขียว11ไร่ ใช้แรงงานเพียง2คนและค่าปุ๋ยประมาณ2พันบาท ซึ่งการดำรงชีพของคนในชุมชนนั้นดำรงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง