ข้าพเจ้า นางสาวมารีด้า ไชยช่วย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์
เขียนโดย นางสาวมารีด้า ไชยช่วย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจในพื้นที่ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 (บ้านเจริญสุข) หมู่ที่12 (บ้านเจริญสุข) หมู่ 14 (บ้านเจริญสุข)
ฝ้าย (cotton) จัดเป็นพืชไร่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมีการนำมาใช้มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบจากเส้นใยชนิดอื่นๆ
ดอกฝ้ายมีหลายสีขึ้นอยู่กับพันธุ์ ได้แก่ มีสีขาวครีม และสีเหลือง ซึ่งมีวงสีแดงหรือสีม่วงบริเวณฐานกลีบดอกด้านใน สีอื่น เช่น สีแดงม่วง ภายในดอกประกอบด้วยเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ดอกเริ่มออกประมาณ 35-45 วัน หลังจากเมล็ดงอกและจะบานประมาณอีก 25 วัน โดยดอกจะบานในช่วงตอนเช้า และเหี่ยวในช่วงตอนเย็น และจะร่วงประมาณอีก 3 วัน หลังจากการบาน โดยการบานของดอกจะเริ่มบานจากดอกที่อยู่ด้านล่างของลำต้นจนถึงดอกที่อยู่บนสุด
ประโยชน์จากฝ้าย
1. ปุยฝ้าย
– ใช้ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ประเภทผ้าภายในบ้าน
– ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ เช่น โต๊ะ
ม้านั่ง โซฟา เบาะนั่ง เชือก สายพาน ผ้าใบ เป็นต้น
2. เมล็ดฝ้าย
– ขนปุยที่ติดกับเมล็ด ใช้ทำผ้าซับน้ำ พรม เบาะสักหลาด ฟิล์มเอกซเรย์ และพลาสติก
เป็นต้น
– เปลือกเมล็ด ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ผลิตพลาสติก ยางเทียม เป็นต้น
– เนื้อเมล็ด นำมาสกัดน้ำมัน ใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร ทำเนยเทียม ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรม ใช้ผลิตยา เครื่องสำอาง ยางพลาสติก เครื่องหนัง สิ่งทอ และสารกำจัดศัตรูพืช
– เนื้อเมล็ด ทำเป็นส่วนผสมของขนมปัง ผลิตแป้ง หรือใช้เป็นส่วนผสมของไส้กรอก
– กากจากเนื้อเมล็ด นำมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ หรือทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์
ความเป็นมาของการนำฝ้ายมาปลูกในพื้นที่ตำบลเจริญสุข คือ เพื่อให้ในตำบลมีการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน เกิดความสามัคคีในการดูแลทรัพยากรในท้องถิ่น เพิ่มทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีความหลากหลาย และสร้างแหล่ง ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของการผลิตผ้าภูอัคนี สร้างแหล่งเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยวหรือบุคคลทั่วไปได้มาศึกษาความเป็นไปของผ้าภูอัคนีตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด
อ้างอิง : https://puechkaset.com