บทความประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564
เขียนโดย : นางสาวกานดา ก้อนเสมา ( ภาคบันทิต) เจ้าหน้าที่ตำบลเจริญสุข
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เรื่อง เมล็ดข้าว

             ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวใหม่จะมีวิธีการที่หลากหลายตามยุคสมัย แต่วิธีการที่ยังเห็นอยู่นั้นก็คือ การนวดข้าวเป็นขั้นตอนเกือบสุดท้ายของการทำนา หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ก็จะต้องแยกเมล็ดข้าวออกจากรวงข้าว แล้วแยกเมล็ดข้าวลีบ และฟางข้าวออกไป เพื่อให้ได้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือกที่ต้องการ ซึ่งเป็นวิธีการตั้งแต่ยังไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ซึ่งยังหาดูได้ในปัจจุบัน 

การนวดโดยการตี
             เป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกร ก่อนนวดข้าวชาวนาจะขนฟ่อนข้าวมากองรวมไว้บนลานนวดเสียก่อน แล้วใช้เสื่อลำแพนปูลงกับลานนวด วิธีการนวดนั้น ชาวนาจะมีไม้ไผ่สองท่อนผูกติดกัน ใช้สำหรับจับฟ่อนข้าว และตีใส่แผ่นกระดานที่วางเอียงได้มุมพอเหมาะ ตีจนกว่าเมล็ดข้าวเปลือกจะหลุดออกจากฟางได้หมด ไม้นวดข้าว หรือบางที่เรียกว่าไม้ตีข้าว ไม้ทุบข้าว ไม้หนีบ หรือไม้หีบ เป็นเครื่องมือของชาวนาใช้สำหรับรัดฟ่อนข้าวเพื่อทุบหรือตีรวงข้าวที่มัดอยู่ในฟ่อนให้เมล็ดข้าวกระเด็นออกมาจากรวง ไม้นวดข้าวทำจากไม้ไผ่ที่มีเนื้อแน่น ไม้แก่จัด ข้อสั้น ลำต้นเล็ก มีขนาดพอดีมือ กำได้รอบ อาจะใช้ไม้อื่นเช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ชิงชันหรือไม้สัก การทำไม้นวดข้าวเริ่มจากการตัดไม้มา 2 ท่อนให้มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร เหลาไม้ให้เรียบ หากใช้ไม้จริงต้องใช้กบไสแล้วใช้บุ้งถูให้เรียบ เจาะรูที่ปลายไม้ทั้ง 2 ท่อน ห่างจากปลายไม้ประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกหนังที่เรียกว่าหนังหัวเกวียน หรือใช้เชือกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร หรือให้ยาวประมาณเส้นรอบวงของฟ่อนข้าว ร้อยรูไม้ที่เจาะทั้ง 2 ท่อนแล้วขมวดปมที่ส่วนปลายเชือก ก่อนการนวดหรือฟาดข้าว ชาวนาจะไปขนจ้าวจากที่ตากแดดอยู่ หรือเอาออกจากกองข้าวมาวางที่ตาราง โดยเรียกขั้นตอนนี้ว่า “ลอมข้าว” การลอมข้าวนี้บางคนจะเอาข้าวเฟ่ามาวางซ้อนกันเป็นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมรอบตาราง โดยเว้นช่องว่างให้คนสามารถเข้า-ออกตารางได้ ต่อจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการทำให้ข้าวเปลือกหลุดจากรวงข้าวซึ่งเรียกว่าการฟาดข้าว หรือ ตีข้าว หรือ บุบข้าว หรือ ย่ำข้าว ในอดีตนั้นจะนิยมทำในเวลากลางคืน เนื่องจากในช่วงกลางวัน ชาวนาจะต้องไปตอบแทนแรงงานผู้อื่นซึ่งมาช่วยงานในไร่นาของตน จึงมีเวลาทำการฟาดข้าวในเวลากลางคืน ในการใช้งานไม้นวดข้าว ชาวนาจะจับไม้นวดข้าวทั้งสอง ใช้เชือกคล้องกับฟ่อน เคน็ดข้าว หรือตรงส่วนที่ใช้ตอกรัดฟ่อนข้าว แล้วไขว้ไม้นวดข้าวในลักษณะที่ขัดกันเพื่อรัดฟ่อนข้าวให้แน่น แล้วจึงยกฟ่อนข้าวขึ้นฟาดกับท่อนไม้ที่วางไว้จนเมล็ดข้าวเปลือกจะร่วงออกจากรวง โดยจะทุบในลานข้าว ในเสื่อ หรือในผืนผ้าใบที่ปูพื้นกว้างๆ มีอุปกรณ์อื่นที่มีการใช้งานคล้ายคลึงกับไม้นวดข้าว เรียกว่าไม้ควง ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับไม้นวดข้าว แต่มีขนาดที่แตกต่างกันไป ใช้สำหรับทุบหรือตีฝักถั่วเขียว ฝักถั่วเหลือง ฝักถั่วดำ เป็นต้น ปัจจุบันนี้การใช้ไม้นวดข้าวไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้งานแทนเช่นรถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์หรือเครื่องนวดข้าวที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งสะดวกสบายและประหยัดแรงงานกว่า การทำความสะอาด ทำพร้อมกับการตี เครื่องมือที่ใช้ทำความสะอาด ทำด้วยไม้ไผ่สานคล้ายพัด ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า “วี” ใช้พัดโบกเอาสิ่งเจือปนต่างๆ เช่น ข้าวลีบ และเศษฟางต่างๆ ออกจากข้าวเปลือก ความสามารถในการนวดข้าว โดยการตีและทำความสะอาดข้าว ประมาณ ๖๐ กก./ ชม./คน

 

 

 

 

            จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ u2t มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้พบกับชาวบ้านภายในตำบลเจริญสุข มีการนำข้าวที่เกี่ยวโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นำข้าวมาตากแห้งก่อนนำไปเก็บไว้ที่ยุ้งข้าวของแต่ละบ้าน แต่ก็ยังพบการนวดข้าวแบบโบราณอยู่ ซึ่งมีกรรมวิธีหลายขั้นตอน ทีมงานเชิงพื้นที่ได้เข้าไปสอบถามพบว่าการนวดข้าวแบบโบราณนี้เพื่อที่จะนำข้าวเก็บไว้เป็นข้าวปลูกในปีต่อไป ทำให้ข้าวไม่มีข้าวพันธ์อื่นมาผสม สามารถนำข้าวที่นวดได้ไปจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการพันธ์ข้าวที่ดี ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่เจ้าของข้าวเป็นอย่างมาก

 

 

 

 

แหล่งอ้างอิง
https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=208

 

อื่นๆ

เมนู