การทำเกษตรในปัจจุบัน มีการใช้ปุ๋ยเคมีกันอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่มีการรักษาสภาพดิน ทำให้ดินเสื่อมสภาพการใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาสภาพดิน เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพสามารถให้ธาตุอาหารแก่พืช ช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้มีสภาพดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช ซึ่งสามารถผลิตได้ง่ายโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
ปุ๋ยหมักชีวภาพ นั้นคือ ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้ง่ายใช้เวลาน้อย โดยการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับมูลสัตว์ แกลบดำ รำละเอียดคลุมด้วยกระสอบป่าน ใช้เวลาประมาณ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้
วัสดุอุปกรณ์
1. มูลสัตว์แห่งละเอียด 3 ส่วน
2. แกลบดำ 1 ส่วน
3. อินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว ขุยมะพร้าว กากปาล์ม เปลือกมัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
4. รำละเอียด 1 ส่วน
5. น้ำสกัดชีวภาพ หรือใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ (หัวเชื้อจุลินทรีย์ทำเอง หรือ สารเร่ง พด. หรือ EM) 1 ส่วน
6. กากน้ำตาล 1 ส่วน
7. น้ำ 100 ส่วน
8. บัวรดน้ำ
หมายเหตุ : อัตราส่วนของวัสดุที่ใช้ปรับตามความเหมาะสม นอกจากรำละเอียด จะต้องให้มีไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือ 10% เพราะรำละเอียดเป็นอาหารที่จำเป็นของจุลินทรีย์
ขั้นตอนวิธีทำ
1. นำวัสดุต่าง ๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี
2. เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราด
บนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันจนทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือขึ้น เกินไป (ประมาณ 30-40 %) หรือลองเอามือขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตก ออกจากกันและมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากันยังใช้ไม่ได้ต้องรด น้ำเพิ่ม
3. หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 7 วัน ก็นำไปใช้ได้
4. วิธีหมัก ทำได้ 2 วิธี คือ
4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบ ป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบที่คลุมออก แล้วกลับ กองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อย ๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่เข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้ บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ 5-7 วัน จะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ ประกอบด้วย จุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่ดี จะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่า การหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40 – 50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ให้ต้องพอดี ประมาณ 30% ปุ๋ยหมัก ชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ
การใช้ประโยชน์
- ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
- เพิ่มการดูดซับธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
- เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื้อโรคพืชบางชนิด
- การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
- ดินค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช
การใช้ปุ๋ยชีวภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ใส่แบบหว่านทั่วแปลง การใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุง บำรุงดิน เนื่องจากปุ๋ยหมักจะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืช ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก ต้องใช้แรงงาน อัตราแนะนำ 2 ตัน/ไร่/ปี
- ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการ ปลูกพืชไร่ วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวเหมาะสมที่จะใช้แบบโรยเป็นแถวสำหรับระบบการปลูกพืชไร่ ทั่วไป อัตราแนะนำ 3 ตัน/ไร่/ปี
- ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ ปุ๋ยหมัก แบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นโดยสามารถใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อการปลูกพืช นำ ดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม อีกระยะหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืช เจริญแล้ว โดยการขุดเป็นร่องรอบๆต้นตามแนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วย ดิน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20 – 50 กิโลกรัม/หลุม
อ้างอิง
ข่าวเกษตรน่ารู้//(๒๕๖๔).// การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ /สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน ๒๕๖๔,/ จาก.http://www.vigotech.in.th