การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วในประเทศ)
พื้นที่รับผิดชอบ บ้านระเบิก หมู่ 7 ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวเกวริน สีหมากสุก

         OTOP ย่อมาจาก One Tambon One Product “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกชื่อย่อๆว่า โอทอป (OTOP) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อมากระตุ้นธุรกิจประกอบการที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ซึ่งโครงการดังกล่าวมี เป้าหมายที่จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ผลิตและจำหน่ายในท้องถิ่น ในแต่ละตำบล โดยได้รับ แรงบันดาลใจมาจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของประเทศญี่ปุ่น โครงการโอทอป จะเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนและหมู่บ้านพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นประกอบกับ การตลาด โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมา 1 ชิ้นจากแต่ละตำบลมาประทับตราว่า “ผลิตภัณฑ์โอทอป” และ จัดหาเวทีทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อที่จะประชาสัมพันธ์สินค้าเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์โอทอปได้ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้รวมไปถึงงานหัตถกรรม ผ้าทอ ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับแฟชั่น ของใช้ในครัวเรือน อาหาร สมุนไพร และเครื่องดื่ม

   

   ขั้นตอนการย้อมผ้าจากดินภูเขาไฟ
1.เก็บดินมาจากภูเขาไฟแล้วนำดินมาร่อน                                              

2.ดินที่ร่อนแล้วจะมีลักษณะละเอียดมาก

3.นำดินที่ร่อนแล้วมาเติมน้ำเพื่อให้ดินละลายน้ำ

4.นำผ้าลงแช่ในน้ำดินดังรูปภาพเพื่อให้น้ำดินซึมเข้าเส้นใยของไหม

5.เพื่อให้สีผ้ามีความเข้มของสีผ้ามากขึ้นนำเปลือกประดู่มาแช่น้ำแล้วนำไปต้มด้วยความร้อน

6.พอน้ำของเปลือกประดู่มีความร้อนที่เหมาะสำหรับนำผ้าไหมลงแช่แล้วก็นำผ้าไหมที่แช่ในน้ำดินขึ้นมาแล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดปั้นให้หมาดๆ

7.นำเส้นไหมที่ล้างด้วยสะอาดแล้วปั้นให้หมาดๆนำมาแช่กับน้ำเปลือกประดู่ที่เป็นสีแดงๆ

8.หลังจากที่แช่ด้วยน้ำประดู่แล้วนำเส้นไหมขึ้นมาจากน้ำประดู่แล้วปั้นน้ำออกนำเส้นไหมไปตากหรือผึ่งให้แห้ง

9.ลักษณะของเส้นไหมจะเป็นสีส้มอ่อนๆ

หลังจากดำเนินการผลิตผ้าเสร็จ จะได้ผ้าลวดลายต่างๆดังนี้  1.ลายผ้าพื้น 2.ลายตีนแดง 3.ลายสายฝน

 

 

 

 

 

    ในความโดดเด่นของกรรมวิธีการทำ ที่ออกมาเป็นผ้าภูอัคนีที่สวยงาม ยังต้องการการพัฒนาและการต่อยอดของผลิตภัณฑ์ให้มีความเท่าทันกับเวลาและเหมาะสมกับทุกช่วงโอกาสและสถานการณ์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดำเนินการตาม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วในประเทศ) ยังได้เข้ามาให้ความรู้ในการต่อยอดในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆร่วมกับชุมชนในตำบล ได้นำนวัตกรรม โดยใช้โปรแกรมออกแบบลายผ้า จึงทำให้เกิดเป็นลาย โควิด19 ขึ้น

นอกจากผ้าภูอัคนีที่เป็นสินค้าเด่นในชุมชน มีผลิตภัณฑ์จากต้นกกที่แปรรูป เป็นเสื่อทอและกระเป๋า และยังมีสินค้าอื่นๆอีกด้วย

      การที่ได้เข้าอบรมเรียนรู้การออกแบบพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ แนวคิดวิธีการต่อยอด จะทำให้คนในชุมชน ได้ความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่มีอยู่ นำไปปรับใช้ ต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายและตรงตามความต้องการของลูกค้า สามารถขยายกลุ่มของลูกค้าได้มากขึ้น และจะนำมาสู่การสร้างรายได้ให้คนในชุมชนมากขึ้นเช่นกันค่ะ

อ้างอิง

http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/files/otop.pdf

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู