ED 05 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2564

เรื่อง “สะเดา’’ผักรสขมที่เป็นยา

ข้าพเจ้า นางสาวปนัดดา  ปัดตานัง

กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร ED : 05  คณะครุศาสตร์    

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

            ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน โดยแต่ละหมู่บ้านแต่ละครัวเรือนจะมีการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับและพืชสมุนไพร ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจพืชผัก ณ หมู่ที่ 4 บ้านบุไร่อ้อย จะมีการปลูก กระชาย ตะไคร้ กล้วย และสะเดา ฯลฯ เพื่อรับประทานเอง หรือถ้ามากเกินไปก็นำมาขายเป็นรายได้เสริม

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อ 5  ธันวาคม  พ.ศ.2564

          สะเดา มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์คือ Azadirachta indica A. Juss แต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป คือ ภาคกลาง เรียก สะเดาบ้าน, ภาคเหนือ เรียก สะเลียม, ภาคอีสาน เรียก ต้นกะเดา, ภาคใต้ เรียก กระเดา, ชาวกะเหรี่ยง เรียก ตะหม่าเหมาะ, ชาวไทยลื้อ เรียก ผักสะเลม ต้นสะเดา มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในบริเวณของประเทศพม่าและประเทศอินเดีย และมีการกระจายพันธุ์ไปในป่าแล้งในแถบประเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย สำหรับประเทศไทยมีเขตการกระจายตามธรรมชาติเป็นป่าไม้เบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วประเทศ ทั้งนี้ภาพธรรมชาติของ สะเดา ยังสามารถเจริญงอกงามในท้องถิ่นที่มีอากาศ ร้อนชื้น ที่มีอุณหภูมิสูงได้ถึง 44 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูง 50-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และสามารถขึ้นได้ในสภาพดินที่มีความแห้งแล้งของดิน และดินเหนียว

ลักษณะทั่วไปของสะเดา

          สะดา จัดเป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20-25 เมตร ลักษณะของยอดเป็นเป็นพุ่มหนาทึบตลอดทั้งปี มีระบบรากที่แข็งแรงกว้างขวางและหยั่งลึก เปลือกไม้ค่อนข้างหนา สีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกเป็นรอยตื้นๆ หรือสะเก็ดยาวๆ เยื้องสลับกันไปตามความยาวของลำต้นเปลือกของกิ่งค่อยข้างเรียบ

          เนื้อไม้ มีสีแดงปนน้ำตาล เสี้ยนค่อนข้างสลับเป็นริ้วๆ แคบ เนื้อหยาบเป็นมัน เลื่อม แข็งทนทาน แกนมีสีน้ำตาลแดง

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อ  5 ธันวาคม พ.ศ.2564

          ใบ มีสีเขียวเข้มหนาทึบ ออกเป็นช่อแบบขนนก ยาว 15-4- เซนติเมตร มีใบย่อย 4-7 ใบ ขอบใบหยักเล็กน้อยหรือเกือบเรียบการเรียงตังของใบแบบสลับ ใบย่อยเรียงตัวแบบตรงกันข้าม ในพื้นที่ที่แล้งจัด จะทิ้งเฉพาะใบส่วนล่างๆ ประมาณเดือนมกราคม ถึงมีนาคม และใบใหม่จะผลิตขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน ช่วงนี้สะเดาจะแทงยอดอ่อนพุ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อ 5  ธันวาคม พ.ศ.2564

          ดอก ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ตามง่ามใบหรือตามมุมที่ร่วงหลุดไปและที่ปลายกิ่ง ยาวได้กิ่ง 30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือสีเทา ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ แกนกลางของช่อมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลิเมตร ลักษณะค่อนข้างเกลี้ยง แตกกิ่งก้านออกเป็น 2-3 ชั้น ที่ปลายช่อเป็นกระจุกอยู่ 1-3 ดอก มีขนคล้ายไหม มีใบประดับและใบประดับย่อยเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขนนุ่มและสั้นส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนนุ่มสั้นเช่นกัน ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปทรงแจกัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายเป็นพู 5 พูกลม พูซ้อนเหลื่อมกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปช้อนแคบ ยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร มีขนนุ่มสั้นขึ้นทั้งสองด้าน ท่อเกสรตัวผู้เกลี้ยหรือขนนุ่มมีสัน 10 สัน ขอบบนเป็นพูกลม 10 พู มีอับเรณู 10 อัน ยาว 0.8 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปรีแคบ ส่วนรังไข่เกลี้ยงหรือมีขนนุ่มสั้น

