โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้านางสาวปนัดดา ผาสุขใจ
ประเภท กพร.
หลักสูตร ED05 คณะครุศาสตร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
เรื่อง ป่าไม้กับวิถีชีวิตชุมชนตำบลเจริญสุข
โดยพื้นฐานสังคมชนบทไทยชาวบ้านล้วนอาศัยพึ่งพาป่าเพื่อปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่ แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม ที่มีความสำคัญต่อชีวิตมาเป็นเวลานานแล้ว นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้พึ่งพาน้ำที่มีต้นธารจากป่าเพื่อการเกษตร อาศัยผลผลิตจากป่าเป็นรายได้เสริมนอกเหนือจากการทำเกษตรกรรม อีกทั้งป่ายังเป็นแหล่งที่มาของความเชื่อ ประเพณี ซึ่งเป็นรากฐานความสัมพันธ์ของชุมชน บทบาทของป่าต่อความอยู่รอดของชุมชนจึงมีมาเนิ่นนานและไม่สามารถแยกจากกันได้ ชุมชนพื้นเมืองหรือกลุ่มชนชาติพันธุ์ และชุมชนท้องถิ่นแทบทุกแห่งมีวัฒนธรรมและวิถีปฏิบัติในการจัดการและดูแลรักษาป่า เช่นความเชื่อเรื่องผีที่ดูแลป่า รักษาต้นน้ำ แบบแผนการใช้ทรัพยากรจากป่าอย่างรู้คุณค่า และมีกุศโลบายในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าผ่านทางพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายไปตามภูมินิเวศและวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง แม้ว่าชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มคนพื้นเมืองจะมีการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งรัฐเองก็มีนโยบายและกฏหมายในการหยุดการทำลายป่าก็ตาม แต่พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยยังมีการลดน้อยถ้อยลง และการทำลายป่ายังดำรงอยู่ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยทั้งการปฏิบัติ นโยบายและกฏหมายที่ไม่เอื้อและมีความขัดแย้งในตัวนโยบายเองและการปฏิบัติจริง ในขณะที่กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้พยายามในการอนุรักษ์และจัดการป่าไม้ เพื่อรักษาขนาดและพื้นที่ของป่า แต่นโยบายในการส่งเสริมพืชเชิงเดี่ยวที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่และความต้องการของตลาดมีการขยายตัวและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและกระบวนทัศน์ของคนท้องถิ่น นอกจากนั้นกฎหมายป่าไม้ที่ไม่เอื้อและไม่ทันสมัยต่อสถานการณ์ถือเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ซึ่งสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน และทรัพยากรป่าไม้
ป่าชุมชน คืออะไร?
ป่าชุมชน (Community Forest) เป็นวิถีปฏิบัติและเป็นการปรับตัวของการจัดการทรัพยากรภายในชุมชนในการช่วยลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนในชุมชน จากการถูกแย่งชิงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ และเป็นแนวทางหนึ่งในการรักษาพื้นที่ป่าและความสมบูรณ์ของนิเวศป่าไม้ เพื่อให้ระบบนิเวศคงความสมดุลย์ เนื่องจากป่าชุมชนเป็นกลไกที่สำคัญที่เป็นช่องทางให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ จัดการ ฟื้นฟูให้ป่ามีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และมีการใช้ทรัพยากรและผลผลิตจากป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นคงแห่งชีวิตของคนในชุมชน ดังนั้นเมื่อคนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นจึงไม่ต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน และที่สำคัญยิ่งคือเพิ่มความสามารถให้กับมนุษยชาติ ได้เรียนรู้การอยู่อย่างสมดุลกับธรรมชาติและดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีความสุข
ป่าเจริญสุขเป็นหนึ่งในป่าชุมชนต้นแบบ วิถีคน วิถีป่า จังหวัด บุรีรัมย์ ประธานป่าชุมชนนายวรเดช จริยะวรกุล ป่าชุมชนตำบลเจริญสุขได้รับการจัดตั้งป่าชุมชนตั้งแต่ พ.ศ.2554 และได้รับการต่ออายุ ในปี พ.ศ.2559 โดยมีบ้านเจริญสุข หมู่ที่ 1, 12 และบ้านสายบัว หมู่ที่ 14 ได้ร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชนตำบลเจริญสุข ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาอังคาร เก็บไว้เพื่อให้ลูกหลานสืบไป
ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามัคคี และร่วมแรงร่วมใจในการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างจริงจัง
ประเด็นสำคัญ/จุดเด่น/ปัจจัยหลัก
– ประเด็นหลัก
1. เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ
- ตั้งอยู่ในชุมชนที่เป็นหมู่บ้าน O – TOP เพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นหมู่บ้านผลิตผ้าภูอัคนี ซึ่งเป็นผ้าย้อมดินภูเขาไฟ
- มีสถานที่สำคัญทางโบราณวัตถุ คือ มีใบเสมาสมัยทราวดี
– ประเด็นรอง
1. ชุมชนเข้มแข็ง มี รสทป. ซึ่งได้รับธงพระราชทานธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต
- เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของตำบลเจริญสุข พบมีน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
- มีแหล่งทรัพยากรแร่ที่สำคัญ คือ หินบะซอล
ชาวบ้านตำบลเจริญสุข ได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชุมชนของชาวบ้านเจริญสุขจนกลายเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำ เป็นแหล่งอาหาร และทรัพยากรธรรมชาติที่ทุกคนในชุมชนต่างรักและห่วงแหนเพราะป่าชุมชนที่นี่คือชีวิต การช่วยกันดูแลควบคู่ไปกับการพึ่งพิงป่า ทำให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งอาหารของชุมชนเช่นเห็ด หน่อโจน หน่อไม้ ไข่มดแดง และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกด้วย ป่าชุมชนเจริญสุขได้ให้ประโยชน์ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงไปน้ำป่าชุมชนอุดมสมบูรณ์ชาวบ้านสุขภาพดี และมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างอย่าง
ที่มา ป่าชุมชนกับวิถีชีวิต
https://www.recoftc.org/thailand/stories/.