ข้าพเจ้า นางสาวมารีด้า ไชยช่วย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์

เรื่องป่าชุมชนบ้านเจริญสุข
เขียนโดย
นางสาวมารีด้า ไชยช่วย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจในพื้นที่ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 (บ้านเจริญสุข) หมู่ที่12 (บ้านเจริญสุข) หมู่ 14 (บ้านเจริญสุข)

ป่าชุมชน (Community Forest)

ป่าชุมชนเป็นวิถีปฏิบัติและเป็นการปรับตัวของการจัดการทรัพยากรภายในชุมชนในการช่วยลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนในชุมชน จากการถูกแย่งชิงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ  และเป็นแนวทางหนึ่งในการรักษาพื้นที่ป่าและความสมบูรณ์ของนิเวศป่าไม้ เพื่อให้ระบบนิเวศคงความสมดุลย์  เนื่องจากป่าชุมชนเป็นกลไกที่สำคัญที่เป็นช่องทางให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ จัดการ ฟื้นฟูให้ป่ามีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และมีการใช้ทรัพยากรและผลผลิตจากป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นคงแห่งชีวิตของคนในชุมชน ดังนั้นเมื่อคนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นจึงไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน และที่สำคัญยิ่งคือเพิ่มความสามารถให้กับมนุษยชาติ ได้เรียนรู้การอยู่อย่างสมดุลกับธรรมชาติและดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีความสุข “ป่าชุมชน” เป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา เป็นทางเลือกในการจัดการทรัพยากรนิเวศป่าไม้โดยมีชุมชนเป็นฐาน หรือเป็นการจัดการทรัพยากรร่วมกันของชุมชน ที่มีวิถีปฏิบัติเป็นระบบสิทธิหน้าหมู่ หรือเป็นระบบทรัพยากรร่วมของชุมชน นอกจากนั้น ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ได้กล่าวถึงป่าชุมชน ว่าเป็นกิจกรรมของคนชนบทในการจัดการทรัพยากรต้นไม้และป่าไม้ เพื่อผลประโยชน์ของครอบครัวและชุมชน เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนและมอบอำนาจให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปลูก จัดการ ป้องกัน และเก็บหาผลประโยชน์จากป่าไม้ภายใต้ระบบการจัดการที่ยั่งยืน ที่รวมถึงป่า ทั้งที่เป็นป่าบก ป่าชายเลน รวมถึงป่าพรุและบุ่งทาม ประกอบด้วย ต้นไม้ ทุ่งหญ้า พันธุ์พืช สัตว์ป่า แหล่งน้ำ และสรรพสิ่งในธรรมชาติที่เป็นระบบนิเวศทั้งหมด  ป่าชุมชนอาจตั้งอยู่รอบหมู่บ้าน  รอบแหล่งชุมชน หรืออาจอยู่ใกล้เคียงกับชุมชน  ชุมชนนั้นอาจจะเป็นชุมชนที่เป็นทางการ เช่น หมู่บ้าน อบต. หรือชุมชนตามประเพณีก็ได้ และก็อาจจะเป็นหนึ่งชุมชน หรือหลายชุมชนที่มาจัดการป่าชุมชนร่วมกันก็ได้ โดยที่คนในชุมชนนั้นๆ อาจเลือกใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืนทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และการรักษาระบบนิเวศก็ได้ขึ้นอยู่กับคนในชุมชนเป็นผู้วางแผนและตัดสินใจ ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร และอย่างไรจากป่า จะดูแลรักษา ฟื้นฟู และพัฒนาป่าชุมชนอย่างไร  ป่าชุมชนมีขอบเขตขนาดไหนที่ชุมชนจะดูแลได้ทั่วถึง

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดการนิเวศป่าไม้ในรูปแบบป่าชุมชนมากกว่า 10,000 ป่าชุมชน ซึ่งรวมทั้งที่ขึ้นทะเบียนกับ กรมป่าไม้และอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ โดยมีป่าชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้รวมทั้งสิ้น 8,820 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ประมาณ 3,583,074 ไร่ (ข้อมูลเดือน กุมภาพันธ์ 2557) และป่าชุมชนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้ และอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ อีก 1,906 ป่าชุมชน   ที่ครอบคลุม 10,726 หมู่บ้าน (ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า, 2556)  ซึ่งมีการประมาณการว่าชุมชนมีการจัดการพื้นที่ป่าในรูปแบบของป่าชุมชนมากกว่า 7,870,000 ไร่ (1.2 ล้านเฮแตร์) หรือประมาณ 7% ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ (อ้างอิงจาก พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย 17,200,000 เฮแตร์, FAO 2010)

ข้อมูลทั่วไปของป่าชุมชนบ้านเจริญสุข

ชื่อป่าชุมชน : ป่าชุมชนบ้านเจริญสุข

ปีที่เริ่มโครงการ : 2557

ที่ตั้ง : ต.เจริญสุข จ.บุรีรัมย์

เนื้อที่ : 270 ไร่ งาน ตารางวา

ประเภทป่า : ป่าสงวนแห่งชาติ

สถาพป่าทั่วไป : เป็นไหล่เขา อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน พื้นที่มีความลาดเอียงจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตก มีลำห้วยสาขา ห้วยไถลแก้วไหลผ่านในพื้นที่ป่าชุมชนไหลลงสู่ห้วยแม่และในทางทิศตะวันตก โดยมีอ่างเก็บน้ำแม่หละ เป็นแหล่งรองรับน้ำ ลักษณะดินเป็นดินร่วนและดินร่วนปนเหนียว อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร มีถนนคอนกรีตเข้าถึงพื้นที่อ่างเก็บน้ำ

จากการพบเห็นของข้าพเจ้า การลงสำรวจพื้นที่ในครั้งนี้คือ  เจ้าหน้าที่ป่าชุมชนร่วมกับผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าว ได้ดูแลรักษามานาน ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากป่า พื้นที่ไม่มีการบุกรุกถางป่าเพื่อทำการเกษตร และเพื่อเป็นการส่งเสริมชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชน เห็นควรจัดตั้งเป็นป่าชุมชนแบบต่อเนื่อง อีกทั้ง ป่าชุมชนบ้านเจริญสุขนั้นได้รับรางวัลการประกวดป่าชุมชนในปี พ.ศ. 2563 อีกด้วย ซึ่งรางวัลนี้เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของผู้นำชุนชน ชาวบ้าน และกรมป่าไม้ ช่วยกันรักษาป่า ชาวบ้านได้ผลประโยชน์จากป่าคือการเป็นอยู่ที่ดี มีอาหารป่าเพื่อดำรงชีพ และตอบแทนป่าด้วยการอนุรักษ์ปลูกป่าประจำทุกปี โดยในปีนี้มีโครงการปลูกต้นผักหวาน ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 และคนในชุมชนได้ตระหนักถึงภัยแล้ง เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านได้ประสบปัญหาภัยแล้งมานาน จึงมีโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอีกด้วย ป่ายังเป็นตัวช่วยเรื่องการเกิดฝน เกิดการหมุนเวียนของธรรมชาติ และป่ายังสามารถกักเก็บน้ำได้ดีเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นตลอดทั้งปีแก่ชาวบ้านในชุมชน ข้าพเจ้าทราบถึงผลดีของการตระหนักของชาวบ้านในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ อีกทั้งยังเห็นด้วยกับโครงการรักษาป่าเพื่อความยั่งยื่นต่อไป

แหล่งอ้างอิง www.recoftc.org/thailand/stories/ป่าชุมชนกับสังคมไทย

อื่นๆ

เมนู