บทความประจำเดือนกันยายน 2564

เรื่อง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดเขาพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

การท่องเที่ยว ถือเป็นการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ กําหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 80 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งนํารายได้จากประชาชนชาวไทย และชาวต่างชาติ เข้าสู่ประเทศไทยสํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) เล็งเห็นถึง ความสําคัญที่จะนําเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) มาพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงได้ผลักดันโครงการนําร่องด้วยการสร้างพื้นฐานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กระตุ้นให้กลุ่มท่องเที่ยวร่วมกันบริการ นักท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ระดับสูงภายใต้ชื่อ “Tourism c-Commerce” หรือการพาณิชย์เชิงร่วมมือบนธุรกิจท่องเที่ยวขยายโอกาสทางการค้าที่ข่วยเพิ่มรายได้ สู่หน่วยธุรกิจประเภทการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนเกษตรกรรมเช่น สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงรวมถึงแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําต่างๆ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ การเดินทางไปใน สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการท่องเที่ยวและเยี่ยมชม สถานที่แสดงถึงความเป็นวัฒนธรรม เช่น การชมสถานโบราณวัตถุ โบราณสถาน ปราสาท พระราชวัง วัด ประเพณี รวมถึงวิถีการดําเนินชีวิตของบุคคลในแต่ละยุคสมัย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ การรูปแบบการ ท่องเที่ยวที่ผสมผสานในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ โดยมีกิจกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพ เป็นกิจกรรมสําคญั ของการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวสปา การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ เช่นการเดินทางไปเยี่ยมเยียน ลูกคา้ หรือ ดูแลงานและได้ไปท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆประมาณ 1-2วัน
วันนี้จะมาพูดถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่เป็นสถานที่โดดเด่นภายในตําบลเจริญสุขของเรา

สําหรับแหล่งท่องเที่ยวในตําบลเจริญสุขซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วก็คือ “วัดเขาพระอังคาร”

“วัดเขาพระอังคาร” ตั้งอยู่ที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ไม่ไกลจากเขาพนมรุ้ง ตัววัดตั้งอยู่บนยอดเขาพระ อังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว

                                                                                        

 รอบอุโบสถมีพระพุทธรูปล้อมรอบ

          ก่อนอื่นขอเล่าถึงลักษณะของเขาพระอังคาร ภูเขาลูกนี้เป็นเนินเขาฐานกว้าง เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ ในยุคควอเทอร์นารีเมื่อประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว หากทองจากที่สูงจะมองเห็นเป็นรูปพญาครุฑที่กําลังกระพือ ปีกหรือคว่ําหน้าหันหัวไปทางทิศใต้ โดยมีปากปล่องใหญ่อยู่ที่เขากระดูกซึ่งเป็นจุดสูงสุด เกิดจากหินหลอมละลาย ปะทุออกมาแล้วเย็นตัวอย่างรวดเร็ว จึงพอกสะสมตัวในทางดิ่ง กลายเป็นเนินเขาสูงชันแบบ Plug Dome รอบเขา กระดูกเป็นแอ่ง Caldera ซึ่งเกิดจากการทรุดถล่มของปากปล่องภูเขาไฟ โดยเป็นตัวอย่างชัดเจนที่สุดในประเทศ ไทย และวัดเขาพระอังคารตั้งอยู่ตรงขอบของแอ่งนี้ มีความสูงจากระดับน้ําทะเล 320 เมตร

