โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ข้าพเจ้านางสาวปนัดดา ผาสุขใจ
ประเภท กพร.
หลักสูตร ED05 คณะครุศาสตร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
ตำบลเจริญสุขมีลักษณะเป็นที่ราบสูงตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือลักษณะทั่วไปเป็นที่ราบลาดเอียงจากทางทิศใต้ลงมาทางทิศเหนือปัจจุบันมีสภาพป่าเป็นป่าโปร่งในเขตร้อนเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 90 ของพื้นที่มีภูเขาไฟขนาดเล็กจำนวน 9 ลูกคือภูเขาอังคารซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิท และเย็นตัวลงนานแล้วสภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายน้ำซึมผ่านได้ง่ายไม่สามารถกักเก็บน้ำได้มีลำน้ำที่สำคัญไหลผ่าน คือ ลำปะเทีย
การนับถือศาสนา ประชาชนตำบลเจริญสุขนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐
มีวัด ๖ แห่ง ได้แก่
๑.๑ วัดบ้านเจริญสุข หมู่ที่ ๑
๑.๒ วัดขันติการาม หมู่ที่ ๒
๑.๓ วัดบ้านหนองสะแก หมู่ที่ ๕
๑.๔ วัดบ้านพูนสุข หมู่ที่ ๖
๑.๕ วัดบ้านสี่เหลี่ยม หมู่ที่ ๑๐
๑.๖ วัดเขาพระอังคาร หมู่ที่ ๑๔
มีที่พักสงฆ์ ๓ แห่ง ได้แก่
๒.๑ ที่พักสงฆ์บ้านระเบิก หมู่ที่ ๗
๒.๒ ที่พักสงฆ์บ้านโคกเกริ่น หมู่ที่ ๑๓
๒.๓ ที่พักสงฆ์เขารัตนธงชัย หมู่ที่ ๑๔
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการลงพื้นที่ชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับงานเทศน์มหาชาติ ณ วัดวัดขันติการาม หมู่ที่ 2 บ้านประดาจะบก ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
เทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้นๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐินผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกอันวันหนึ่ง
วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควรแล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดกตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปี่พาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่งๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย
วันรุ่งขึ้น ทำบุญเลี้ยงพระอีก แล้วมีเทศน์จตุราริยสัจจกถาในระหว่างเพล จบแล้วเลี้ยงพระเพลเป็นอันเสร็จพิธี
การเทศน์มหาชาติ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในการสั่งสอนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักการให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา โดยมีพระเวสสันดรเป็นแบบอย่างการประพฤติ ปฏิบัติเป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ทำให้สังคมมีความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณค่าด้านต่างๆ คือ ด้านวรรณกรรม ด้านภาษา ด้านสุนทรียะ ด้านจริยธรรม ด้านพฤกษา ด้านเภสัช ด้านวัฒนธรรมและด้านศิลปกรรม จนผู้ฟังเทศน์มหาชาติมีอุนิสัยจิตใจที่อ่อนโยนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและมีความยินดีในการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาตามพระจริยาของพระเวสสันดร