ED05 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔
ข้าพเจ้า นางสาวมุกรินทร์ อาจอาสา ประเภท บัณฑิต กพร.
ED05 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล
แบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”
การลงพื้นที่ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล
1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านเจริญสุข ชุมชนบ้านเจริญสุขตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มบริเวณเชิงเขาพระอังคาร มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ลักษณะดินเป็นดินลาวาที่เกิดจากภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมทุกชนิด ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และการทอผ้า เป็นต้น
เนื่องด้วยจากสถานการณ์ในปัจจุบันชุมชนในตำบลเจริญสุขประสบปัญหาโรคระบาดโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง การดูแลและป้องกันโรคโควิด 19 ด้วยตัวเองเป็นอันดับแรกจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การออกจากเคหสถานไปทำกิจกรรมต่างๆ ยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อโรคโควิด 19 เข้าสู่ตัว ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด 19 ความรู้เรื่องการฉีดวัคซีน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชนตำบลเจริญสุขทั้ง 14 หมู่บ้านหมู่1 บ้านเจริญสุข, หมู่2 บ้านประดาจะบก , หมู่3 บ้านโคกศรีละคร , หมู่4 บ้านบุไร่อ้อย , หมู่5 บ้านหนองสะแก , หมู่6 บ้านพูนสุข , หมู่7 บ้านระเบิก , หมู่8 บ้านป่ารัง , หมู่9 บ้านหนองจอก , หมู่10 บ้านสี่เหลี่ยม , หมู่11 บ้านหนองแก้ว, หมู่12 บ้านเจริญสุข, หมู่13 บ้านโคกเกริ่น , หมู่14 บ้านสายบัว
- กิจกรรมการทำความสะอาดสถานที่เป็นจุดเสี่ยงใช้งานร่วมกัน อย่างเช่น พื้นที่โรงเรียน บริเวณวัดวัดเขาอังคารและปิดป้ายประชาสัมพันธ์
- กิจกรรมการสอนทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ร่วมกับชุมชน อสม.ประจำแต่ละหมู่บ้านในตำบลเจริญสุข
จัดทำหน้ากากอานามัยโดยใช้ผ้าท้องถิ่นคือ ผ้าภูอัคนี - กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันจากการติดเชื้อและแพร่เชื้อ ได้แก่ การล้างมือ เว้นระยะห่าง และการสวมใส่หน้ากากอนามัย ร่วมกับบุคลากรโรงพยาบาลประจำตำบล อสม.ประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่ปิดป้ายประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ การสวมใสอุปกรณ์ วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสโควิด และสำรวจข้อมูลการฉีดวัคชีนโควิด รณรงค์การฉีดวัคชีน ให้ความรู้กับประชาชน
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมการทำความสะอาดสถานที่เป็นจุดเสี่ยง เช่น เก็บกวาดขยะแล้วนำขยะที่ได้มาแยกให้ถูกประเภทเพื่อที่จะได้นำมาทำลายหรือนำไปรีไซเคิลให้ถูกวิธี ทำความสะอาดจุดอื่นๆ รอบพื้นที่เสี่ยงที่คนในชุมชนใช้งานร่วมกันเพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และจัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ไว้สำหรับคนที่จะมาใช้บริการโรงพยาบาลประจำตำบลเจริญสุข วัดเขาอังคาร และโรงเรียนบ้านเจริญสุข
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการสอนทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ร่วมกับชุมชน อสม.ประจำแต่ละหมู่บ้านในตำบลเจริญสุข จัดทำหน้ากากอานามัยโดยใช้ผ้าท้องถิ่นคือ ผ้าภูอัคนี
การทำหน้ากากอนามัยจากผ้าภูอัคนี มีตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จาก 14 หมู่บ้าน การทำหน้ากากอนามัยจากผ้าเป็นสิ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนที่เราจะต้องลงทุนในเรื่องของหน้ากากอนามัยไปด้วย และการทำหน้ากากจากผ้าภูอัคนี เป็นผ้าท้องถิ่นและยังเป็นสินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง การนำผ้าภูอัคนีมาประยุกต์ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แบบใหม่ขึ้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และคนในชุมชนได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผ้าภูอัคนีเป็นผ้าย้อมด้วยดินภูเขาไฟ เป็นสีดินภูเขาไฟธรรมชาติที่สวยงาม ทำให้การนำไปทำเป็นหน้ากากอนามัยมีความโดนเด่นและเป็นเอกลักษณ์ให้แก่ผู้สวมใส่อีกด้วย
ขั้นตอนการทำหน้ากากอนามัยผ้าภูอัคนี
- นำผ้าภูอัคนีมาวัดขนาดให้เท่ากัน (ขนาดที่พอเหมาะกับใบหน้าอยู่ที่ 19 ซม.)
- นำสายยืดคล้องหูมาตัดให้เท่ากัน
- นำสายคล้องหูกับผ้าภูอัคนีมาเย็บให้เข้ากัน
- นำหน้ากากอนามัยผ้าภูอัคนีมารีดให้อยู่ทรง
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันจากการติดเชื้อและแพร่เชื้อ ได้แก่ การล้างมือ เว้นระยะห่าง และการสวมใส่หน้ากากอนามัย ร่วมกับบุคลากรโรงพยาบาลประจำตำบล อสม.ประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่ปิดป้ายประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ การสวมใสอุปกรณ์ วิธีการป้องกันให้ห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสโควิด และสำรวจข้อมูลการฉีดวัคชีนโควิด รณรงค์การฉีดวัคชีน ให้ความรู้กับประชาชน
ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เห็นความสำคัญในการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคนในชุมชน จึงได้ส่งวิทยากรผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน การดูแลตนเองก่อนและหลังจากได้เข้ารับการฉีดวัคซีนที่ถูกต้องมาบรรยายความรู้ให้กับคนในชุมชนทั้ง 14 หมู่บ้าน
วัคซีนโควิด 19 ที่มีให้บริการในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันโควิด 19 แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca) โดยให้ในในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 10 – 12 สัปดาห์
วัคซีนโคโรนา หรือ ซิโนแวด (CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine) เป็นวัคซีนเชื้อตาย ซึ่งขณะนี้กำหนดให้ในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์
สังเกตอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน
สำหรับอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน COVID-19 ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง โดยควรเฝ้าระวังหลังจากฉีดไปแล้ว 30 นาทีแรก แต่ถ้ามีอาการแพ้รุนแรงมักจะเกิดอาการภายใน 15 นาที ซึ่งอาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่
อาการข้างเคียงชนิดไม่รุนแรง เช่น
- ปวด บวม แดง ร้อน คัน บริเวณที่ฉีด
- ไข้ต่ำ
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- อ่อนเพลีย
กิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดขึ้นเพื่อต้องการให้คนในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ที่ถูกต้องเพื่อที่คนในชุมชนจะได้ดูแลและป้องกันตนเองได้ถูกวิธี เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคโควิด 19 การบรรยายเรื่องวัคซีนเพื่อที่คนในชุมชนจะได้นำไปใช้ได้ถูกวิธีเพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่คนในชุมชนได้ลงชื่อฉีดวัคซีนกับทางรัฐบาล และคนในชุมชนมีความกังวลเกี่ยวกับการดูแลตนเองจึงเกิดเป็นกิจกรรมให้ความรู้ครั้งนี้เกิดขึ้นมา นอกจาการทำความสะอาดด้วยการล้างมือ การเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากากยังเป็นสิ่งที่สำคัญ การใช้ผ้าภูอัคนีซึ่งมีอยู่แล้วในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการทำเป็นหน้ากากอนามัยนอกจากจะช่วยให้คนในชุมชนประหยัดค่าใช้จ่ายได้แล้ว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของคนในชุมชนอีกด้วย
จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยและคณะอาจารย์ที่ได้มาให้ความรู้ และทำให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชนทั้ง 14 หมู่บ้านเป็นอย่างมาก และต้องขอขอบคุณอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั้ง 14 หมู่บ้าน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับข้าพเจ้าและทีมงานเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณมากๆค่ะ
บรรณานุกรม
Tourism Local Life. (17 กันยายน 2018). บ้านเจริญสุข. Tourism Local Life,
https://www.tourismlocallife.com/2231.
กรมควบคุมโรค. (ม.ป.ป.). วัคซีนโควิด 19 ในประเทศไทย. https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/.