    ภายในอุโบสถ

          ก่อนที่จะมีการสร้างวัดเขาพระอังคารขึ้นในบริเวณนี้ มีหลักฐานว่าที่นี่เคยเป็นพุทธสถานมาแต่โบราณ โดย ได้พบโบราณวัตถุคือใบเสมาหินบะซอลต์สมัยทวารวดีซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยตั้งอยู่รอบอุโบสถ ใบ เสมาเหล่านี้มีภาพสลักรูปบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อายุประมาณ 1,300 ปี
อีกทั้งในประวัติลายแทงธาตุพนมกล่าวว่าเมื่อ พ.ศ.8 มีการนําพระอังคารธาตุ (เถ้ากระดูก) ของ พระพุทธเจ้ามาประดิษฐานที่เขาลูกนี้ จนถึง พ.ศ. 2520 พระอาจารย์ปัญญา วุฒิโธ จึงได้มาสร้างวัดบนยอดเขา และนําพระอังคารธาตุขึ้นบรรจุในสถูปบนยอดของอุโบสถที่สร้างขึ้นโดยนําศิลปะสมัยต่างๆ มาผสมผสานกัน ภายในบริเวณวัด
เมอื่ มาถึงยังวัดจะมองเห็นอุโบสถที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย เป็นพระปรางค์ที่มียอดเจดีย์ 3 องค์บนฐานเดียวกัน มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตามมุมและซุ้มทิศต่างๆ เมื่อเข้าไปภายในกราบพระประธานก็จะ ได้รับบรรยากาศอันเงียบสงบ มองไปรอบๆ ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกที่มีความ พิเศษคือมีตัวอักษรบรรยายเรื่องราวเป็นภาษาอังกฤษ ทําให้ชาวต่างชาติที่มาเยือนได้พอเข้าใจว่าแต่ละภาพเล่าถึง เรื่องราวอะไร
บริเวณรอบๆ อุโบสถมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยจํานวน 108 องค์ ตั้งเรียงรายล้อมรอบอุโบสถไว้ อีกทั้งยัง มีใบเสมาหินทรายสลัก

                                                                                                                    

ใบเสมาหินทรายสลัก

           ภาพบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักรสมัยทวารวดี 8 คู่ ตั้งไว้รอบๆ โบสถ์ ในวิหารหลังหนึ่งด้านข้าง พระอุโบสถประดิษฐานพระคันธารราษฎร์และรอยพระพุทธบาทจําลอง

วิหารข้างอุโบสถ

               ภายในประดิษฐานพระคันธารราษฎร์และรอยพระพุทธบาทพระนอนขนาดใหญ่หน้าวัดเขาพระอังคาร

          ระหว่างทางไปวัดเขาพระอังคารที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เป็นช่วงของการไต้เห็ด หรือเก็บเห็ด ซึ่งเป็นที่เลื่องลือของคนในจังหวัด ต่างพากันมาจากต่างอําเภอ เพื่อมาเก็บเห็ดนําไปประกอบอาหาร หรือนําไปขายเพื่อเป็นการสร้างรายได้อีกด้วย


ผู้ที่อยากเดินทางมาชมและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัด สามารถเดินทางมาได้โดยจากบุรีรัมย์ใช้เส้นทางสาย บุรีรัมย์-นางรอง-บ้านตะโก-บ้านตาเป็ก ซึ่งเป็นทางเดียวกับไปปราสาทหินพนมรุ้ง เมื่อเดินทางถึงบ้านตาเป็ก เลี้ยว ขวาตามทางไปอําเภอละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรจะพบทางแยกขวาไปวัดเขาอังคารอีก 7 กิโลเมตร โดย เขาพระอังคารอยู่ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งไปอีกประมาณ 20 กิโลเมตร

จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่ในครั้งถือ ถือว่าได้รับความรู้ และได้เห็นถึงความโดดเด่นของสิ่ง อันล้ําค่าในบ้านเกิดของเรา ตําบลที่เราได้อาศัย ซึ่งคณะทํางานจะดํารงไว้ซึ่งความสวยงาม จะอนุรักษ์ และพัฒนา สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์นี้ให้โดดเด่นและเป็นที่รู้จักยิ่งๆขึ้นไป

อ้างอิง
https://www.facebook.com/travel.astvmanager/?ref=bookmarks
https://sites.google.com/site/thekhnoloyithangkarthxngtheiyw/kar-thxng-theiyw-khux-xari

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู