เขียนโดย : นายวราเทพ  ปุลันรัมย์  เจ้าหน้าที่ตำบลเจริญสุข ( ภาคนักศึกษา )

บทความ

รายงานผลประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

เรื่อง : ผลการสำรวจด้านภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้านของชุมชนตำบลเจริญสุข

เพื่อส่งเสริมเเละสร้างผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น

  • บทนำ

ความเป็นมาในอดีตกาลนั้นบุรีรัมย์เป็นพื้นที่ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นพื้นที่ภูเขาไฟลูกสำคัญคือ เขาอังคาร อันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเจริญสุข ที่นี่จึงมีกิจกรรมที่โดดเด่น จากการนำทรัพยากรของชุมชนมาต่อยอดให้เป็นกิจกรรม และสินค้าชุมชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ นั่นก็คือการนำดินภูเขาไฟที่อุดมด้วยแร่ธาตุมาทำเป็นสีย้อมเส้นฝ้าย ผสมผสานกับภูมิปัญญาการทอผ้า เกิดเป็นสินค้าเลื่องชื่อในปัจจุบันคือ “ผ้าภูอัคนี” ที่ให้คุณสมบัติของผ้าที่มีเนื้อนิ่ม มีสีที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีสีน้ำตาลอ่อนกับน้ำตาลแดงแบบดินภูเขาไฟ ปัจจุบันมีการจัดตั้ง ศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุข เป็นศูนย์สาธิต ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาชมกันไม่ขาดสาย บ้านเจริญสุขได้รับเลือกให้เป็น หมู่บ้าน OVC (OTOP Village Champion) มีการจัดทำกลุ่มสตรีทอผ้าไหม-ผ้าฝ้าย เพิ่มทางเลือกในการสร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชุมชน และได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีโฮมสเตย์รองรับการพักค้างคืนให้สะดวกสบาย

โดยชุมชนบ้านเจริญสุขนั้น มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีหลากหลายเเละโดดเด่นตามลักษณะของคนไทยชาวภาคอีสาน เช่น ภูมิปัญาด้านการจักสาน , ด้านสิ่งทอ , ด้านเกษตรกรรม เป็นต้น เเละที่สำคัญการอนุรักษ์เเละสืบสาน ต่อยอด ไว้นั้น มีปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นผู้มีความรู้ ผ่านการสั่งสมประสบการณ์จากบรรพบุรุษ ควรค่าเเก่การศึกษาเเละสืบสาน รักษา ต่อยอด ให้ภูมิปัญญาเเต่ละด้านดังที่กล่าวนั้น อยู่คู่กับชุมชนตำบลเจริญสุขเเละสร้างรายได้รายครัวเรือนให้กับชาวบ้านในชุมชนต่อไป

  • วัตถุประสงค์ 

๑.  เพื่อให้ทราบข้อมูลด้านภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้านของชุมชนตำบลเจริญสุข

๒.  เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการจัดทำเอกสารด้านภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้าน ของชุมชนตำบลเจริญสุข เเละจัดทำวีดีโอประจำเดือนพฤษภาคม

๓.  เพื่อนำข้อมูลมาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการส่งเสริมเเละสร้างผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นต่อไป

  • วิธีการดำเนินงาน
ตารางเเสดงวิธีการดำนเนินงานในการสำรวจข้อมูลด้านภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้าน ของชุมชนตำบลเจริญสุข
กิจกรรมที่ดำเนินการ วันที่ดำเนินการ ผลการดำเนินงาน หลักฐานการดำเนินงาน
๑. อาจารย์เเจ้งภาคบัณฑิตเเละภาคส่วนประชาชน นักศุึกษาทราบก่อน ๑ สัปดาห์ เพื่อดำเนินการประชุม (ออนไลน์) ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔ ทราบวันที่จะดำเนินการประชุมประจำเดือนพฤษภาคม     คือ วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ภาพถ่าย ภาพนิ่ง
๒. ดำเนินการจัดการประชุมประจำเดือนทุกภาคส่วนฝ่าย คณาจารย์ วิทยากร เเละเจ้าหน้าที่ทั้ง ๒๐ คน โดยผ่านการ(ออนไลน์) ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ทราบข้อมูลดิบ ด้านภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้าน ของชุมชนตำบลเจริญสุข จากการลงพื้นที่สำรวจสอบถาม เมื่อเดือนก่อนหน้าโดยกลุ่มที่ ๔ คือผู้รับผิดชอบ  นัดหมายวันดำเนินการสำรวจสอบถามเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เเละตามสถานะการณ์โควิด – ๑๙

พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการประชุมชี้เเจงปฏิทินการดำเนินงานส่งเสริมเเละสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ ต่อยอดผ้าภูอัคนี สร้างเสริมเสื่อทอมือจากต้นกก เเละเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชน เป็นต้น

ภาพถ่าย ภาพนิ่ง
๓. ดำเนินการเขียนข้อมูลเเละสิ่งที่ต้องการดำเนินการในชุนการสร้างผลิตภัณฑ์เเละด้านอื่น ๆ เพื่อประสานต่อหน่วยงานมหาวิทยาลัยให้ทราบต่อไป ๘ – ๑๓ ๒๕๖๔ ได้เอกสารผลการสำรวจด้านภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้าน ของชุมชนตำบลเจริญสุข เเละได้จัดทำวีดีโอประจำเดือนพฤษภาคม ภาพถ่าย ภาพนิ่ง/ สื่อวีดีโอ
๔. ภาคส่วนประชาชน ภาคส่วนบัณฑิตที่อยู่ในท้องที่ นำข้อมูลเสนอเเละบรรยายให้ผู้นำชุมชนทราบเเละเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในเบื้องต้น รอดำเนินการตามความเหมาะสมต่อสภานะการณ์เเละอาจารย์ประจำตำบล ๑๙ –  ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ คาดว่า จะทำให้ผู้นำชุมชนรับทราบเเละได้ประสานงานผ่านการออนไลน์อยู่เป็นระยะ เพื่อเป็นการดำเนินงานตามเเผนการ ส่งเสริมพัฒนาต่อไป ภาพถ่าย ภาพนิ่ง
  • ผลการดำเนินงาน

๑.  สามารถทราบข้อมูลภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้าน ของชุมชนตำบลเจริญสุขได้จริง

๒.  สามารถดำเนินการจัดทำเอกสารด้านภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้าน เเละจัดทำวีดีโอประจำเดือนเมษายนได้จริง

๓.  สามารถนำข้อมูลศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการส่งเสริมเเละสร้างผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นต่อไป

๔.  ทราบถึงข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านด้านต่าง ๆ

– ด้านจักสาน คือ นายยอด หนูกูล เเละนายกำปั่น เรืองมณี

– ด้านสิ่งทอ คือ นางสำรวย  ศรีมะเรือง เเละสามชิกกลุ่มทอผ้า

  • สรุปผล เเละข้อเสนอเเนะ

สรุปผล ทำให้ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เเละดำเนินงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบล เกิดกระบวนการสร้างทักษะด้านการเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูเเละการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทักษะการพูด การประสานงาน เเละการเเก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น

ข้อเสนอเเนะ

๑.  พัฒนาส่งเสริม สืบสาน รักษา เเละต่อยอด ภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้านให้ยั่งยืนถาวร

๒. พัฒนาส่งเสริมภูมิปัญญา เเละปราชญ์ชาวบ้าน ผ่านการเผยเเพร่ทางโลกออนไลน์

 

เเหล่งอ้างอิง

เว็บชุมชนบ้านเจริญสุข.//(๒๕๕๐).//ความเชื่อของชุมชน.//สืบค้นเมื่อ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๔,/ จาก. https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/community/content/7/

อื่นๆ

เมนู