ข้าพเจ้า นางสาวมุกรินทร์ อาจอาสา กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กพร.

ตำบลเจริญสุข อำเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : ED05 คณะครุศาสตร์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 1-10 กรกฎาคม 2564

ณ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

การลงพื้นที่ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่หมู่ที่ 12 บ้านเจริญสุข

การลงพื้นที่หมู่ที่ 12 บ้านเจริญสุขในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ได้เข้าไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการทำฮอร์โมนไข่ กับตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้กับตัวแทนทั้ง 14 หมู่บ้าน ที่ศาลาการประชุมหมู่ที่ 12 โดย วิทยากร อาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยที่ไร้สารเคมี และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายของคนในชุมชนได้อีกด้วย ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จึงได้จัดอบรมให้ความรู้ให้กับคนในชุมชนทั้ง 14 หมู่บ้าน เพื่อให้คนในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำเกษตรกรรมได้

ส่วนผสม

  1. ผลไม้ หรือ ผัก 3 ส่วน
  2. กากน้ำตาล หรือ น้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
  3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ส่วน
  4. น้ำสะอาด 10 ส่วน

วิธีทำ

  1. ใส่ผลไม้ลงในภาชนะทึบแสงมีฝาปิด
  2. ละลายน้ำและกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงให้เข้ากัน และเติมลงในภาชนะใส่ผลไม้ที่เตรียมไว้คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  3. เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ คนให้ทั่ว
  4. ปิดฝาให้สนิทเก็บให้มิดชิดในที่ร่ม
  5. ทิ้งไว้ 3 เดือน และเปิดใช้งาน

*สัดส่วนการใช้

  • 1/500 : สำหรับไม้ที่มีใบบาง
  • 1/200 : สำหรับไม้ที่มีใบหนา หรือไม้ผล
  • 1/200 : ปรับปรุงบำรุงดิน
  • 1/100 : ไล่แมลงวัน
  • 1/10 + เกลือ : ฆ่าหญ้า

แบบเข้มข้น : ราดชักโครกหรือพื้นห้องน้ำเพื่อดับกลิ่น และย่อยสลายสิ่งปฏิกูล

การทำฮอร์โมนไข่ นอกจากเปลือกไข่จะประกอบด้วยแคลเซียมที่สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับบำรุงต้นไม้และป้องกันศัตรูพืชอย่างหอยทากได้แล้ว ไข่ยังอุดมไปด้วยโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อทั้งร่างกายคนและเป็นธาตุอาหารของพืช ซึ่งโปรตีนในไข่เมื่อผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมจะได้เป็นกรดอะมิโน แล้วกลายเป็นไนโตรเจน (N) ธาตุอาหารสำคัญของพืช และยังมีวิตามิน กำมะถัน โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และธาตุเหล็กอีกด้วย ระยะเวลาหมัก 14 วัน (ยิ่งนาน ยิ่งเข้มข้น) ระหว่างนั้นให้เปิดขวดพลาสติกเพื่อระบายแก๊สเป็นระยะ อัตราส่วนใช้งาน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตรฉีดพ่นทางใบ ฮอร์โมนนมสดจะมีจุลินทรีย์บาซิลลัส แลคติกเอสิส  เชื้อ Bacillus thuringiensis (Bt) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำลายหนอนชนิดต่างๆ และรวมถึงจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ Bacillus subtilis (Bs) ที่ป้องกันโรคพืชที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียได้ด้วย

ฮอร์โมนไข่

  • ไข่ไก่ 5-10 ฟอง
  • นมเปรี้ยว 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ
  • ขวดเปล่า 1 ใบ

วิธีทำ

  1. ตอกไข่ลงในขวด เขย่าให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  2. เติมนมเปรี้ยวและน้ำตาลทรายแดง อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ
  3. เขย่าให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 3 วันนำไปใช้ได้

จากการเข้าร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพนอกจากเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้แล้ว ยังเป็นการลดการใช้สารเคมี และยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยกับตัวเราแล้ว ยังปลอดภัยสำหรับคนอื่นๆอีกด้วย

จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และคณะอาจารย์วิทยากร อาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ได้มาให้ความรู้แก่ข้าพเจ้า ทีมงานและคนในชุมชนทั้ง 14 หมู่บ้าน ข้าพเจ้าขอขอบคุณตัวแทนทั้ง 14 หมู่บ้านที่ได้ให้ความร่วมมือกับข้าพเจ้าและทีมงานเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างมากค่ะ

 

 

อื่นๆ

เมนู