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อ  5 ธันวาคม พ.ศ.2564

          ผลและเมล็ด มีลักษณะคล้าผลองุ่น ขนาดยาว 1-2 เซนติเมตร ปละกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ผลจะสุกระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน แล้วแต่สภาพพิ้นที่ ผลสุกจะมีสีเหลืองอมเขียว ลักษณะกลมรี มีรสชาติหวานเล็กน้อย เมล็ดผิวค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาวสีเหลืองซีดหรือสีน้ำตาล ลักษณะกลมรี

สรรพคุณทางนาของสะเดา

  1. ดีท็อกซ์สารพิษที่ตกค้างในร่างกาย ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ล้างพิษในกระแสเลือด หระต้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น
  2. รักษาโรคผิวหนัง สารเกดูนิน (Gdeunin) และ นิมโบลินี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ไม่ส่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก- เกลื่อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผด ผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส
  3. แก้ไข้มาลาเรีย สารเคมรกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิน และ นิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. รักษาโรคไขข้อ ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้ในการรักษาโรคไขข้อได้ดี โดยลดอาการปวด บวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน
  5. ช่วยย่อยอาหาร ใบสะเดา สามารถนำมาเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี ช่วยให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะใสมารถย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้นด้วย
  6. บำรุงสุขภาพช่องปาก บำรุงเหงือกและฟัน นิยมนำมาสกีดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป ช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก

ข้อควรระวัง

  1. การรับประทานน้ำมันสะเดาและเปลือกของต้นสะเดาค่อนข้างไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เพราะอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรและทำให้ไม่มีน้ำนมได้
  2. คนเป็นโรคความดันโลหิตต่ำไม่ควรทน เพราะสะเดามีคุณสมบัติลดน้ำตาลในเลือด อาจยิ่งทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง เป็นลม หมดสติหรือวูบได้ง่าย
  3. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น จึงไม่เหมาะกับคนธาตุเย็น เพราะจะยิ่งทำให้ท้องอืด เกืดลมในกระเพาะ
  4. งานวิจัยบางงานเผยว่าสะเดาอาจเป็นอันตรายต่ออสุจิ รวมถึงลดโอกาสในการมีบุตรในทางอื่นๆ ผู้ที่ต้องการมีบุตรจึงควรหลีกเลี่ยง
  5. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือโรคเกี่ยวกับชิ่งท้อง เช่น โรคกรดไหลย้อย ภาวะเรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก เพราะรสขมเป็นรสที่ช่วยกระตุ้นสร้างน้ำย่อยให้ออกมามากขึ้น

การขยายพันธุ์

              วิธีที่นิยม คือ การเพาะเมล็ด โดยเก็บผลสุกจากต้นมาขยำกับทราย และล้างน้ำ เพื่อให้เนื้อหุ้มผลหลุดออก แล้วนำมาผึ่งในที่รมให้แห้ง อาจเพาะในถุงพลาสติก หรือลงแปลงเพาะขนาดแปลงเพาะกว้าง 0.75-1 เมตร ความยาวแล้วแต่สภาพพื้นที่หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลง กลบดินหนา 0.5 เซนติเมตร ชั้นบนคลุม ด้วยฟางบางๆ รดน้ำเช้า-เย็น เมล็ดจะเริ่มงอก ภายใน 5-7- วัน ขนาดของกล้าไม้ ในการย้ายชำลงถุงพลาสติก สามารถย้ายชำได้ ตั้งแต่รากเริ่มปริแทงยอดอ่อนจนถึงต้นกล้าใหญ่ แต่จะให้ผลดีควรย้ายกล้าชำเมื่อมีใบจริงไม่ต่ำกว่า 2 คู่ กล้าที่ชำในถุงพลาสติกควรไว้ในที่ร่ม พอสมควร และค่อยๆ เปิดให้รับแสงแดดทีละน้อย จนกระทั้งได้รับแสงเต็มที่ ก่อนย้ายปลูกลงดินประมาณต้นกล้าได้  1 เดือน

