ข้าพเจ้า นายปริญญา ไทยสืบชาติ ( ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ) หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ตำบลบ้านสิงห์
ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 เป็นต้นไป ผู้รับผิดชอบโครงการและข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมรับฟังข้อมูลพื้นฐานการทำขนมของในแต่ละหมู่บ้าน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ การประชุมประเด็นหลักของกลุ่ม คือการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ในแต่ละหมู่บ้านสรุปประเด็นเบื้องต้นมีขนมพื้นถิ่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น
ขนมทองม้วน เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของตำบลบ้านสิงห์ แต่รู้กันเฉพาะถิ่นยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ขนมกล้วยฉาบ ในแต่ละหมู่บ้านส่วนใหญ่ปลูกกล้วยไว้เพื่อบริโภคอยู่แล้วจึงทำให้ขนมกล้วยฉาบมีเกือบทุกหมู่บ้านและขนมอื่น ๆ อีกมากมาย อีกทั้งประธานกลุ่มสัมมาชีพ ได้เสนอแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับการทำขนมที่มีลักษณะ การเก็บให้ได้ยาวนานขึ้น
ความรับผิดชอบ
ตัวข้าพเจ้านั้น ได้รับผิดชอบ หมู่บ้านหนองสองห้อง หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อได้ลงพื้นที่ ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ตัวข้าพเจ้าจึงประสานไปยังผู้นำชุม คือ นายประกิต ชำนาญเชื้อ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงได้สอบถามลักษะชุมชนและจำนวนครัวเรือนเบื้องต้น มีประมาณ 64 ครัวเรือน และจำนวนประชากรประมาณ 200 กว่าคน รวมผู้ออกไปทำงานต่างจังหวัดด้วย ต่อมาประสานไปยังผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประจำหมู่บ้าน อธิบายและทำความเข้าใจให้ทราบถึง โครงการยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมรายตำบลแบบบรูรณาการรายตำบล แนะนำตนเอง และขออนุญาตในการเก็บข้อมูล ซึ่งการเก็บข้อมูลในครั้งนี้เป็นการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นในประเด็น เช่น 1. แบบสอบถามระดับครัวเรือน และชุมชน จำนวน 25 ชุด 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 เมื่อได้รับการอนุญาตแล้วนั้น ข้าพเจ้าจึงเข้าเก็บรวบรวมข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไปของชุมชน โดยกระจายให้ทั่วพื้นที่ จากการเก็บข้อมูลสามารถสุปผลได้ดังนี้
สรุปผลการเก็บข้อมูล 1. แบบสอบถามระดับครัวเรือน และชุมชน
ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นคือ ประชาชนส่วนใหญ่ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้สูงอายุ ประมาณ 70 เปอร์เซ็น ของผู้ตอบแบบสอบถาม เพราะ ประชากรวัยทำงานไปทำงานนอกพื้นที่ และต่างจังหวัด
1. ด้านเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำการเกษตร โดยมีการทำนาเป็นหลัก รองลงมา รองลงมา คือ ปลูกมันสัมปะหลัง เพราะพื้นที่เป็นพื้นที่โคกพื้นที่ลุ่ม เป็นส่วนใหญ่ ในช่วงของการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการทำนาหรือทำสวน จะทำช่วง เดือนมิถุนายน – เดือนธันวาคม ส่วนการเลี้ยงสัตว์ พบว่า โค(วัว) แทบจะมีเกือบทุกหลังคาเรือน เพราะเป็นสัตว์เศรษฐกิงของชุมชนเลยก็ว่าได้
2.ภาวะด้านรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน ซึ่งรายได้มาจากอาชีพที่ทำเป็นหลัก แต่เมื่อเฉลี่ยรายได้ในชุมชนผลปรากฎว่า รายได้ในแต่ละครัวเรือน ต่ำกว่า 5,000 ต่อเดือน ในส่วนของที่ทำกิน ส่วนใหญ่มีมากกว่า 3 ไร่ รถจักยานยนต์ มีทุกครัวเรือน ในเรื่องค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารมาเพื่อบริโภค ภาระหนี้สิน มีทุกครัวเรือน
3. ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน ในความโดดเด่นของตำบลหรือเป็นที่รู้จักกันคือ สำนักสงฆ์ภูม่านฟ้า แหล่งทรัพยากรที่สำคัญในชุมชน มี ป่าไม้ชุมชน วัด และอ่างเก็บน้ำชุมชน ปัญหาที่พบในชุมชน คือ ไฟฟ้าส่องสว่างตามถนน ปัญหาความยากจน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่สำคัญปัญหาไม่มีน้ำทำการเกษตรที่เพียงพอ จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้รายได้ลดลง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ มีการประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและร่วมกันพัฒนาชุมชน
4. ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน คือ ป่าไม้ชุมชน วัด อ่างเก็บน้ำชุมชน ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน
