บทความประจำเดือนมิถุนายน 2564
เรื่อง กิจกรรมรณรงค์การฉีดวัคซีนต้านภัยโควิด-19 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
นับตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันโลกของเราเกิดการระบาดของโรคที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก การระบาดของโรคร้ายนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย การระบาดส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและการสูญเสียชีวิต การใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปนับตั้งแต่การระบาดเริ่มรุนแรง ซึ่งโรคระบาดนี้เรียกว่า COVIC – 19 ซึ่งย่อมาจากชื่อเต็มว่า coronavirus disdase starting in 2019 หรือที่เรารู้จักและเรียกกันสั้นๆว่า “โควิด 19”
ไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 คืออะไร ?
ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
3. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ
5. ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)
6. งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
7. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
8. รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
9. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา
10.การฉีดวัคซีน
จากกระแสข่าวจากหลายช่องทางเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ทั้งด้านดี และไม่ดี จนทำให้หลายคนยังไม่กล้าตัดสินใจที่ฉีดวัคซีน ในขณะเดียวกันหน่วยงานต่าง ๆ ก็ออกมาเชิญชวนประชาชนให้เข้ารับการฉีด เพราะมองว่า จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้ประเทศไทยผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคนี้ไปได้
ทั้งนี้คณะทำงานโครงการ U2T โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการระบาดของโรคโควิด 19 จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดโดยมีคณะทำงานในโครงการ และอสม. ของแต่ละหมู่บ้านทั้ง 14 หมู่บ้านในตำบลเจริญสุข มาช่วยกันรณรงค์ และร่วมกันเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่นในการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ประชาชนทุกคนเตรียมความพร้อมก่อนฉีดวัคซีน โดยใช้ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ คณะทำงานและอสม. ได้ร่วมกันรณรงค์ แจกโบว์ชัวร์ให้กับชาวบ้านทั้ง 14 หมู่บ้านในตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และเชิญชวนประชาชนลงทะเบียนผ่านกลุ่มไลน์ ( หมอพร้อม) แนะนำการติดตั้งและใช้งานเพื่อให้เป็นช่องทางการสื่อสารติดตามอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน และได้มีการพูดคุยกับผู้นำชุมชน และอสม. ประจำแต่ละหมู่บ้านถึงการไปฉีดวัคซีนของคนในชุมชน ซึ่งในช่วงแรก ชาวบ้านมีความเครียด และกังวลที่จะรับการฉีดวัคซีน แต่เมื่อมีหน่วยงานหรือวิทยากรมาให้ความรู้ ทำให้ชาวบ้านภายในตำบลเจริญสุขของเรา มีความมั่นใจ ตระหนักถึงการป้องกันโรคที่มั่นใจขึ้น ชาวบ้านจึงเปลี่ยนจากความกลัว เป็นความกล้าที่ต้องการที่จะรับวัคซีนป้องกันโควิดนี้
การป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19 นี้ ถือว่าการฉีดวัคซีนเป็นแนวทางการต่อสู้กับโรคโควิด 19 เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน เพื่อลดอัตราการป่วย อัตราการเสียชีวิต และช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมกลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว