ข้าวเม่าเป็นอาหารหวานอย่างหนึ่งของชาวเจริญสุขที่ประกอบอาชีพทำนา ชาวเจริญสุขรู้จักทำข้าวเม่ากันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยใช้เมล็ดข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวที่มีรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ นำมาคั่ว ตำ แล้วนำไปรับประทานได้เลย ถ้าทำสุกใหม่ ๆ ก็จะนิ่ม หรือบางคนก็จะนำไปคลุกเคล้าด้วยน้ำตาลทราย มะพร้าวและเกลือ รับประทานแทนขนมหวาน แต่ในปัจจุบัน การตำข้าวเม่ากำลังจะสูญหายไปจากชาวเจริญสุข สืบเนื่องจากมีกนนมวิธีทำที่ยุ่งยาก ในอดีตคนอีสานมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวถึง 9 ครั้ง ได้แก่ เมื่อข้าวเป็นน้ำนม เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า เมื่อเก็บเกี่ยว เมื่อจักตอกมัดข้าว เมื่อมัดฟ่อน เมื่อกองอยู่ในลาน เมื่อทำลอมข้าว เมื่อเก็บข้าวเข้าเล้า เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า เป็นระยะเวลาที่ เมื่อทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง จนลมเหนือล่อง เข้าทำนองออกพรรษา ลมว่าวพัดมา ได้เวลา คั่วข้าวเม่า ซึ่งโดยมาก ก็ประมาณช่วง เดือนตุลา ถึง พฤศจิกา ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้า นั่นเอง ข้าวเม่า นับเป็นของกินอีกอย่างหนึ่ง ที่เด็กๆ กินได้ ผู้ใหญ่กินดี ข้าวเม่า คือข้าว ที่ถูกตำ หรือทุบ จนเม็ดข้าวแบน ซึ่ง ทำจากข้าวเหนียวที่ไม่อ่อนเกินไป ไม่แก่เกินไป อยู่ในช่วงวัยแรกรุ่น ที่เลยระยะน้ำนมแล้ว ข้างในเปลือกข้าวเริ่มแข็งตัวเป็นเม็ด มีสีขาว และห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ สีเขียว ซึ่งเยื่อสีเขียวนี้ เมื่อข้าวแก่ จะกลายเป็นสีน้ำตาล และกลายเป็นรำ อันเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายชนิด

ในปัจจุบันวิธีการกินข้าวเม่าก็เริ่มมีการพัฒนาปรุงแต่งรสชาติของข้าวงเม่าเพิ่มอีก คือผสมน้ำตาลทราย เกลือ งาคั่ว มะพร้าวขูดผสมลงไปในข้าวเม่า เพื่อเพิ่มรสชาติที่แปลกใหม่ให้กับข้าวเม่า และข้าวเม่าก็เป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านเจริญสุขอีกหนึ่งอย่าง

 

อื่นๆ

เมนู