เขียนโดย : นายวราเทพ  ปุลันรัมย์ ( ภาคนักศึกษา ) เจ้าหน้าที่ตำบลเจริญสุข  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  

ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทความ 

ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔

เรื่อง : ผลการสำรวจด้านโบราณสถาน และโบราณวัตถุของชุมชนตำบลเจริญสุข

เพื่อส่งเสริมและสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

๑. บทนำ

ความเป็นมาในอดีตกาลนั้นบุรีรัมย์เป็นพื้นที่ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นพื้นที่ภูเขาไฟลูกสำคัญคือ เขาอังคาร อันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเจริญสุข ที่นี่จึงมีกิจกรรมที่โดดเด่น จากการนำทรัพยากรของชุมชนมาต่อยอดให้เป็นกิจกรรม และสินค้าชุมชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ นั่นก็คือการนำดินภูเขาไฟที่อุดมด้วยแร่ธาตุมาทำเป็นสีย้อมเส้นฝ้าย ผสมผสานกับภูมิปัญญาการทอผ้า เกิดเป็นสินค้าเลื่องชื่อในปัจจุบันคือ “ผ้าภูอัคนี” ที่ให้คุณสมบัติของผ้าที่มีเนื้อนิ่ม มีสีที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีสีน้ำตาลอ่อนกับน้ำตาลแดงแบบดินภูเขาไฟ ปัจจุบันมีการจัดตั้ง ศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุข เป็นศูนย์สาธิต ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาชมกันไม่ขาดสาย บ้านเจริญสุขได้รับเลือกให้เป็น หมู่บ้าน OVC (OTOP Village Champion) มีการจัดทำกลุ่มสตรีทอผ้าไหม-ผ้าฝ้าย เพิ่มทางเลือกในการสร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชุมชน และได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีโฮมสเตย์รองรับการพักค้างคืนให้สะดวกสบาย

โดยชุมชนบ้านเจริญสุขนั้น มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีความสวยงามและควรค่าแก่การศึกษาอนุรักษ์ไว้หลายหลายอย่าง ดังยกตัวอย่าง เช่น วัดเขาพระอังคาร วัดบ้านเจริญสุข ศาลหลักบ้านหลักเมืองของหมู่บ้าน ใบเสมาหินอายุกว่าพันปี และตำหนักเสร็จปู่วิริยะเมฆ เป็นต้น เมื่อทางคณะทำงานได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วทำให้ทราบว่าควรที่จะเสนอให้ทางโครงการมีการพัฒนาและสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อเป็นอีกแนวทางในการสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ครัวเรือยให้กับชาวบ้านในชุมชนต่อไป

 

๒. วัตถุประสงค์ 

๑.  เพื่อให้ทราบข้อมูลด้านโบราณสถาน และโบราณวัตถุของชุมชนตำบลเจริญสุข

๒.  เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการจัดทำเอกสารด้านโบราณสถาน และโบราณวัตถุ

ของชุมชนตำบลเจริญสุข และจัดทำวีดีโอประจำเดือนมิถุนายน

๓.  เพื่อนำข้อมูลมาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการส่งเสริมในการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่อไป

 

๓. เอกสารที่เกี่ยวข้อง

          วัดเขาพระอังคาร เป็นวัดที่มีวัตถุธรรมความสวยงามของวัดพุทธศิลป์สร้างมานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจความสวยงามของวัดพุทธศิลป์ผสมศิลป์ขอม  แนวเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  ส่วนสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่เห็นในวัดปัจจุบัน  ส่วนใหญ่สร้างใหม่ทับของเก่า   มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ ลักษณะเด่น  เป็นวัดที่สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก  วัตถุธรรมความสวยงามของวัดเขาพระอังคาร  ด้านพุทธศิลป์เน้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สร้างศรัทธาต่อผู้มาเยือน  ได้แก่   ๑. โบสถ์ 3 ยอด สวยงามแปลกตา  แตกต่างจากโบสถ์วัดทั่วไป  โบสถ์ทรงแปลก ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์  และโบสถ์ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษ ใบเสมาพันปี  ศาสนสถานและโบราณวัตถุอันล้ำค่า มีใบเสมา 8 คู่ ตั้งอยู่ 8 ทิศอย่างองอาจ  ๓.  พระพิฆเนศงาเดียว  ๔. พระพุทธ 109 องค์ ๕. พระตำหนักศักดิ์สิทธิ์

          ๔. วิธีการดำเนินงาน

ตารางเเสดงวิธีการดำนเนินงานในการสำรวจข้อมูลด้านโบราณสถาน และโบราณวัตถุของชุมชนตำบลเจริญสุข

กิจกรรมที่ดำเนินการ

วันที่ดำเนินการ ผลการดำเนินงาน

หลักฐานการดำเนินงาน

๑. ดำเนินการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ด้านทั่วไป ๓๐ พฤษภาคม๒๕๖๔ ทราบข้อมูลและทราบถึงความสำคัญของสถานที่ต่าง ๆ ภาพเอกสาร ภาพนิ่ง
๒. ดำเนินการสำรวจและสอบถามข้อมูลโดยคณะทำงานท่านอื่น ๆ ในกลุ่มที่ ๕ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ ทราบข้อมูลดิบ ด้าน โบราณสถาน และโบราณวัตถุของชุมชนตำบลเจริญสุข และได้นำมาใช้ในการตัดต่อวีดีโอ ภาพถ่าย ภาพนิ่ง
๓. ดำเนินการนำข้อมูลที่ได้มาตัดต่อวีดีโอและดำเนินการลงในช่องยูทูปของโครงการ ฯ ๘ – ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ ได้จัดทำวีดีโอประจำเดือนมิถุนายน ภาพถ่าย ภาพนิ่ง

/ สื่อวีดีโอ

         

          ๕. ผลการดำเนินงาน

๑.  สามารถทราบข้อมูลโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของชุมชนตำบลเจริญสุขได้จริง

๒.  สามารถดำเนินการจัดทำเอกสารด้านโบราณสถาน และโบราณวัตถุ และจัดทำวีดีโอประจำเดือนเมษายนได้จริง

๓.  สามารถนำข้อมูลศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการส่งเสริมและเส้นทางการท่องเที่ยวในท้องถิ่นต่อไป

๖. สรุปผล และข้อเสนอแนะ

              สรุปผล ทำให้ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และดำเนินงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบล เกิดกระบวนการสร้างทักษะด้านการเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูและการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทักษะการพูด การประสานงาน และการเเก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น

              ข้อเสนอแนะ

๑. พัฒนาส่งเสริม เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนให้ยั่งยืน

๒. พัฒนาส่งเสริม ผ่านการเผยเเพร่ทางโลกออนไลน์

 

๗. เเหล่งอ้างอิง

เว็บชุมชนบ้านเจริญสุข.//(๒๕๕๐).//วัดเขาพระอังคาร. //สืบค้นเมื่อ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔,/ จาก. https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/community/content/7/

 

อื่นๆ

เมนู