การปลูก

          การเตรียมพื้นที่ ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบร้อย เก็บเศษไม้และวัชพืช สุมเผาในช่วงฤดูร้อน แล้วปักหลักกำหนดระยะห่างของการปลูก

          ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก เช่น ต้องการไม้ขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 1×2 หรือ 2×2 เมตร ถ้าต้องการไม้ขนาดใหญ่ ใช้สำหรับการก่อสร้างและทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ระยะปลูก 2×4 หรือ 4×4 เมตร ต้องการเมล็ดไปทำสารฆ่าแมลง ใช้ระยะปลูก 6×6 เมตร แต่เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่ อาจปลุกระยะถี่ก่อน เมื่อยอดเบียดชิดกันจึงตัดบางส่วนออกไปใช้ประโยชน์ ให้ต้นสะเดาที่เหลือมีระยะห่างตาม วัตถุประสงค์ของการลูกต่อไป

              หลุมปลูก ขนาดที่เหมาะสม คือ กว้างxยาวxลึก ประมาณ 25x25x25 เซนติเมตร

          วิธีปลูก หลังจากการขุดหลุมปลูกแล้ว ตากดินประมาณ  สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดินก่อน แล้วจึงใส่ปุ๋ย รองก้นหลุมอัตรา 150-200 กรัมต่อหลุม หรือครึ่งกระป๋องนม แล้วนำกล้าไม้ที่เตรียมไว้ ย้ายลงปลูก ขนาดกล้าไม้ที่เหมาะสมควรสูง 8-12 นิ้ว อายุประมาณ 4-5 เดือน ฤดูปลูกควรเป็นฤดูฝน โดยเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตกหนัก ฉีกถุงพลาสติกที่ใส่ต้นกล้าออกวางกล้าในหลุม ควรวางกล้าตรงกลางหลุม กลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น

การลงพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านบุไร่อ้อย ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่บ้านของนายทอง แก้วยงกฎ

ที่มา นางสาวปนัดดา ปัดตานัง ถ่ายเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ.2564

ภายในสวนและรอบๆบ้านของ นายทอง แก้วยงกฎได้มีการปลูกพืช ผลไม้ และสมุนไพรต่างๆ เช่น มะนาว มะเฟือง มะม่วงหาวมะนาวโห่ กระชาย ฟ้าทะลายโจน ต้นกล้วย และสะเดา จากการสอบถามคุณลุงทอง เกี่ยวกับวิธีการดูและสะเดารวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ทางยาคือ การดูแลต้นสะเดาคือ ควรตัดแต่งกิ่งทุกครั้งเมื่อหมดช่วงที่สะเดาออก ไม่ต้องรดน้ำบ่อยเพราะสะเดาเป็นพืชเขตร้อน และการนำสะเดาไปใช้ประโยชน์ทางยา ทำให้รู้ว่าส่วนต่างๆ ของสะเดานั้นสามารถนำมาใช้ได้แทบจะทุกส่วนไม่ว่าจะเป็น เปลือก หรือแม้กระทั้งเมล็ด ของละเดา

          จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอบขอบคุณ คุณลุงทอง แก้ว ยงกฎ ที่ได้เสียสละเวลาและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูและ และประโยชน์ต่างๆของสะเดา จากบทความข้างต้น จะสะท้อนให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำสะเดามาใช้ประโยชน์ สะเดา ถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีรสขม แต่ก็มีประโยชน์ทางยาเป็นอย่างมาก และสะเดาถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านชอบกินเป็นอาหารอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกินสด หรือการลวก กินกับน้ำพริกอยู่แล้ว เป็นพืชที่ตั้งใช้ระยะเวลาในการปลกมาแต่ไม่ต้องดูแลมาก นอกจากการแต่งกิ่งค่ะ

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B2?fbclid=

https://www.disthai.com/17056969/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0

https://med.mahidol.ac.th/patient_care/th/health_issue/06082015-1153-th?fbclid=IwAR0dEWRok_

https://www.baanjomyut.com/library_5/agricultural_knowledge/perennial_crops/09.html?

อื่นๆ

เมนู