เขียนโดย นางสำรวย ศรีมะเรือง กลุ่มภาคประชาชน ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร ED 05 คณะครุศาสตร์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อาหารของคนไทยในแต่ภาคนั้นจะมีคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันแล้วสภาพพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นอาหารอาจจะเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น แต่โดยหลักอาหารเกิดจากการสร้างสรรค์ของแต่ละพื้นที่ โดยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่สามารถกระทำได้

ครั้งนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงชุมชนบ้านเจริญสุข ซึ่งเป็นคนอีสานใช้ภาษาอีสาน เมื่อหลายสิบปีก่อน พื้นที่แห่งนี้ประชาชนมอาชีพทำการเกษตร (ทำนา) เพียงอย่างเดียว เมื่อเกิดความแห้งแล้งติดต่อกันสามถึงสี่ปีทำให้ชาวบ้านที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งได้สร้างแรงบันดาลใจเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีการรวมกลุ่มรณณรงค์ เช่น ห้ามเผาป่า ห้ามตัดต้นไม้ ห้ามขุดโค่นต้นไม้บริเวณป่าเขาพระอังคาร และมีการตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อคอยพิจารณาการจัดทำแผนทุก ๆ ด้านของชุมชน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ปฏิบัติตามแผนที่ตั้งไว้เพื่อเนการอนุรักษ์ธรรมชาติอีกทางหนึ่ง และได้มีการส่งแผนการนอกเหนือจากที่ชาวบ้านปฏิบัติได้ให้แก่หน่วยงานในท้องถิ่นต่อไปเพื่อเข้ามาพัฒนาในพื้นที่

ต่อมาได้มีการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเจริญสุขที่เกิดความแห้งลายสิบปี โดยมีโครงการขุดลอกอ่างน้ำชื่ออ่างน้ำตกด้วยงบประมาณทางภาครัฐ โดยใช้แรงงานในชุมชน รับจ้างขุด ต่อมาได้มีโรงงานอุตสาหกรรม โรงโม่หินที่ทำการเจาะขุดหินขึ้นมา เพื่องานก่อสร้างต่าง ๆ และมีที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณป่า ได้นำเครื่องจักรเข้ามาช่วยขุดลอกแหล่งน้ำ และสร้างแหล่งเก็บน้ำเพิ่มให้แก่ชุมชน  ทำให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคจากเดิมชาวบ้านในชุมชนทำนาเพียงอย่างเดียว  แต่ในปัจจุบันชุมชนได้ทำเกษตรด้านอื่น ๆ เช่น ทำสวนอ้อย กผักหวาน ลำไย ลิ้นจี่ ฝรั่ง เลี้ยงสัตว์ และพืชที่ใช้น้ำน้อยตลอดทั้งปี รวมถึงอาหารที่เกิดตามธรรมชาติ เมื่อป่าเขาพระอังคารเกิดความอุดมสมบูรณ์ทำให้เกิดผลผลิตที่ชุมชนสามรถนำมาประกอบเป็นอาหาร และหามาเพื่อจำหน่ายที่ตลาดชุมชนบ้านเจริญสุข เช่น เห็ด ดอกกระเจียว เป็นต้น

จากการที่ชุมชนได้ร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนาพื้นที่แหล่งอาหาร ทั้งด้านป่าชุมชน แหล่งประมงชุมชน และพืชที่ใช้น้ำน้อย ทำให้มีอาหารที่เพียงพอ และเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน รวมถึงยังประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ถึงแม้จะเผชิญกับไวรัสโคโรน่า 2019 ก็ตาม

อื่นๆ

เมนู