บทความประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564
เขียนโดย : นายธนาวุฒิ พันนอก (ภาคนักศึกษา)

 

 

เที่ยวสำราญ บ้านเจริญสุข

สวัสดีครับ วันนี้พบกับผมเช่นเคย ในครั้งที่แล้วได้รู้จักตำบลเจริญสุขไปในบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมาสถานที่ท่องเที่ยวอย่างวัดเขาพระอังคารที่มีความสวยงาม  และโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและของดีขึ้นชื่ออย่าง ผ้าภูอัคนี และไข่เค็มภูเขาไฟซึ่งในวันนี้จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ติดตามอ่านได้เลยนะครับ

ในครั้งนี้ มาดูพืชชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการผลิตของขึ้นชื่อของตำบล  อย่างผ้าภูอัคนี ซึ่งมีวิธีการผลิต
ที่ป็นเอกลักษณ์ ชนิดนี้ก็คือ ต้นประดู่ นั้นเอง เรามาทำความรู้จัก และความมหัศจรรย์ของพืชชนิดนี้กันเลยครับ

 

ต้นประดู่ป่า

Scientific name :Pterocarpus macrocarpus Kurz
Other name(s) : จิต๊อก ฉะนอง ดู่ ดู่ป่า ตะเลอ เตอะเลอ ประดู่ ประดู่เสน
Family name :FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)

        

ประดู่ เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15-30 เมตร ใบประกอบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมี 3-13 คู่เรียงสลับ แนใบรูปไข่ หรือขอบขนาน โคนใบรูปลิ่มถึงกลม ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจะแยกแขนง ออกตามชอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปถั่ว เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลเป็นฝักแบนคล้ายโล่ มีปีกเป็นแผ่นกลม เมล็ด 1-2 เมล็ด รูปทรงรี


พบในประเทศพม่า กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้บริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง

ประโยชน์ : Uses and Utilization : ประดู่ป่ามีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือนเครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง แต่ในปัจจุบันแก่นประดู่ค่อนข้างจะหาได้ยาก จึงนิยมใช้เปลือกต้นแทนในด้านการนำมาใช้ย้อมสีเส้นไหม โดยลอกเอาส่วนของเปลือกต้นมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ 

ต้นประดู่ป่ากับผ้าภูอัคนี

ในกระบวนการผลิตผ้าทอมือ ผ้าภูอัคนี นอกจากจะใช้ดินภูเขาไฟจากเขาพระอังคาร มาย้อมเพื่อให้ได้สีส้มอิฐแล้ว ยังมีการผสานกับภูมิปัญญาของท้องถิ่น โดยการใช้เปลือกของต้นประดู่ป่าที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยการใช้เปลือกของต้นไม้ชนิดนี้ มาย้อมอีกครั้งเพื่อรักษาความคงทนของผ้าภูอัคนีให้สีของผ้ามีความสด โดย นำเปลือกต้นประดู่มาต้มในน้ำ ซึ่งน้ำต้มจะต้องร้อนแต่ไม่ให้เดือดจนเกินไป หลังจากนั้นนำผ้าที่ต้องการลงไปแช่ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ขั้นตอนนี้จะเป็นการป้องกันการตกของสีอีกครั้ง ทั้งในน้ำเปลือกต้นประดู่ ก็ยังมียางและสีที่คล้ายกับสีดินภูเขาไฟ จึงเป็นการเคลือบสีในตัว ผ้าที่ได้จึงเงางามยิ่งขึ้นและไม่ตกสี ดังนั้นแล้วต้นประดู่ป่า จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาในกระบวนการผลิตผ้าที่มีความสวยงามและมีคุณค่า

       

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ช่วยเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชุน
เพื่อพึ่งพาตนเองได้อย่างพอเพียงในคราวหน้าเราจะยังอยู่ที่ตำบลเจริญสุข แต่จะเป็นที่ใดนั้น อย่าลืมติดตามนะครับ


อ้างอิง :
https://www.paiduaykan.com/
 รูปภาพจาก องค์กรสวนพฤษศาสตร์ posts_table]http://www.qsbg.org/databas
รูปภาพจาก https://adeq.or.th/

 

อื่นๆ

เมนู