หลายๆคนอาจจะได้ยินคำว่า “พอเพียง “ซึ่งเป็นคำพูดที่คุ้นหูและฝังอยู่ในจิตใจของคนไทยทุกคน แม้ว่าจะผ่านมาหลายช่วงอายุคนแล้วก็ตาม คำว่า พอเพียงหรือเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ในการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
ตัวอย่างบุคคลในตำบลเจริญสุขที่ได้ดำเนินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สวัสดีครับ ผมนายนพดล มีพวงผล เป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรหรือ ศพก ของอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์ วันนี้ก็คือมันไม่มีอะไรมากหรอกลักษณะว่า เราก็อยากทำให้คนอื่นดูว่ามันมีผลประโยชน์ยังไงตามในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้ดูดีกว่าพูดให้ฟังสิ่งที่ทำคืออยากกินอะไรก็ปลูกไอ้นั่น เหมือนสัตว์อยากกินอะไรก็ต้องเลี้ยงไอ้นั่น ที่นี่ทำมาคือเมื่อก่อนก็เริ่มทำมาก็ไม่มีอะไรเป็นทุ่งนา ที่นี่คือหน่วยงานราชการเห็นว่าเราขยันก็เลยมาต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของอำเภอ ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ของ ไม่ว่าจะเป็นของเกษตรกร ว่าจะเป็นของคณะนักเรียนอะไรพวกนี้จะได้เข้ามาดูงานศึกษาดูงานสิ่งที่ทำมาตอนนี้คือตั้งแต่เริ่มทำมา 20 กว่าปีแต่เป็นศูนย์เรียนรู้มาได้ประมาณ6 ปี เข้าปีที่ 6 ที่หน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุน โดยให้มีศาลาอาคารเรียนรู้ ให้พันธุ์เป็ด พันธุ์ไก่มาเพื่อเลี้ยงและให้พี่น้องเกษตรกรได้มาชม มาดูมาพิจารณาว่าสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนว่าให้ทำเศรษฐกิจพอเพียงเป็นยังไง ตอนนี้ในสวนก็มี ผลไม้มีพวกเป็นฝรั่ง เป็นมัลเบอร์รี่มะพร้าว พวกไม้มีไม้ยาง มียางนามี ประดู่ มะค่าโมงมีพยุง ที่จะสามารถแปรรูปให้เป็นเป็นบ้านเป็นอะไรได้
การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ชาวบ้านตำบลเจริญสุขส่วนใหญ่มีการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันมากขึ้น เพื่อให้ชีวิตครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี พึ่งพาตนเองได้และมีความยั่งยืนไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต
อ้างอิง
แนวพระราชดำริ//(2564).//ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง//สืบค้นเมื่อ 13 พฤษจิกายน 2564,/จากhttp://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency/
มูลนิธิชัยพัฒนา//(2564).//เศรษฐกิจพอเพียง//สืบค้นเมื่อ 13 พฤษจิกายน 2564,/จากhttps://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html