การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วในประเทศ)
ชื่อบทความ รอบรู้ ป้องกัน รับมือ โรคโควิด 19 
พื้นที่รับผิดชอบ 
ตำบลเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์

ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวกานดา ก้อนเสมา

              โรคโควิด มาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรกเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกำเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของ การระบาดในระยะเริ่มแรก

              การแพร่เชื้อ แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจาก จมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอหรือจาม สามารถเรารับเชื้อได้จากการ หายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะตัว) มีตั้งแต่ 1-14 วัน และมีค่าเฉลียอยู่ที่ 5-6 วัน เกิน 97% ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการ ภายใน 14 วัน

              มาตรการทางสาธารณสุข
                  การกักกัน คือ การจํากัดกิจกรรมต่างๆ หรือการแยกผู้ที่ ไม่ป่วย แต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 จุดประสงค์คือเพื่อ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในห้วงเวลาที่คนเริ่มมีอาการ

                  การแยกกัก หมายถึง การแยกผู้ป่วยที่มีอาการของโรคโควิด 19 และ อาจแพร่เชื้อได้ จึงทำเพื่อป้องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
                  การเว้นระยะ คือ การอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามัยโลกแนะนําให้ เว้นระยะอย่างน้อย 2 เมตรจากผู้อื่น ส่วนนี้เป็นมาตรการทั่วไปที่ ทุกคน ควรทำถึงแม้ว่าจะแข็งแรงดี การติดตามผู้สัมผัสโรค ทำเพื่อระบุหาคนที่อาจมีประวัติสัมผัสโรค เพื่ออที่ จะแยกกันออกไปโดยเร็ว

การป้องกัน 
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่
– ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
– แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปากปิดจมูกเวลา ไอ หรือจาม
– ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ก่อนรับประทาน
อาหาร และหลังขับถ่าย
– ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความ
เสี่ยงในการติดโรค



 

 

 

 

 

 

               ขณะนี้ทั่วโลกได้มีการฉีดวัคซีนโควิด 19 รวมทั้งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักคือ ลดการเจ็บป่วย การเข้ารักษาในโรงพยาบาล การเสียชีวิต และการแพร่เชื้อ ตลอดจนฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อเพิ่มในอนาคต เพราะเมื่อไม่ป่วยหรือป่วยแต่ไม่มีอาการ การแพร่เชื้อก็จะน้อยลง   การฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวัคซีนโควิด 19 เข้าสู่ร่างกายจะไปกระตุ้นระบบการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายรู้จักเชื้อโควิด 19 เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเม็ดเลือดขาวจะส่งภูมิคุ้มกันไปจัดการกับเชื้อได้ก่อนที่เราจะป่วยหนัก การฉีดวัคซีนโควิด 19 จึงเหมือนเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมสู้กับเชื้อโควิด 19 ซึ่งจะสู้ได้แค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน และต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีน ร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ และถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้วแต่ก็ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ควบคู่กันไปด้วย

 

 

 

 

แหล่งอ้างอิง
โรงพยาบาลรามคำแหง – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางครบทุกสาขา /สืบค้น 10 มิถุนายน 2564 /จาก  https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/849
สมาคมโรคติดเชื่อในเด็กแห่งประเทษไทย /องค์ความรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรน่า (Coronaviruses) /สืบค้น สืบค้น 10 มิถุนายน 2564/จาก  https://www.pidst.or.th/index.php

……………………………………………………วิดีโอ…………………………………………………….

อื่นๆ

เมนู