บทความประจำเดือน สิงหาคม 2564

เขียนโดย นางสำรวย ศรีมะเรือง

กลุ่มภาคประชาชนตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร ED 05 คณะครุศาสตร์

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

เรื่อง สิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต

สิ่งแวดล้อมนั้นประกอบไปด้วยธรรมชาติ ป่า ดิน น้ำ ภูเขา และสิ่งมีชืวิตอื่นๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์ สร้างขึ้น

หากแต่สิ่งนั้นไม่ได้รับการดูแลรักษาสมดุล ก็จะเสื่อมไปตามกาลเวลาและผลกระทบต่างๆ

ป่าเขาอังคารมีพื้นที่ ประมาณ 25,000 ไร่ และประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่าชุมชนของบ้านเจริญสุข-สายบัว หมู่ 1 ,12 และ 14 ดูแลรักษา 3,432 ไร่ ป่าเขาอังคารเป็นป่าเต็งรังที่ได้รับการฟื้นฟูป่าจากคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านเจริญสุข  ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิก อบต., ที่ปรึกษาหมู่บ้าน ,หัวหน้าคุ้ม ,กลุ่มสตรีอาชีพชุมชน และเยาวชน

ตั้งกฎ กติกาในการใช้ป่าชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

1- ห้ามขุด-ถอน-โค่น-ตัด-พืชต้นไม้ภายในเขตป่าชุมชน

2 -ห้ามแผ้วถางป่า -เผาป่า

3-ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด

4-ห้ามเข้าป่าในยามวิกาล

ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500-2000 บาท

ให้ปิดป้ายประกาศให้ชัดเจน และประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดย

ประกาศเสียงตามสาย

แผ่นพับใบปลิว

หน่วยงานราชการช่วยแจ้งประชาสัมพันธ์

-ด้านการพัฒนา จัดทำแผนพัฒนาระดับหมู่บ้าน ตำบล และส่วนราชการที่เป็นโครงข่าย

โครงการสร้างฝายชะลอน้ำตามพระราชดำริสมเด็จพระพันปีหลวง

โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ จำนวน 700 ฝาย ปี 2551-2560

งบประมาณ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

จัดพิธีลงนามร่วมกัน (MOU) ระหว่าง อบต.เจริญสุข ,อบต.ถนนหัก ,อบต. สะเดา และเทศบาลตำบลถาวร  เพื่อสนับสนุนกิจกรรม การอนุรักษ์ป่าเขาอังคารร่วมกัน

ปัจจุบันป่าเขาอังคารมีความอุดมสมบูรณ์มาก ก่อให้เกิดของป่า เช่น พืชผัก เห็ด โจดหรือหน่อไม้ป่า ให้ประชาชนในชุมชนและต่างจังหวัดได้มาเก็บหา เพื่อเป็นอาหารและเพื่อเพิ่มรายได้ ของป่าที่ป่าเขาอังคาร สามารถเก็บได้เกือบตลอดทั้งปี

ปัญหาที่พบ

-มีการละเมิดกฎป่าชุมชนบ่อยครั้ง

-ปัญหาการทิ้งขยะ

-ปัญหาคนพลัดหลงป่า

การแก้ปัญหา

-จัดคณะทำงานตั้งด่านตรวจ อุปกรณ์ มีด เสียม อื่นๆที่สามารถทำลายป่า

-ประชาสัมพันธ์การเก็บขยะรายคน จัดกิจกรรม โครงการภูเขาไฟไร้ขยะ

– จัดคณะทำงานประจำศูนย์ป่าชุมชนเพื่อรับทราบข่าวสาร และช่วยเหลือผู้หลงป่า

– มีการประชุมและปรับแผนการทำงานทุกเดือน

-มีแผนและกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาป่าให้เกิดความยั่งยืน

จากที่กล่าวมาข้างต้น ได้เห็นประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมของป่าไม้ ที่เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่า ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหาร ,เป็นแหล่งต้นน้ำ,เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน,เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้เชิงอนุรักษ์

ดังนั้นพวกเราในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ จึงควรสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้ลูกหลานเยาวชนรุ่นใหม่รัก หวงแหนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนนี้



 

อื่นๆ

เมนู