โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้านางสาวปนัดดา ผาสุขใจ
ประเภท กพร.
หลักสูตร ED05 คณะครุศาสตร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
เรื่อง Local Farm in Charoensuk
พื้นที่เล็กๆในหมู่บ้านประดาจะบก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีฟาร์มที่นางประจวบ คงสมศรี เป็นเจ้าของ สิ่งที่พิเศษของฟาร์มแห่งนี้ คือการตกแต่งสไตล์ตะวันตก ทำให้ฟาร์มดูสวยงาม แปลกตาเป็นอย่างมาก โดยภายในฟาร์มมีการทำ “เกษตรแบบผสมผสม” ปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภค และเพื่อจำหน่อย ฟาร์มแห่งนี้ไม่ได้มีเพียงผักสวนครัวเท่านั้น นางประจวบยังได้เลี้ยงสัตว์อีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วัว แพะ หมู ปลา และเป็ด
เกษตรแบบผสมผสาน
เป็นงานเกษตรที่ทำตั้งแต่ 2 กิจกรรม ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยง โดยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้วางแผนการปลูกและผลิต ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้ผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) ที่ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ หรือเป็นสินค้าโอท็อป (OTOP) ที่ตลาดต้องการ ทำให้เกษตรกรยกระดับรายได้ เพื่อการดำรงชีพที่มั่นคง
มีการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ มีสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดจะต้องสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในไร่นาอย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลของสภาพแวดล้อม และเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยการทำการเกษตรหลากหลาย กิจกรรมนั่นต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน เกิดความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีปฏิสัมพันธ์ในทางเกื้อกูลซึ่งกันและกันของกิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดด และอากาศอย่างเหมาะสม เกิดความสมดุลของสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
รูปแบบการเกษตรผสมผสานช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโดยลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้ เนื่องจากมีความหลากหลายในกิจกรรมการผลิต ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ทำให้รายได้ครัวเรือนมาจากหลายกิจกรรมและสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ ค่าใช้จ่ายลดลง รวมทั้งลดการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายนอก เกษตรกรสั่งสมกระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรมการผลิตที่หลากหลาย สามารถพึ่งพาตนเองได้ เกษตรกรจัดสรรพื้นที่ตรงความต้องการในครัวเรือน มีการปลูกข้าว ไม้ผล พืชผักสวนครัว ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไว้บริโภคในครัวเรือนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเหลือใช้ภายในพื้นที่ เช่น วัชพืชใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ รากไม้และกิ่งไม้ไว้ทำถ่าน
นอกจากผลผลิตที่จะได้จากการทำฟาร์มแล้ว ฟาร์มแห่งนี้ยังเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับครอบครัวของนางประจวบที่ทำงานในเมืองใหญ่ ได้กลับมาพักผ่อนในช่วงสถานการณ์โควิดที่กำลังระบายอยู่ ณ เวลานี้ จากการสอบถามนางประจวบ Local Farm แห่งนี้อาจเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคตอีกด้วย
ที่มา เกษตรแบบผสมผสาน
https://www.moac.go.th/