บทความประจําเดือนสิงหาคม 2564
เรื่อง การดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของคนในตําบลเจริญสุข อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
การดําเนินชีวิตของคนในปัจจุบันกําลังประสบกับปัญหาใหญ่คือปัญหาด้านเศรษฐกิจเช่นราคาสิ่งของเครื่องใช้เครื่องอุปโภคบริโภครวมถึงราคาน้ํามันสูงขึ้นมากทําให้รายรับที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับรายจ่ายอาจเนื่องมาจากการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยขาดการวางแผนการใช้เงินจึงเกิดปัญหาหนี้สินตามมาแต่ถ้าพวกเราได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เราเข้าใจและ นํามาปฏิบัติตามอย่างถูกต้องปัญหาต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะไม่เกิดขึ้นการดําเนินการชีวิตประจําวันก็จะ เป็นไปอย่างมีความสุข
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดํารินั้นเป็นหลักปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดํารงค์อยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็นโดยมีฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาเป็นการมองโลกเชิง ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของ การพัฒนาโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนโดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะมุ่งเน้น 2 เรื่องคือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง
ห่วง 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ห่วง 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ห่วง 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข
1. เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้น ปฏิบัติ
2. เงื่อนไข คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดําเนินชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง
การนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก “พึ่งตนเอง” คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อนในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จัก ตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ–รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตนไม่ให้เป็น หนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง การพัฒนาตนเองให้สามารถ “อยู่ได้อย่าง พอเพียง” คือ ดําเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาด แคลนจนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดําเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่นหรือเบียดเบียน สิ่งแวดล้อม โดย
– ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
– ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดํารงชีพ
– ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต
– ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย
– มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
– ทํามาหากินก่อนทํามาค้าขาย
– ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย
– มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
แนวทางการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
1.เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
2.ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ – ลิสต์รายการของที่จําเป็นต้องซื้อ และเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่าและมีประโยชน์
3.จดบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ
4.มีเป้าหมายในการออม จากนั้นจึงกําหนดรายจ่ายในแต่ละวัน แล้วจึงประหยัดรายจ่ายด้วยการจ่ายน้อยกว่าหรือเท่ากับเป้าหมายที่กําหนดไว้
โดยคณะทํางานโครงการ U2T โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ภายใต้การกํากับดูแลของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการดําเนินชีวิตความเป็นอยู่ของคนใน ตําบล คณะทํางาน จึงได้จัดอบรมโดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ชาวบ้านในตําบลทั้ง 14 หมู่บ้าน ด้านการทําปุ๋ย ชีวภาพสําหรับการเพราะปลูกพืชผักสวนครัว พืชเกษตรของชาวบ้านตําบล โดยแจกเมล็ดพันธุ์ให้กับกลุ่มชาวบ้านที่ เข้ารับการอบรม เพื่อเป็นตัวแทนประจําหมู่บ้านในการการปลูกพืชในครัวเรือนเพื่อไว้อุปโภคและบริโภค และได้ลง พื้นที่ทําแปลงเกษตรสาธิตขึ้นมาของกลุ่มในแต่ละหมู่บ้านในตําบลเจริญสุข เพื่อติดตามผลเป็นระยะๆต่อไป และได้ มีการลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านโดยสํารวจกลุ่มเกษตรกร โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงกันจํานวนมากเนื่องจากอดีตมีความยากจน หาซื้อข้าวของ อุปโภคหรือบริโภคนั้นมีค่าใช้จ่าย ค่อนข้างเยอะ จึงหันมาใช้ชีวิตตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชีวิตครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้และมีความยั่งยืนไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต
ทั้งนี้ การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจังจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศก้าวหน้าไป อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี อันจะนําไปสู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันใน สังคมไทย” ซึ่งผลจากการดําเนินกิจกรรมทางโครงการ U2T ของชาวตําบเจริญสุขทําให้ชาวบ้านพึ่งพาตนเองได้ จากการประหยัดอดออม ปลูกพืชผักสวนครัวไว้อุปโภคและบริโภค การวางแผนการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อ้างอิง
http://journal.feu.ac.th/pdf/v3i1t2a2.pdf?fbclid=IwAR0EyBaUBTSks19MAhilykgw9tbM2yAL7J _h452NW0Pe2AFItlr55cymr9Q https://www.dlt.go.th/site/khonkaen/m-news/10031/view.php?_did=26281&fbclid=IwAR2iwXoZ4- Z695sZNcAlWQJ9W7OMUfltS7vX5Qvb7KbvT8SiBwwNW-anYoA
ภาพการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ชาวบ้านด้านการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอกและไม้ประดับในครัวเรือน
ภาพกิจกรรมการทำปุ๋ยชีวภาพจากต้นกล้วยและผลไม้
ภาพการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร(ศพก)