บทความประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
เรื่อง ทอดกฐินประจำปี วัดบ้านสี่เหลี่ยม ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สําคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทํากันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง คําว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสําหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชํานาญเหมือนสมัย ปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทําจีวรในสมัยโบราณจะเป็น ผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทําเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตํานานกล่าวไว้ว่า การเย็บ จีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จ พระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ําดื่ม เป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็น การต้องช่วยกันทําหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสําเร็จรูปแล้ว)
ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสําเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้
การทอดกฐิน คือ การนําผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น เขตกําหนดทอดกฐินการทอดกฐินเป็นกาล ทาน ตามพระวินัยกําหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกําหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน แต่มี ข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจําเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตาม กําหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกําหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับ ไว้ก่อนได้
การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กําหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกําหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ
จุลกฐิน การทําจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทําให้เสร็จภายในกําหนดหนึ่งวัน ทําฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทําให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น
มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจํานวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุน บํารุงวัด คือทํานวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี
การจองกฐิน
วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทําเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้
สําหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้ กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จน ก่อนถึงวันกําหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมศาสนา
การนํากฐินไปทอด
ทําได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนําผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน พอถึง วันกําหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทําพิธีถวาย อีกอย่าง หนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จําพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนําไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทําบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกําหนด วันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรํานําขบวนตามประเพณีนิยม
การถวายกฐิน
นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกําหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นําเข้าไป พอถึงกําหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อม กัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนํา ผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นําคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนําผ้า พระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้า พระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระ กฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคําถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้า พระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์
กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสําหรับ ทําบญุ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนําผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทําพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง
การทําพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคําขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวด ญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นําผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่ง ยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบําเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอัน เป็นบริวารขององค์กฐินตามลําดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนําด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ํา และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี
ทั้งนี้ ได้เข้าร่วมทอดกฐินประจําปีที่วัดบ้านสี่เหลี่ยม ตําบลเจริญสุข อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ในครงั้ นี้ โดยมีการเลี้ยงอาหารผู้ที่มาทอดกฐิน ซึ่งที่เรียกว่า โรงทาน ในสมัยปัจจุบัน การตั้งโรงทานในวัดเนื่องใน โอกาสต่างๆนั้น จุดประสงค์ก็คือต้องการแบ่งเบาภาระเรื่องอาหารของทางวัด เพราะหากไม่มีโรงทาน ทางวัดก็ต้อง สิ้นเปลืองเงินทองจัดหาอาหารมาเลี้ยงคนที่มาที่วัด ยิ่งโดยเฉพาะช่วงที่มีงานใหญ่ๆโตๆ คนมางานกันเยอะ ถ้าไม่มี โรงทาน ภาระหนักก็จะตกอยู่กับทางวัดซึ่งการตั้งโรงทานในวัดนั้น เป็นการเปิดกว้างให้คนทุกชั้นทุกวรรณะ ไม่ว่า จะยากดีมีจนก็มีสิทธิมารับประทานอาหารได้ อีกนัยหนึ่งการตั้งโรงทานในวัด เท่ากับเป็นการร่วมสร้างบุญสร้าง กุศลกับพระสงฆ์องค์เจ้าด้วย เป็นการพึ่งบารมีของท่าน เป็นการร่วมสร้างบารมีกับท่าน เมื่อคนกินอาหารอร่อย เค้าก็จะโมทนากับเจ้าของโรงทาน โมทนากับหลวงปู่หลวงตาว่า ดูสิ เพราะบารมีท่าน ถึงมีโรงทานเยอะแยะ มากมายอย่างนี้ ไม่ได้อดไม่ได้อยากเลยพวกเรา อีกทั้งเทวดาก็โมทนาสาธุการกับเจ้าของโรงทานด้วย บางครั้ง อาหารที่เรามาตั้งโรงทาน เราก็แบ่งส่วนหนึ่งไปถวายเพล ไปเลี้ยงพระ ซึ่งก็ไม่ได้มีข้อห้ามอะไรว่า อาหารที่เราตั้ง โรงทาน จะต้องเลี้ยงคนที่มาที่วัดเท่านั้น จะนําไปเลี้ยงพระไม่ได้
เพราะฉะนั้น หากมองในภาพรวมแล้ว การตั้งโรงทานในวัดนั้น ไม่ได้จํากัดเฉพาะคนยากคนจน ไม่ได้จํากัด เฉพาะลูกศิษย์วัด ใครจะเดินเข้ามากินก็ได้ ที่สําคัญเป็นการร่วมทําบุญกับทางวัด ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ การตั้งโรงทานในวัดจึงได้อานิสงส์มากกว่าตั้งโรงทานเพื่อเลี้ยงคนยากคนจนเพียงอย่างเดียว
อานิสงส์ที่ได้รับ คือ เป็นผู้ที่ไม่ประมาท มีสติดี เมื่อละโลกนี้ไปแล้วจะเกิดในเทวโลก แวดล้อมด้วนเหล่า บริวารคอยบํารุงบําเรออยู่ตลอดกาล จะได้เสวยสมบติเป็นทิพย์ ครั้นเมื่อจุติจากเทวโลกแล้วมาปฏิสนธิใน มนุษยโลกจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองทวีปทั้ง 4 คือ ชมพูทวีป อุตตกุรุทวีป อมรโคยานทวีป และปุพพวิ เทหทวีป มีรัตนะทั้ง 7 (สัญลักษณ์ของจักรพรรดิราช) คือ จักรแก้ว นางแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว ช้างแก้ว ม้า แก้ว และมณีแก้ว แม้ในอนาคตชาติก็จะได้เกิดอยู่แต่ในสุคติภูมิเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง และเป็นที่เคารพบูชา ของมหาชน แม้เหล่าเทวดาก็ชื่นชมยินดียกย่องสรรเสริญ มีรูปกายงดงามสมส่วนเป็นสง่าน่าเกรงขาม มียศมาก อํานาจมาก มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีความสะดุ้งหวั่นไหว และจะได้บรรลุคุณวิเศษทั้งปวง
อ้างอิง http//:dhammathai.org,