โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้านางสาวปนัดดา ผาสุขใจ
ประเภท กพร.
หลักสูตร ED05 คณะครุศาสตร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
เรื่อง พืชผักสวนครัวในรั้วชุมชนเจริญสุข
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีเข้ามาใช้ในการผลิตอย่างมากมาย เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย ต่อทั้งตัวผู้ใช้ และผู้บริโภคและที่สาคัญยังทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นกัน การปลูกผักปลอดสารพิษจึง เป็นการปรับปรุงระบบการผลิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้มีความสมดุล และผลผลิตที่ได้ความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้บริโภคและเกษตรกรโดยตรง ดังนั้น หลักการสาคัญของ การปลูกผักปลอดสารพิษ จึงมุงเน้นที่จะลดการใช้สารเคมีในการผลิต โดยใช้ปัจจัยในการผลิตที่มีอยู่ ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การปลูกผักปลอดสารพิษเน้นการจัดการที่แตกต่างกับการปลุกผักทั่วไป ตั้งแต่การ เตรียมดินให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงและมีภูมิต้านทานในตัวเป็นปัจจัยหลักแล้วจึงมาจัดระบบพืชด้วยการปลูกหลากหลายชนิดผสมผสาน และหมุนเวียนในแปลงเดียวกัน โดยดำเนินการแบบหลักการเกื้อกูลกัน และพึ่งพิงของธรรมชาติ ซึ่งวิธีเหล่านี้ช่วยให้การระบาดของโรค และแมลงลดลงได้มากแต่หากในบริเวณนั้นมีการปลูกผักแบบใช้สารเคมี การจัดระบบเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องใช้สมุนไพรป้องกัน กาจัดแมลงเข้ามาช่วย เพื่อไม่ให้ผลผลิต เสียหายมาก ซึ่งสมุนไพรที่ใช้จะมีฤทธิ์ฆ่าเฉพาะแมลงศัตรูพืชเท่านั้น ไม่มีผลต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นตัวปราบแมลงศัตรูพืช (ตัวห้า ตัวเบียน) และเมื่อใช้วิธีนี้ในระยะยาว ความสมดุลของระบบ นิเวศจะกลับคืนมา ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลง
การปลูกผักปลอดสารพิษควรคำนึงถึง
- ปลูกผักที่มีคุณค่าทางอาหาร ใช้บริโภคภายในครอบครัวให้ครบทุกชนิด
- ปลูกผักหมุนเวียนหลายประเภท (ผักประเภทหัว ผักประเภทลาต้น ผักประเภทใบ ผักประเภทให้ผล / ฝัก และพืชตระกูลถั่ว) เพื่อการฟื้นฟูสภาพดิน ป้องกันโรคและแมลง ผักบาง ชนิดดูดสารอาหารบางอย่างจากดินไปใช้ แต่ก็คืนสารอาหารบางอย่างให้กับพืชอื่นเช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยตัดวงจรชีวิตของแมลงศัตรูพืช การปลูกผักที่ให้ธาตุอาหารมากตามหลังพืชที่กิน ธาตุอาหารมากแล้วปลูกผักที่กินธาตุอาหารน้อยสลับกันไป
- ปลูกพืชผักอายุสั้น เพื่อรับมือกับการขาดแคลนอาหารในฤดู หรือฤดูแล้ง แต่เป็น พืชที่มีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวได้ยาว เช่น มะเขือ พริก ฯลฯ
- ปลูกพืชแบบหนาแน่นมีระยะชิดกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่สูงสุด ได้ผลผลิตสูง ต่อหน่วย โดยกะระยะให้ใบของพืชซ้อนกันเมื่อโตเต็มที่แล้ว ซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นของผิวดิน
- เป็นพืชผักที่ปลูกง่าย เมล็ดพันธุ์พืชผักควรเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตดี และ มีความต้านทานโรค และแมลง
- ควรปลูกผักที่ให้ธาตุอาหารแก่ดิน เพื่อช่วยในการปรับปรุงดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว
- เน้นพืชที่มีระยะเวลาการเจริญเติบโตช้า / เร็วต่างกัน โดยปลูกพืชผักไว้ในแปลง เดียวกัน เพื่อเป็นการป้องกันแมลงศัตรูพืช
- ปลูกพืชสมุนไพรไว้รอบๆ หรือแซมในแปลงผัก เพื่อไล่แมลง เช่น ดอกดาวเรือง กระเพรา ตะไคร้หอม สะระแหน่ ตั้งโอ๋ ขึ้นฉ่าย ฯลฯ
- ปลูกไม้เถา ไม้เลื้อยตามแนวด้านข้างของแปลงเพาะปลูกผัก
การปลูกผักสวนครัวเพื่อจำหน่ายส่วนใหญ่ ก็ยกแปลงปลูกกันทีละเยอะๆ เพื่อความเพียงพอต่อตลาดที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีบ้างที่เป็นภาคครัวเรือน นิยมใช้รั้วบ้านในการปลูก เพราะสวนครัวบางชนิด ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากก็ให้ผลผลิตดีอย่างการปลูกให้ให้เลื้อยคลุมรั้วก็เพื่อประโยชน์หลายทาง ทั้งสวยงามและสามารถนำมารับประทานได้ทันที
การปลูกผักสวนครัวของคนในชุมชนเจริญสุขมีทั้งปลูกเพื่อกินและแบ่งปันกันในชุมชน และปลูกเพื่อขายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ผักสวนครัวที่เกษตรกรในชุมชนเจริญสุขนิยมปลูก ได้แก่ มะเขือยาว พริก คะน้า กะเพรา ต้อหอม ผักชี มะนาว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นผักที่ปลูกง่าย โตไว คนนิยมรับประทาน โดยเกษตรกรมีการสังเกตความนิยมของผักแต่ละชนิดจะทำให้ขายผักได้มากยิ่งขึ้น
ที่มาพืชผักสวนครัว http://www3.oae.go.th.