5. ความต้องการของชุมชน คือ พัฒนากลุ่มอาชีพที่มีอยู่ให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้ได้มากขึ้น ปลูกผักสวนครัว และไฟฟ้าส่องสว่าง เมื่อพัฒนาสิ่งเหล่านี้แล้ว เศรษฐกิจในชุมชนก็จะดีขึ้นและคนในชุมชนก็จะมีรายได้
สรุปผลการเก็บข้อมูล 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19
ส่วนที่ 1. ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นการกระจายกลุ่มเป็นทุกช่วงวัย อายุตั้งแต่น้อยกว่า 7 ขวบ ไปจนถึงมากกว่า 60 ปี คละกัน เป็นคนในชุมชนมาแต่เดิม เสี่ยงต่อโรคติดต่อมีบ้างแต่น้อยมาก เมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่รุนแรง จะไปรับบริการที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นส่วนใหญ่
ส่วนที่ 2. ความเสี่ยงจากพฤติกรรม เนื่องจากชุมชนบ้านหนองสองห้องเป็นชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและเป็นสังคมพี่น้อง ในลักษณะการไปนอกสถานที่จึงมีการเตือนกันอยู่เสมอ ในการสวมหน้ากาก และเป็นชุมชนที่มีบ้านที่มีระยะห่างต่อครัวเรือนมาแต่เดิม จึงทำให้ความเสี่ยงมีไม่มากนัก และทราบถึงปํญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันป็นอย่างดีจึงมีการดูแลตัวเองอยุ่ตลอดเวลา
ส่วนที่ 3 ความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่ทราบถึงปัญหานี้ดีอยู่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีมานานพอสมควร และเทคโนโลยีทุกวันนี้มีความรวดเร็วเป็นอย่างมากจึงทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และทราบจากการดูโทรทัศด้วยจึงรู้วิธีการดูแลตนเอง ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ
ส่วนที่ 4 ความรู้สึกในสถานการณ์ต่าง ๆ ของการแพร่ระบาด ส่วนใหญ่หงุดหงิดเพราะการออกไปใหนมาใหนลำบาก การใช้ชีวิตที่ต้องกังวลเมื่อออกนอกชุมชน และกังวลต่อผู้คนต่างพื้นที่เข้าไปในชุมชน
ส่วนที่ 5 ผลกระทบ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ผลกระทบจากโควิด-19 และมาตราการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากภาครัฐ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของชุมชนบ้านหนองสองห้องเป็นอย่างมาก สินค้าที่จำเป็นในครัวเรือนราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานหลักจากการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ จากภาครัฐ ตกงานกันแทบทุกอาชีพ แต่เนื่องจากมาตราการของภาครัฐที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดก็ช่วยลดรายจ่ายของครัวเรือนลงบ้าง
ในการอธิบายภาพรวมของ บ้านหนองสองห้อง หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านำหลักการวิเคราะห์ SWOT มาวิเคราะห์ชุมชนได้ดังนี้ https://thaiwinner.com/swot/
- จุดแข็ง คือ ทำอาการเกษตรส่วนใหญ่ คือ การทำนา และทำสวนปลูกมันสัมปะหลัง เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้ในแต่ละครอบครัวอย่างอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ชัด ทักษะการใช้ชีวิตที่ปรับต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เป็นชุมชนพี่น้อง ความเข็มแข็งของชุมชน ที่ช่วยเหลือกัน
- จุดอ่อน คือ ห่างไกลในพื้นที่เศรษฐกิจ จึงทำให้การจ้างงานเกิดขึ้นน้อย และส่งผลต่อรายได้ การผลิตภัณฑ์ขนมต่าง ๆ ก็จะขายได้ในเฉพาะชุมชนหรือพื้นที่ไกล้เคียง การเดินทางค่อยข้างลำบาก
- โอกาส คือ ในชุมชนบ้านหนองสองห้องมีกลุ่มสัมมาชีพ ที่เป็นการรวมกลุ่มจากคนในชุมชน ที่ทำขนนดอกจอกและพริกแกง เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ควรพัฒนากลุ่มสัมมาชีพนี้ ให้เป็นที่รู้จักและส่งออกสู่ตลาดก็จะทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
- อุปสรรค คือ ในรูปแบบชุมชนค่อนข้างห่างไกลพื้นที่เศรษฐกิจ และการหาตลาดเพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายจึงเป็นการยากประกอบกับโรคระบาดด้วย
แนวทางการแก้ไขปัญหา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าพัฒนาพื้นที่ และอบรมการพัฒนาการสร้างอาชีพ เศรษฐกิจพอเพียง แนะนำช่องทางการสร้างรายได้ทางการขายบนโลกโซเชียล หรือหาตลาดรองรับการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ในชุมชน เพื่อนำไปจำหน่าย
ทั้งนี้ ขอขอบคุณ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และภาคประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี ได้มาซึ่งข้อมูลตรงตามประเด็นที่ต้องการ และสอดคล้องตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคนรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย