ข้าพเจ้า นางสาวมุกรินทร์ อาจอาสา กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กพร.
ตำบลเจริญสุข อำเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 1- 10 พฤษภาคม 2564
ณ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

การลงพื้นที่ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่บ้านโคกเกริ่น หมู่ที่ 13

บ้านโคกเกริ่น หมู่ที่ 13 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวน 84 หลังคาเรือน

มีจำนวนประชากร 295 คน บ้านโคกเกริ่นเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กที่อยู่ติดกับบ้านพูนสุข หมู่ที่ 6 และบ้านบุไร่อ้อย หมู่ที่ 4 คนในชุมชนบ้านโคกเกริ่นประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่

ลักษณะของบ้านโคกเกริ่นส่วนใหญ่จากการที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจ มีลักษณะเป็นบ้านสวนร่มรื่น คือ ภายในพื้นที่บ้านจะมีการปลูกบ้าน ละปลูกต้นไม้หรือปลูกพืชผักสวนครัวที่สามารถนำมาปรุงอาหารได้ไว้รอบๆตัวบ้าน ตัวอย่างของต้นไม้ และพืชผักสวนครัว อย่างเช่น ต้นมะม่วง ต้นขนุน ต้นหอม เป็นต้น ที่ให้ผลผลิตสามารถนำมารับประทานได้ และนอกจากการนำมารับประทานแล้วยังสามารถนำไปขายเพื่อหารายได้เสริมอีกด้วย

รายได้ของคนในชุมชนส่วนใหญ่มาการทำอาชีพหลัก คือ การทำเกษตรกรรม การปลูกข้าว แต่นั่นยังไม่พอต่อการดำรงชีพของคนในชุมชน เพราะ การปลูกข้าวสามารถทำได้แค่ 1 ครั้งต่อปี และใช้เวลาค่อนข้างนาน และยังไม่สามารถที่จะคาดเดาสภาพอากาศของแต่ละปีได้ด้วยทำให้ผลผลิตแต่ละปีออกมาได้ไม่เหมือนกัน ปีไหนได้ผลผลิตดี รายได้ก็ดีไปด้วย ปีไหนได้ผลผลิตน้อยคนในชุมชนก็จะเก็บผลผลิตเอาไว้เอง ความไม่แน่นอนของรายในแต่ละปีเป็นเหตุผลว่าทำไมคนในชุมชนจึงต้องหารายได้เสริม แต่รายได้เสริมของคนในชุมชนที่ข้าพเจ้าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ การเก็บดอกหญ้านางนวล

การเก็บดอกหญ้านางนวล คนในชุมชนที่ว่างจากการปลูกข้าว จะพากันมาเก็บดอกหญ้านางนวลที่งอกขึ้นตามทุ่งนา หลังจากมีพ่อค้ามาตระเวนรับซื้อดอกหญ้านางนวลตามหมู่บ้านในราคากิโลกรัมละ 200 บาท เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบในการทำขนมเทียน โดยแต่ละวันชาวบ้านจะสามารถเก็บดอกหญ้านางนวลได้ประมาณ 2-3 กิโลกรัม จากนั้นก็จะนำไปตากให้แห้งบรรจุใส่ถุงไว้ แล้วจะมีพ่อค้ามารับซื้อเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกหญ้านางนวลขายเฉลี่ยวันละ 400-500 บาท โดยดอกหญ้านางนวลจะงอกช่วงประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ และหากปีไหนอากาศหนาวจัดก็จะงอกขึ้นมาเยอะกว่าปกติ ก็จะทำให้ชาวบ้านเก็บดอกหญ้าได้จำนวนมากขึ้นด้วย ถึงแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆเพียง 2 เดือน แต่ก็สามารถสร้างรายได้บรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่ว่างงานในช่วงหน้าแล้งได้ จะมีพ่อค้ามารับซื้อดอกหญ้านางนวลเพื่อนำไปเป็นประกอบในการทำขนมเทียนที่นิยมนำไปไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนและสารทจีน และจะรับซื้อในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ทำให้ชาวบ้านและผู้สูงอายุที่ว่างเว้นจากการทำนาต่างพากันออกหาเก็บดอกหญ้านางนวลเพื่อขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อตามหมู่บ้าน หากใครออกไปแต่เช้ามืดก็จะเก็บได้เยอะกว่าคนอื่น ช่วยให้มีรายได้เฉลี่ยคนละ 400-500 บาทต่อวัน หญ้านางนวล หรือชิวคัก เป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาคือ แก้ร้อนใน บำรุงไตและบำรุงกำลัง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มกลิ่นความหอม และรสชาติกลมกล่อมของแป้งขนมเทียน

จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณชุมชนบ้านโคกเกริ่นเป็นอย่างมากที่ให้ข้อมูลและความร่วมมือในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และยังได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างเช่น การเก็บดอกหญ้านางนวลที่ข้าพเจ้าได้พูดถึงไปในตอนต้น ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลที่ได้มาทำให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนตำบลเจริญสุขให้ได้มากที่สุด ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างมากค่ะ

 

บรรณานุกรม

ไทยโพสต์. (4 กุมพาพันธ์ 2563). สมุนไพรจีนกลางทุ่งนา! ชาวบ้านแห่เก็บดอกหญ้านางนวล ส่งขายพ่อค้าทำขนมเทียน[ออนไลน์]. ไทยโพสต์, แหล่งที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/56267.

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู