1. หน้าแรก
  2. คณะครุศาสตร์
  3. ED05 - ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  4. ED05การปลูกถั่วเขียวเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤษภาคม

ED05การปลูกถั่วเขียวเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนพฤษภาคม

ข้าพเจ้า นายพีรพัฒน์ แสมรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์
ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
เรื่องการปลูกถั่วเขียวเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ

เขียนโดย นายพีรพัฒน์ แสมรัมย์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร ED 05 คณะครุศาสตร์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วยจังหวัด 20 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้เท่ากับหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย พื้นที่ในภาคอีสานส่วนใหญ่มีดินไม่ดี ซึ่งไม่ค่อยเอื้อต่อเกษตรกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฤดูแล้งที่ยาวนาน และพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยหญ้าหรอมแหรม ทำให้ไม่เหมาะกับการปลูกพืชผักที่จำเป็นต้องใช้น้ำ ในประปริมาณมากในการเจริญเติบโตได้ ซึ่งตำบลเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ นั้นก็มีลักษณะดังกล่าวคือ มีแหล่งน้ำในการเกษตรไม่เพียงพอในหน้าแล้ง ฝนตกทิ้งช่วง และไม่มีแหล่งน้ำใช้ในการอุปโภคในหน้าแล้งที่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่สามารถปลุกพืชผัก ที่ต้องใช้น้ำปริมาณมากในการเจริญเติบโตได้ ชาวบ้านเจริญสุขจึงได้มีการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง มีราคาจำหน่ายที่ดี และต้นทุนการผลิตต่ำ นั่นคือถั่วเขียว

 

การปลูกถั่วเขียวมีขั้นตอนและวีธีการดังนี้

 

          การปลูกถั่วเขียวฤดูแล้ง นิยมปลูกในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ถ้าต้องการผลผลิตสูงไม่ควรปลูกเกินปลายเดือนมกราคม แต่ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ควรเลื่อนการปลูกออกไปโดยให้เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมก่อนฝนตกชุกควรปลูกถั่วเขียวทันทีที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เพราะจะได้อาศัยปริมาณน้ำในดินสำหรับการเจริญเติบโตของถั่วเขียว

การเตรียมดิน

 

ลักษระการเตรียมดินอาจแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ และฤดูการปลูก โดยทั่วไปจะทำการเตรียมดินด้วยการไถพรวนดิน และกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 1- 2 ครั้ง โดยอาจไถครั้งเดียวก่อนปลูกเพื่อลดต้นทุน ด้วยการไถหน้าดินลึกประมาณ 30 ซม. โดยมีระยะห่างการไถประมาณ 1-2 อาทิตย์ และ 5-10 วันก่อนปลูก การไถก่อนปลูกมักไถขึ้นร่อง เป็นร่องเดี่ยว กว้าง 30-40 ซม.

วิธีการปลูก และระยะปลูก

การปลูกถั่วเขียวทำได้ 3 วิธีการ คือ

  1. การปลูกเป็นหลุม วิธีนี้เป็นการปลูกโดยวิธีหยอดหลุมบนคันร่องที่เตรียมไว้ โดยมีระยะระหว่างแถวประมาณ 50 เซนติเมตร และระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 ต้น ความลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร ซึ่งจะใช้เมล็ด 3-5 กิโลกรัม/ไร่
  2. การปลูกแบบโรยเป็นแถว วิธีนี้เป็นการปลูกบนคันร่องเช่นกัน ด้วยการเปิดร่องตามแนวยาวบนคันร่อง ระยะระหว่างร่อง 50 เซนติเมตร ทำการโรยเมล็ดลงในร่อง 10-15 เมล็ด ต่อระยะ 1 เมตร ความลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ ไม่ควรลึกมากกว่านี้เพราะเมล็ดจะงอกยาก หรืองอกแล้วอาจเน่าได้ ภายหลังจากโรยเมล็ดให้เกลี่ยดินด้านบนกลบตาม

 

การตรวจเช็คการงอก การปลูกซ่อม และการถอนแยก

 

โดยทั่วไปเมล็ดถั่วเขียวจะงอกภายใน 3-5 วัน หลังปลูก บางพื้นที่ เช่น ภาคเหนือที่ปลูกในช่วงอากาศหนาว เมล็ดอาจงอกช้าขึ้นประมาณ 4-7 วัน หลังปลูก บางหลุมหรือบางส่วนเมล็ดอาจไม่งอกจากสาเหตุของเมล็ดถูกทำลายจากแมลงหรือสัตว์หน้าดิน รวมถึงความชื้นหรือปลูกในระดับที่ลึกเกิน จึงจำเป็นต้องตรวจสอบการงอกของเมล็ดในแต่ละแถว หากหลุมหรือแนวเมล็ดที่ไม่งอกให้ทำการหยอดเมล็ดปลูกซ่อมแซมใหม่โดยเร็วเพื่อให้ต้นเกิดใหม่สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกับต้นอื่นๆ โดยไม่ควรปลูก

 

ซ่อมแซมภายหลังจาก 5 วัน หลังเมล็ดถั่วที่ปลูกครั้งแรกงอก ส่วนบางหลุมที่มีการหยอดเมล็ด และเมล็ดเกิดงอกมากกว่า 3 ต้น/หลุม ให้ทำการถอนต้นถั่วเขียวที่เล็กหรือไม่สมบูรณ์ทิ้ง โดยให้เหลือเพียง 2-3 ต้น/หลุม

 

การเก็บเกี่ยว และการนวดถั่วเขียว

ถั่วเขียวที่ปลูกในพื้นที่ต่างๆมักออกดอกไม่พร้อมกัน จึงทำให้ระยะการแก่ของฝักไม่พร้อมกัน ทำให้ต้องเก็บเกี่ยวหลายครั้ง หากมีระยะการเก็บในฤดูฝนเมล็ดอาจเสียหายได้ ซึ่งอาจต้องรีบเก็บเกี่ยวฝักทันทีเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน แต่หากเก็บผลผลิตแบบทะยอยเก็บต้องก็ต้องระวังไม่ให้ดอกถั่วเขียวรุ่นหลังร่วงหรือติดฝักมาด้วย สำหรับถั่วเขียวที่ถึงระยะการเก็บเกี่ยวฝักนั้นมักมีอายุประมาณ 60-70 วันนับจากวันงอก ทั้งรุ่นแรก และรุ่นที่สอง

จากการลงสำรวจพื้นที่ได้พบว่าการที่ชาวบ้านนิยมปลูกถั่วเขียวนั้น เนื่องจากถั่วเขียวเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำ

 

มากในการเจริญเติบโต ในช่วงหน้าแล้งพื้นที่ตำบลเจริญสุข ค่อนข้างขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตร จึงทำให้ชาวบ้านนิยมปลุกถั่วเขียว อีกทั้งการปลุกถั่วเขียวมีต้นทุนที่ค้อนข้างต่ำ จากการสอบถามข้อมูลทำให้ทราบว่า การทำถั่วเขียว11ไร่ ใช้แรงงานเพียง2คนและค่าปุ๋ยประมาณ2พันบาท อีกทั้งมีราคาการขายที่ดี ราคาขายเข้าตลาดเฉลี่ยกิโลกรัมละ30บาท ทำให้ชาวบ้านเจริญสุขนิยมปลูกถั่วเขียวในหน้าแล้งกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการลงทุนที่ต่ำและมีราคาการขายที่ดี การดูแลต้นถั่วเขียวทำได้ง่ายและที่สำคัญถั่วเขียวเป็นพืชที่ต้องการปริมารน้ำในการเจริญเติบโตค่อนข้างน้อย ซึ่งเหมาะสมกับสภาพพื้นดินของบ้านเจริญสุขที่มีความแห้งแล้ง และความชื้นในดินมีน้อยเป็นอย่างมาก และประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อหมดฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านจะทำการไถกลบต้นถั่วเขียว การ

 

ไถกลบต้นถั่วเขียวช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน เพิ่มธาตุไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช ซึ่งส่งผลดีต่อการปลูกข้าวทำนาปี ช่วยให้ชาวบ้านลดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้เป็นอย่างมาก
การปลูกถั่วเขียวมีการลงทุนที่น้อย ผลตอบแทนดี และที่สำคัญเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบโตเหมาะสมกับพื้นที่แห้งแล้งของบ้านเจริญสุขเป้นอย่างมาก อีกทั้งต้นถั่วเขียวที่ไถกลบมีประโยชนืในการเพิ่มแร่ธาตุในดินอีกด้วย จากประโยชน์และความเหมาะสมของสภาพพื้นดินในข้างต้นทำให้ถั่วเขียว เป็นพืชที่ควรได้รับการการส่งเสริม

 

ให้เกษตรกรในพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่บ้านเจริญสุขเป็นอย่างมาก  ถ้าท่านได้มีโอกาสมาเยือนบ้านเจริญสุขในช่วง

 

เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มีนาคม ท่านจะสามารถพบเห็นไร่ถั่วเขียวตลอด2ข้างทางเข้าหมู่บ้านเจริญสุข

 

 

อื่นๆ

เมนู