ข้าพเจ้า นางสำรวม ไกรพะเนาว์ ประเภท ประชาชน ED05 ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”

 

เมืองพนมรุ้ง ทุ่งฝ้ายคำ นามพระราชทาน ตำนานทับหลัง ที่ตั้งเจ้าพ่อปราสาททอง ของดีผ้าภูอัคนี “

              คำขวัญอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่แสดงให้เห็นความเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ประจำอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จากการที่ข้าพเจ้าผู้ปฏิบัติงาน U2T ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” ลงทำงานในพื้นที่ตำบลเจริญสุข ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่าบ้านเจริญสุขเป็นเมืองภูเขาไฟ โดยในอดีตกาลนั้น จังหวัดบุรีรัมย์เป็นพื้นที่ภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติที่มีภูเขาไฟที่เป็นที่รู้จักและมีความสำคัญคือ เขาอังคาร ชาวบ้านในชุมชนตำบลเจริญสุขจะนำดินภูเขาไฟที่อุดมด้วยแร่ธาตุมามาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ทำเป็นสีย้อมเส้นฝ้าย ดินภูเขาไฟมีคุณสมบัติทำให้ผ้ามีเนื้อนิ่มและมีสีน้ำตาลอ่อนกับน้ำตาลแดงแบบดินภูเขาไฟที่เป็นเอกลักษณ์ บวกกับการผสมผสานภูมิปัญญาการทอผ้า จนกลายเป็นกิจกรรม และสินค้าชุมชนที่เลื่องลือชื่อในปัจจุบันคือ ผ้าภูอัคนี ปัจจุบันมีการจัดตั้งศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟชุมชนบ้านเจริญสุขเป็นศูนย์สาธิตให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวที่สนใจได้อีกด้วย

ด้านวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนตำบลเจริญสุข

– วิถีชีวิตของชาวบ้านในตำบลเจริญสุขส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายสินค้าประเภทเกษตร อาทิ ข้าว และพืชไร่ต่าง ๆ วิถีชีวิตของชาวบ้านดำรงอยู่อย่างเกื้อกูลกับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณไปด้วยทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งมีภูเขาไฟที่ปกคลุมไปด้วยป่านานาพันธุ์ มีดินภูเขาไฟ มีป่าต้นน้ำที่เป็นต้นกำเนิดแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศป่าไม้ มีความเชื่อและประเพณีทางศาสนาสอดประสานให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล

ประเพณีที่สำคัญในชุมชน

-บุญพระเวสสันดร บ้านเจริญสุขร่วมกับชุมชนคุณธรรมอีก ๑๔ ชุมชน ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ สืบสานประเพณีบุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ วัดบ้านเจริญสุข ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสืบสานงานประเพณี บุญผะเหวด เทศน์มหาชาติดังกล่าว ประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่นั้น สะท้อนให้เห็นถึง ความศรัทธาอันแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวบ้านในชุมชนเจริญสุขยึดถือและปฏิบัติกันมาช้านานและอย่างเคร่งครัด

-ประเพณีวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติ และสืบทอดในชุมชนต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้เพราะความหมาย คุณค่า และสาระที่แฝงอยู่ คือ

คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้เกิดความรักความผูกพันในครอบครัว เช่น สมาชิกในครอบครัวมาทำบุญร่วมกัน ลูกหลานมารดน้ำขอพรจากพ่อแม่เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่

คุณค่าต่อชุมชน เป็นวันที่ก่อให้เกิดความสมัครสมานในชุมชน เช่น การได้มาพบปะสังสรรค์ ทำบุญร่วมกันในวัด ชมการละเล่นสนุกสนาน หรือเล่นสาดน้ำในหมู่เพื่อนฝูง คนรู้จักด้วยมิตรไมตรี มีพิธีสงกรานต์ คือ

การสรงน้ำพระ ทั้งที่บ้าน และที่วัด เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการทำบุญตักบาตรไหว้พระ

การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน

การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์

การดำหัว  เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่

การขนทรายเข้าวัด มีความเชื่อว่า เพื่อความเป็นมงคล ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองมากมายเหมือนเม็ดทรายที่ขนเข้าวัด และอีกความเชื่อคือ การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาป

-บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวบ้านในชุมชนตำบลเจริญสุขที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถือเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือน เดือน 6 ช่วงเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูทำนา จะมีการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พญาแถน หรือ เทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

อาหารประจำท้องถิ่น

-เห็ดตามฤดูกาล ต้มยำไก่บ้าน ไก่ย่างส้มตำ แกงเปรอะ น้ำพริกปลาทู ห่อหมกหัวปลี แกงเห็ด(ตามฤดูกาล)

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในหมู่บ้าน

– ศูนย์สาธิตผ้าภูอัคนี ชาวบ้านชุมชนเจริญสุขได้ลองใช้สิ่งของต่าง ๆที่หาได้ง่าย อย่างดินภูเขาไฟ ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการย้อมผ้า เริ่มจากการทำเองใช้เองในครัวเรือน และขยายกิจการเป็นธุรกิจหลักของชุมชน ในปัจจุบันได้จัดตั้งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้วัฒนธรรม และวิถีชุมชนแห่งหนึ่งที่สำคัญในจังหวัดบุรีรัมย์

-นั่งรถอีแต๊กเที่ยวป่าชุมชนเขาอังคารเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชุมชน  เป็นกิจกรรมนั่งรถอีแต๊กชมธรรมชาติพื้นที่ป่าไม้ในชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรชุมชน พร้อม ๆกับการเรียนรู้วัฒนธรรม และวิถีชุมชนบ้านเจริญสุข

-ทำผ้าย้อมดินภูเขาไฟ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน โดยเกิดจากดินธรรมดา ให้กลับกลายมาเป็นสีสันงดงามอย่างมีเอกลักษณ์ จนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถใช้เป็นของฝากหรือของที่ระลึกสำหรับคนที่บ้านหรือให้กับตนเอง การที่ชาวบ้านนำวัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น สามารถสร้างเป็นรายได้ กละกระจายรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน

ของฝาก/ของที่ระลึกที่ขึ้นชื่อในตำบล

-ผ้าแปรรูป เช่น ผ้าพันคอ ผ้าขาวม้า ผ้าปูโต๊ะ เสื้อภูอึคนี ข้าวอินทรีย์ ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ

ข้าพเจ้ามีความประทับใจกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล “มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” คณาจารย์และตำบลเจริญสุข ที่ได้เข้ามาทำงานในจุดนี้ซึ่งเป็นวิกฤตโรคระบาด covid นำมาสู่การเรียนรู้และได้ทำงานเป็นที่ภูมิใจในตำบลชุมชนบ้านเจริญสุข มีความประทับใจและเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆที่โครงการได้เข้ามาให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในทุก ๆเดือนอย่างเต็มความสามารถและยินดีที่จะก้าวไปกับตำบลเจริญสุข สิ่งสำคัญที่ประทับใจมากที่สุดคือ ตำบลเจริญสุขร่วมกับโครงการU2T ได้รับรางวัลมา 2 รางวัล 1 ใน 5 ระดับภาคและรางวัล 1 ใน 5 ระดับประเทศซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติและภาคภูมิใจเป็นอย่างมากของชาวตำบลเจริญสุข และที่ขาดไม่ได้คือการทำงานโครงการที่เราทำกันแบบครอบครัวแม่ลูกพี่น้อง ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าประทับใจมากค่ะ

 

วิดีโอการลงพื้นที่ทำกิจกรรม

 

 

อ้างอิง

https://cbtthailand.dasta.or.th/webapp/attraction/content/10/ชุมชนตำบลเจริญสุข

https://www.xn--22clp1gqb8c4azd.com/content/ผ้าภูอัคนี

https://travel.trueid.net/detail/MeJLGwlJzvN ประเพณีบุญบั้งไฟ

https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=951&filename=indexประเพณีสงกรานต์

 

 

 

อื่นๆ

เมนู