การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วในประเทศ)
พื้นที่รับผิดชอบ บ้านระเบิก หมู่ 7 ตำบลเจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวเกวริน สีหมากสุก

ข้าว  เป็นพืชประเภทหญ้าที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มาก ทุกวันนี้คนเอเชียประมาณ 3,000 ล้านคน บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวจึงนับว่ามีความสำคัญและมีคุณประโยชน์ต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะใช้เป็นอาหารหลัก ทำขนม ยารักษาโรค ปุ๋ย ของใช้ เครื่องประดับ ของเล่น ฯลฯ จึงถือได้ว่า ข้าวเป็นพืชที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และคนในชุมชนตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ก็เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีอาชีพหลักคือเกษตรกร (ทำนา) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในการทำนานั้น  ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีหลักและวิธีการทำนาปลูกข้าวตามสภาพของพื้นที่ ที่แตกต่างกันไป ในอดีตคนในชุมชนนั้นจะทำนาแบบนาดำ เนื่องจากการทำนาดำต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้นทำให้ปัจจุบันคนนิยมทำนาหว่าน  ซึ่งมีขั้นตอนกระบวนการทำดังนี้

1.ไถดะ(ไถครั้งที่1)
ในเดือนพฤษภาคมชาวบ้านที่ทำนาจะเริ่มต้นด้วยการไถดะ(หรือการไถครั้งที่1)เพื่อตากดินให้แห้งและกำจัดวัชพืช

2.ไถแปร(ไถครั้งที่2)
หลังจากไถแปรแล้ว พักดินไว้ประมาณ3วัน

3.ปั่นดิน
หลังจากพักดินนั้นก็เป็นการปั่นดินเพื่อให้ดินมีความร่วนพร้อมหว่านข้าว

4.หว่านข้าว/ใส่ปุ๋ย
หว่านข้าวเสร็จข้าวเริ่มงอก จะเริ่มทำการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นข้าว

5.ดูแลเรื่องน้ำ
จากนั้นดูแลเรื่องน้ำให้มีน้ำในนาข้าว พอข้าวเริ่มสุกเหลือง ปล่อยน้ำออกจากนาข้าวและรอการเก็บเกี่ยวผลผลิต

 

นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีอีกหนึ่งความเชื่อเกี่ยวกับข้าวที่คู่กับคนไทยมานาน หรือ “แม่โพสพ” เป็นความเชื่อนับแต่อดีตถึงปัจจุบันว่าเป็น เทพธิดาแห่งข้าว โดยมีที่มาของความเชื่อว่า แม่นั้นเป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ที่มีบทบาทสูงที่สุดในครอบครัวและสิ่งที่มีคุณประโยชน์ทั้งหลายในสังคมไทยนั้นมักจะใช้คำว่าแม่เป็นคำเรียกชื่อไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ แม่ธรณี ฯลฯ การใช้คำว่า “แม่” เรียกข้าวก็คือเป็นการให้การยกย่องมากที่สุด ข้าวมีความสำคัญก็เพราะว่าข้าวเป็นผู้ให้ชีวิตแก่มนุษย์ เพราะฉะนั้น หน้าที่ที่มนุษย์ต้องตอบแทนคือมนุษย์ต้องเลี้ยงดูฟูมฟักเลี้ยงดูข้าวด้วย ข้าวมีขวัญข้าว ซึ่งเหมือนกับมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ต้องมีขวัญ ขวัญนั้นสามารถที่จะกระทบกระเทือนเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่พึงพอใจได้ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้อยู่ดีมีสุข ต้องเอาอกเอาใจขวัญของข้าวจึงมีพิธีทำขวัญข้าว ในช่วงที่แรกที่ต้นข้าวกำลังตั้งท้อง โดยนำผลไม้ต่างๆไปเส้นไหว้ และหลังเกี่ยวข้าว เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาให้รู้ว่า การทำนาปลูกข้าวของตนนั้น จะไม่สูญเปล่า เพราะพระแม่โพสพเป็นผู้ดูแล และเมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว รวมถึงเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมขนบธรรมเนียม

อ้างอิง
baanjomyut.com/library_2/extension-1/rice/09.html

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู