บทความประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

เขียนโดย : นายวราเทพ  ปุลันรัมย์  ( ภาคนักศึกษา ) เจ้าหน้าที่ตำบลเจริญสุข

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  

ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

 

เรื่อง : ผลการสำรวจด้านภูมิปัญญาชาวบ้านที่โดดเด่นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

๑. บทนำ

ความเป็นมาในอดีตกาลนั้นบุรีรัมย์เป็นพื้นที่ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นพื้นที่ภูเขาไฟลูกสำคัญคือ เขาอังคาร อันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเจริญสุข ที่นี่จึงมีกิจกรรมที่โดดเด่น จากการนำทรัพยากรของชุมชนมาต่อยอดให้เป็นกิจกรรม และสินค้าชุมชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ นั่นก็คือการนำดินภูเขาไฟที่อุดมด้วยแร่ธาตุมาทำเป็นสีย้อมเส้นฝ้าย ผสมผสานกับภูมิปัญญาการทอผ้า เกิดเป็นสินค้าเลื่องชื่อในปัจจุบันคือ “ผ้าภูอัคนี” ที่ให้คุณสมบัติของผ้าที่มีเนื้อนิ่ม มีสีที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีสีน้ำตาลอ่อนกับน้ำตาลแดงแบบดินภูเขาไฟ ปัจจุบันมีการจัดตั้ง ศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุข เป็นศูนย์สาธิต ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาชมกันไม่ขาดสาย บ้านเจริญสุขได้รับเลือกให้เป็น หมู่บ้าน OVC (OTOP Village Champion) มีการจัดทำกลุ่มสตรีทอผ้าไหม-ผ้าฝ้าย เพิ่มทางเลือกในการสร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยว เข้ามาท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชุมชน และได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีโฮมสเตย์รองรับการพักค้างคืนให้สะดวกสบาย

โดยชุมชนบ้านเจริญสุขนั้น มีความหลากหลายทางภูมิปัญญา และมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ในด้านภูมิปัญญานั้น ๆ สืบทอดอยู่ เช่น ภูมิปัญญาการทำผ้าภูอัคนี จากดินภูเขาไฟ ที่มีคุณเม่สำรวยเป็นประธานกลุ่มทอผ้าของบ้านเจริญสุข และภูมิปัญญาด้านการทำงานของการจักสาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกสานเครื่องมือเครื่องใช้ หรือด้านอุปกรณ์การดัดจับปลา หรือแม้กระทั้งอุปกรณ์จักสานในด้านการประดับตกแต่ง เป็นต้น และผลการสำรวจที่สำคัญนั้นทำให้เกิดการส่งผลงานเพื่อเข้ารับการแข่งขัน Hackathon ที่ทางคณะทำงานได้ดำเนินการและเข้ารอบการแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ต่อไป

 

๒. วัตถุประสงค์ 

๑.  เพื่อให้ทราบข้อมูลด้านภูมิปัญญาชาวบ้านที่โดดเด่นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

๒.  เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการจัดทำเอกสารด้านภูมิปัญญาชาวบ้านที่โดดเด่นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน และจัดทำวีดีโอประจำเดือนมิถุนายน

๓.  เพื่อนำข้อมูลมาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการส่งเสริมในการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่อไป

 

๓. เอกสารที่เกี่ยวข้อง

          ปัจจุบันกลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าไหม–ผ้าฝ้าย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมและยังได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OVC หรือ OTOP Village Champion ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหหาดไทย โดยทางกลุ่มของชาวบ้านเจริญสุขได้มีการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่แปลกใหม่เพื่อให้เข้ากับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงหรือยุค 4.0 ในปัจจุบันให้มีความทันสมัยและเหมาะกับการนำไปใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อิตาลี อังกฤษ เพื่อนำไปเผยแผ่ความมหัศจรรย์จากธรรมชาติของไทยเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักไปทั่วโลกอีกด้วย

นอกจากนี้กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าไหม–ผ้าฝ้าย ในหมู่บ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ยังเปิดโอกาสให้กับนักท่องเที่ยวหรือบุคคลที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเกี่ยวกับวิถีชีวิตและขั้นตอนในการรังสรรค์สิ่งมหัศจจรย์ของการทำผ้าทออัคนี หรือ ผ้าย้อมดินภูเขาไฟในทุกขั้นตอน เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและการอนุรักษ์เรื่องราวที่มีคุณค่าอีกอย่างหนึ่งของไทยให้คงอยู่และยั่งยืนสืบต่อไป

          ๔. วิธีการดำเนินงาน

ตารางเเสดงวิธีการดำนเนินงานในการสำรวจข้อมูลด้านโบราณสถาน และโบราณวัตถุของชุมชนตำบลเจริญสุข
กิจกรรมที่ดำเนินการ วันที่ดำเนินการ ผลการดำเนินงาน หลักฐานการดำเนินงาน
๑. ดำเนินการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ด้านทั่วไป ๓๐ กรกฏาคม๒๕๖๔ ทราบข้อมูลและทราบถึงความสำคัญของสถานที่ต่าง ๆ ภาพเอกสาร ภาพนิ่ง
๒. ดำเนินการสำรวจและสอบถามข้อมูลโดยคณะทำงานท่านอื่น ๆ ในกลุ่มที่ ๕ ๓ กรกฏาคม๒๕๖๔ ทราบข้อมูลดิบ  และได้นำมาใช้ในการตัดต่อวีดีโอ ภาพถ่าย ภาพนิ่ง
๓. ดำเนินการนำข้อมูลที่ได้มาตัดต่อวีดีโอและดำเนินการลงในช่องยูทูปของโครงการ ฯ ๘ – ๑๓ ๒๕๖๔ ได้จัดทำวีดีโอประจำเดือนมิถุนายน ภาพถ่าย ภาพนิ่ง

/ สื่อวีดีโอ

         

          ๕. ผลการดำเนินงาน

๑.  สามารถทราบข้อมูลด้านภูมิปัญญาชาวบ้านที่โดดเด่นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันได้จริง

๒.  สามารถดำเนินการจัดทำเอกสารด้านภูมิปัญญาชาวบ้านที่โดดเด่นเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันได้จริง

๓.  สามารถนำข้อมูลศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการส่งเสริมและเส้นทางการท่องเที่ยวในท้องถิ่นต่อไป

๖. สรุปผล และข้อเสนอแนะ

              สรุปผล ทำให้ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และดำเนินงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบล เกิดกระบวนการสร้างทักษะด้านการเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูและการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทักษะการพูด การประสานงาน และการเเก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น

              ข้อเสนอแนะ

๑. พัฒนาส่งเสริม เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนให้ยั่งยืน

๒. พัฒนาส่งเสริม ผ่านการเผยเเพร่ทางโลกออนไลน์

 

๗. เเหล่งอ้างอิง

เว็บชุมชนบ้านเจริญสุข.//(๒๕๕๐).//ภูมิปัญญาบ้านเจริญสุข. //สืบค้นเมื่อ ๓ กรกฎาคม๒๕๖๔,/ จาก. https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/community/content/7/

Tags:

อื่นๆ

เมนู