ED05 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายน  ๒๕๖๔

ข้าพเจ้า นางสาวมุกรินทร์ อาจอาสา ประเภท บัณฑิต กพร.

ED05 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”

การทอผ้า วิถีชีวิตของคนในชุมชนตำบลเจริญ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือนพฤศจิกายน
2564

การลงพื้นที่ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณนาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีคุณอุไร ขันขวา เป็นผู้ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าในครั้งนี้ และคุณอุไร ขันขวายังเป็น 1 ในสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีทอผ้าฝ้าย – ไหม (ภูอัคนี)

จากการเล่าของคุณอุไร ขันขวา การทอผ้าในชุนชนบ้านเจริญสุข เกิดขึ้นจากวิถีชีวิต จากภูมิปัญญาของคนในชุมชนตำบลเจริญสุข ในอดีตคนในชุมชนมีการทอผ้าใช้เองกันในครอบครัว ยังไม่มีการจำหน่ายเกิดขึ้นเพราะแต่ละหลังคาเรือนจะมีการทอผ้าใช้เองทุกหลัง พอมาถึงปัจจุบันความนิยมเริ่มเปลี่ยน ความสะดวก ความรวดเร็ว ความทันสมัยได้เข้ามาแทนที่ เราสามารถหาเสื้อผ้าที่สวยและถูกได้ตามร้านค้าทั่วไปโดยไม่ต้องมานั่งทอเองจึงทำให้การทอผ้าในปัจจุบันหาได้ยากขึ้นมีเพียงผู้สูงอายุบางท่านที่ยังสืบสานการทอผ้า จึงทำให้การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่ต้องการการสืบทอดจากลูกหลานในชุมชนเป็นอย่างมาก

วิธีการทอผ้า

หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา

ขั้นตอนในการทอผ้า

  1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
  2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
  3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
  4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้พอเหมาะ(กรมหม่อนไหม)

โดยชุมชนเจริญสุขจะใช้วิธีการมัดหมี่เพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงาม

กรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่

  1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
  2. มัดหมี่เส้นยืน
  3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน(กรมหม่อนไหม)

จากการลงพื้นที่หมู่ 1 บ้านเจริญสุขในครั้งนี้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทอผ้า และการใช้เทคนิคมัดหมี่ในการทอผ้าแล้ว ข้าพเจ้ายังได้พูดคุยกับสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีทอผ้าฝ้าย – ไหม (ภูอัคนี) สมาชิกภายในกลุ่มเกิดจากการรวมตัวของคนที่มีฝีมือ และทักษะที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางภูมิปัญญาของคนในชุมชน และนอกจากนั้นยังเป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิต อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีกด้วยค่ะ

งานที่อ้างถึง

กรมหม่อนไหม. (ม.ป.ป.). เทคนิคการทอผ้าไหม.

อื่นๆ

เมนู