ข้าพเจ้า นางสาวมารีด้า ไชยช่วย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่

ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์

เรื่อง ดินภูเขาไฟภูพระอังคาร

เขียนโดย นางสาวมารีด้า ไชยช่วย กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจในพื้นที่ทั้งหมด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 (บ้านเจริญสุข) หมู่ที่12 (บ้านเจริญสุข) หมู่ 14 (บ้านเจริญสุข)

ภูเขาไฟภูพระอังคาร เป็นภูเขาไฟ 1 ใน 6 ลูกของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ดับสนิทแล้ว โดยทั้ง 6 ลูกมีชื่อตามสถานที่ดังนี้คือ

1.ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง

2.ภูเขาไฟหินหลุบ

3.ภูเขาไฟภูพระอังคาร

4.ภูเขาไฟกระโดง

5.ภูเขาไฟไบรบัด

6.ภูเขาไฟเขาคอก

ประวัติศาสตร์

1.ปัจจุบันภูพระอังคารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง และวัดเขาอังคาร อยู่ห่างจากพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยวัดเขาอังคารสร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษ

2.มีการพบใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น ซึ่งสลักภาพบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักร ส่วนใหญ่ถูกดัดแปลงต่อเติมจนไม่เห็นลักษณะเดิมที่สมบูรณ์ จากร่องรอยที่เหลืออยู่บางส่วนแสดงให้เห็นถึงการนับถือพุทธศาสนาของชุมชนโบราณในบริเวณใกล้เคียงเขาอังคาร สันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

3.ภูเขาพระอังคาร เดิมชื่อ ภูเขาลอย เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ สาเหตุที่เรียกว่าภูเขาพระอังคาร มีประวัติความเป็นมาดังนี้ ข้อมูลประวัติของภูเขาพระอังคารพบสมุดบันทึกประวัติไว้ที่พระธาตุพนม เขียนไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.8 ได้มีพญาทั้ง 5 ได้นำเอาพระธาตุของพระพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนมปัจจุบัน ตามประวัติเขียนไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันปรินิพพานแล้ว มีการถวายพระเพลิงพระบรมศพโฑณพราหมณ์ได้นำทะนานของตวงพระธาตุแจกเจ้าเมือง เจ้านครไป 8 นครแล้วพระธาตุก็หมดไป ต่อมาเจ้าเมืองๆ หนึ่ง เดินทางมาขอพระธาตุ พอดีพระธาตุได้แจกไปหมดแล้ว โฑณพราหมณ์จึงเอาทะนานทองตวงเอาพระอังคารธาตุให้ เมื่อได้พระอังคารธาตุแล้วก็เดินทางกลับ พอมาถึงภูเขาลูกหนึ่งคือ ภูเขาลอย มีรูปร่างคล้ายพญาครุฑนอนคว่ำหน้า หันศรีษะไปทางด้านทิศใต้ หางอยู่ทางทิศเหนือ ปีกซ้ายอยู่ทางทิศตะวันออก ปีกขวาอยูทางทิศตะวันตก จึงมีความเห็นว่าน่าจะบรรจุพระอังคาร (ขี้เถ้า) ไว้ที่ไหล่ซ้ายพญาครุฑ เพื่อไว้เป็นที่สักการบูชาสืบต่อไป ตั้งแต่นั้นมาจีงเปลี่ยนชื่อจาก ภูเขาลอย เป็น ภูเขาพระอังคาร

ธรณีวิทยา ภูเขาไฟภูพระอังคาร มีลักษณะรูปร่างแบบลาวาโดม รูปฝาชีคว่ำฐานกว้างบริเวณปากปล่องภูเขาไฟพบตะกรันภูเขาไฟ (Scoria) ซึ่งเกิดจากการระเบิดของหินหลอมเหลว พบลักษณะการไหลของลาวาบะซอลต์เป็นแบบอาอา (aa) ทำให้ผิวชั้นลาวาปรากฏลักษณะผิวที่ขรุขระ และมีรูพรุนมาก ลักษณะแบบนี้เกิดจากการไหลของหินหลอมเหลวที่มีก๊าซปนอยู่มาก นักธรณีวิทยานำตัวอย่างมาวิจัยพบว่า หินบะซอลต์บริเวณนี้มีสีผิวสดเป็นสีเทาเข้ม (Dark gray (N3)) สีผิวผุเป็นสีน้ำตาล เข้มอมเหลือง (Dark yellowish brown (10 YR 4/2)) มีทั้งเนื้อพรุน และเนื้อแน่น โดยชั้นล่างเป็นหินเนื้อละเอียดแข็งแน่น ส่วนชั้นบนปรากฏลักษณะมีรูพรุน มีแร่แคลไซต์สีขาวและเหลืองเม็ดกลม ๆ ขนาด 2 มิลลิเมตร ตกผลึกอยู่ตามช่องว่างนั้นเป็นกลุ่ม คล้ายกับพวงองุ่น (Botryoidal texture) หินที่รองรับหินบะซอลต์แตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ ส่วนใหญ่เป็นหินทราย และหินทรายแป้งปนหินกรวดมนสีน้ำตาลแดงของหมวดหินโคกกรวด อายุประมาณยุค ครีเทเชียสตอนปลาย (Late Cretaceous) บริเวณโดยรอบเนินเขามีหินบะซอลต์อีกส่วนหนึ่งที่ไหลไปกับพื้นราบและมีตะกอนยุคควอเทอร์นารีปิดทับ

จากการลงพื้นที่ในเดือนกรกฎาคม ข้าพเจ้าและทีมงานได้มีโอกาสได้รับความรู้เรื่องดินภูเขาไฟภูพระอังคาร จากคุณแม่สำรวย ศรีมะเรือง ซึ่งการเรียนรู้เรื่องดินในครั้งนี้ยังได้ทราบถึงการนำดินมาย้อมผ้าภายในชุมชนตำบลเจริญสุข ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำดินมาย้อมผ้ามีชื่อว่า ผ้าภูอัคนี นอกจากเขาพระอังคารเป็นที่ท่องเที่ยวหลักของตำบลเจริญสุขแล้ว ยังมีศูนย์การเรียนรู้ผ้าภูอัคนีอีกด้วย ตำบลเจริญสุขสามารถจัดได้ว่ามีการท่องเที่ยวที่ครบวงการ เช่น การท่องเที่ยวเขาพระอังคาร เรียนรู้เรื่องประวัติศาตร์ ท่องเที่ยวเรื่องดินจากภูเขาไฟ เรียนรู้เรื่องความอุดมสมบูณร์ของดินและผืนป่า การนำทรัพยากรดินที่มีในท้องถิ่นมาสร้างประโยชน์ให้ชุมชน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและแปลกใหม่

ข้าพเจ้าเล็งเห็นว่า ดินภูเขาไฟเขาพระอังคารเป็นสิ่งสำคัญต่อคนในชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะดินภูเขาไฟมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์จึงทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกัน คนในชุมชมไม่เพียงแต่ใช้ประโยชน์จากดินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีการอนุรักษ์และปลูกป่าอีกด้ย โดยร่วมมือกับกรมป่าไม้ในการดูแลรักษาป่าและดิน.

อ้างอิง

www.dmr.go.th

naturalsite.onep.go.th

อื่นๆ

เมนู