การสำรวจตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วในประเทศ)
พื้นที่รับผิดชอบ บ้านหนองจอก หมู่ 9 ตำบลเจริญสุข 
ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวกานดา ก้อนเสมา

ข้าพเจ้านางสาวกานดา ก้อนเสมา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ ”

                ผลของการปฏิบัติงานข้าพเจ้า ได้จัดเก็บข้อมูลเอกสาร ๐๑ และเอกสาร ๐๒ เรียบร้อยตามกำหนดของการส่งงาน และข้าพเจ้าได้เข้ารับการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learnning (อบรมด้วยตนเอง) ตามที่โครงการ ฯ กำหนดไว้ ๔ ด้านสำคัญ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว การสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชนรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาด Covid-19 ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2564  ได้รับผิดชอบพื้นที่ในครั้งนี้ ได้แก่ หมู่ 9 บ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  โดยลงพื้นที่สอบถามข้อมูลของครัวเรือน ปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาด Covid-19

                  ผลจากการดำเนินงานการลงสำรวจและรวบรวมข้อมูลที่ได้ของชุมชน หมู่ 9 บ้านหนองจอก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ในครั้งนี้พบว่า อาชีพหลักที่ทำรายได้ให้แก่ครัวเรือน คือ อาชีพเกษตรกร ในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ และแต่ละหลังคาเรือนจะมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของชาวชุมชน คือการทำนาโดยปราศจากสารเคมี ซึ่งใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ในท้องถิ่น ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นที่น่าสนใจ ส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคระบาด Covid-19 คนจำนวนมากได้รับข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ จะมี ผู้สูงอายุที่ไม่มีความรู้ และสภาพปัญหาในชุมชนส่วนใหญ่จะมีปัญหาเกี่ยวกับความยากจนซึ่งไม่ค่อยมีรายได้ในการทำอาชีพ เพราะเกิดภัยแล้งนาข้าวไม่ได้ผลผลิตตามต้องการ ขาดทุนในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา


อื่นๆ

เมนู