ดิฉัน นางสาวอรวรรณ คิดรัมย์ ประเภท : นักศึกษา
หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประจำเดือนกันยายน 2564 เพิ่มเติมจากเดือนสิงหาคม 2564
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งยังคงมีความรุนแรงอย่างหนักในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้มีประชาชนติดเชื้อจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลประสบปัญหาไม่สามารถรองรับและจัดหาเตียงสำหรับผู้ป่วยที่รอรับการรักษาจำนวนมากได้ จึงมีการตั้งศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด-19 ในชุมชนสำหรับผู้ติดเชื่อที่มีอาการไม่รุนเเรงมาก และศูนย์กักกันตัวสำหรับประชาชนที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะยุติเมื่อใด ทำให้มีบางตำบลที่ต้องปิดหมู่บ้านเพื่อกักกันตัว จึงเป็นที่มาของคำว่า “คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า” สิ่งที่สำคัญที่สามารถป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ นั่นคือ การหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อน – หลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกครั้ง นอกจากจะทำให้ตัวเองปลอดภัยแล้ว ยังทำให้ผู้อื่นปลอดภัยจากเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน
1. วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 16.00 – 17.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ลงพื้นที่เพื่อวางแผนการจัดสถานที่ และจัดเตรียมหาวัสดุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการอบรมพัฒนาสูตรกล้วยฉาบ และขนมบ้าบิ่น ก่อนการจัดกิจกรรมจริงในวันต่อไป
2.วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 08.00 – 12.00 น. จัดกิจกรรมการแปรรูปเพื่อความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ณ บ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และ ห้องปฏิบัติการ สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป อาคาร 22 วิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดยการแบ่งผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มบัณฑิต กลุ่มประชาชน ปฏิบัติงานที่บ้านหนองขามร่วมกับผู้ทำขนม และกลุ่มนักศึกษาปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการร่วมกับทีมวิทยากร โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูปมาบรรยายและให้ความรู้แก่ผู้ทำขนม โดยการประชุมผ่าน google meet เพื่อลดการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 กล้ายฉาบแม่อารมณ์ กล้วยฉาบของแม่อารมณ์มีหลากหลายสูตร จึงต้องการเพียงบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย และการรักษากล้วยฉาบไม่ให้เหม็นหืน โดยวิทยากรได้แนะนำบรรจุภัณฑ์ 2 ชนิด คือ 1. ถุงซิปล็อคหน้าใสหลังฟอยล์แบบตั้งได้ 2. ถุงคราฟท์ซิปล็อคหน้าต่างใสตั้งได้ และการบรรจุสารกันชื้นลงไปในถุงก่อนบรรจุกล้วยฉาบลงถุง เพื่อเป็นการรักษากล้วยฉาบให้มีอายุนานขึ้นและเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยฉาบ เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าและราคาที่จะขาย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูปคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คอยให้ความรู้ผ่านทางออนไลน์ และเมื่อได้ลองเปลี่ยนแบบบรรจุภัณฑ์ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือมีความสวยงามและหน้ารับประทานมากขึ้น ด้วยรูปแบบบรรจุภัณฑ์ถึงแม้จะลดปริมาณขนมลงแต่ยังคงเหมือนขนมมีปริมาณเยอะอยู่ในส่วนนี้สามารถเพิ่มกำไรให้มากขึ้นได้
ส่วนที่ 2 ขนมบ้าบิ่นแม่มาลี ขนมบ้าบิ่นของแม่มาลีมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์มีความหอมและหวาน สดใหม่ทุกวันไม่สามารถเก็บไว้ข้ามวันได้ แม่มาลีจึงต้องการยืดอายุขนมบ้าบิ่นและไม่ให้เหม็นหืนจากน้ำมันที่ทอด โดยวิทยากรได้แนะนำให้ลดน้ำมันในกระบวนการทอดให้น้อยลงหรือไม่ใช้น้ำมันในการทอด จากการทดลองทอดทั้งสองแบบมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ การทอดแบบดั้งเดิมขนมบ้าบิ่นมีรสชาติและผิวสัมผัสที่นุ่ม หวาน มัน และการทอดแบบไร้น้ำมันขนมบ้าบิ่นมีความกรอบด้านนอก ด้านในขนมมีความนุ่ม หวาน มัน แต่ไม่แห้งเกรียมจนเกินไป เพราะมีความมันวาวจากน้ำมันมะพร้าวในส่วนประกอบของขนมบ้าบิ่น ทำผลิตภัณฑ์คือขนมบ้าบิ่นต้องการลองปรับวิธีในการทำเพื่อกลุ่มลูกค้าที่รักสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จึงได้ให้ความรู้และสาธิตวิธีในการทำบ้าบิ่นเพื่อที่จะใช้น้ำมันในการทำน้อยที่สุดผ่านทางออนไลน์
อาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีการเตรียมวัตถุดิบ และ อุปกรณ์ในการทำ
ได้แก่
1. มะพร้าวทึนทึกขูด
2. แป้งข้าวเหนียว
3. น้ำตาลทราย
4. เกลือ
5. กะทิ
6. เตา
7. กระทะสำหรับทอดบ้าบิ่น
8. ช้อนตวงต่าง ๆ
ขั้นตอนการทำ
โดยให้แม่มาลีและผู้ปฏิบัติงานได้ลองทำไปพร้อม ๆ กันกับผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารทีละขั้นตอนดังนี้
1. เทแป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย เกลือ และกะทิ ลงในชามผสมแล้วคนผสมให้เข้ากันตามอัตราส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารบอก
2. ใส่มะพร้าวขูดลงไป นวดผสมให้เข้ากันดี
3. ตั้งกระทะให้ร้อนเทน้ำมันเล็กน้อย
4. ตักส่วนผสมลงกระทะ จี่ให้สุกสีเหลืองทองทั้งสองด้าน
จากการพัฒนาสูตรขนมบ้าบิ่นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ ปริมาณน้ำมันที่ลดลงทำให้สามารถทานได้มากขึ้น ความหนึบของตัวแป้งของขนมบ้าบิ่นทำให้เคี้ยวเพลิน และเนื่องการใช้กระทะเทฟล่อนทำให้ลดการใช้น้ำมันลง ประหยัดทรัพยากรและก็ดีต่อสุขภาพ ตามผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จนมีผลการทำขนมที่มีความต้องการดังข้างต้นที่กล่าวมา และถือว่าประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ปัญหาที่พบ จากการอบรมพร้อมกันทั้งสองแห่งคือ ความเสถียรของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สัญญาณขาดหายบางช่วงทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีการขาดหายเป็นการสื่อสารที่ไม่ต่อเนื่อง
3. จากการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มการปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดของการปฏิบัติงาน ดังนี้
3.1 กิจกรรมการปฏิบัติหน้าที่
1. เดือนกุมภาพันธ์
- ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลระดับครัวเรือนเกี่ยวกับภาวะด้านเศรษฐกิจ ด้านรายได้ของครัวเรือนและภาวะในด้านต่างๆของคนในชุมชน หมู่ 5 บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
2. เดือนมีนาคม
- การลงพื้นที่เก็บข้อมูล หมู่ 5 บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวน 144 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 515 คน ซึ่งได้สำรวจข้อมูลดังนี้
– แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลพื้นฐานระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน จำนวน 20 ชุด
– แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 จำนวน 100 ชุด
– แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) จำนวน 20 ชุด
3. เดือนเมษายน
- พิธีลงเสาเอก – เสาโท ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ประชุมผ่าน Google meet การวางแผนการทำงานในเดือนเมษายนต่อไป
- การจัดอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐาน (เวทีการประชุม ประจำเดือนเมษายน)
4. เดือนพฤษภาคม
- การประชุมผ่านทางออนไลน์ (Google meet) และฟังคำชี้แจงการดำเนินงานการทำแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ในระบบ https://cbd.u2t.ac.th
- การเข้าร่วมรับชมและฟังการปาฐกถาพิเศษออนไลน์งานทอดผ้าป่า – ปาฐกถาชุมชน “ยักษ์ จับ โจน” ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- การลงพื้นที่เก็บข้อมูลองค์ความรู้หลายแขนงสร้างรากแก้วให้ประเทศ หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
5. เดือนมิถุนายน
- ประชุมเตรียมความพร้อมการอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ่านทาง Google meet
- ประชุมการปรับแผนการทำงาน และกำหนดแนวทางภารกิจพิเศษ “U2T Covid week” ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด
- การถ่ายทำวิดิโอ Covid week ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- การเสวนาลั่นทุ่งสนั่นทั่วสามหนอง และปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน ภายใต้โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา
- กิจกรรมอบรมการรณรงค์การฉีดวัคซีน และการแจกสเปรย์แอลกอฮอล์
- กิจกรรมลงพื้นที่ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลชุมชน บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
6. เดือนกรกฎาคม
- ถ่ายทำวิดีโอการแข่งขันโครงการ U2t Hackathon 2021
- การลงพื้นที่สำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVD 19) ที่พักอาศัย ณ บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
7. เดือนสิงหาคม
- การประชุมออนไลน์แนะนำวิธีการเขียนรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือน
- บริจาคสิ่งของให้กับศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังโควิด – 19 ณ บ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ประชุมชี้แจงการจัดเก็บข้อมูลประจำเดือนสิงหาคมลงในระบบ U2T Tracker ผ่านระบบ Google Meet
- การลงพื้นที่สำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ที่พักอาศัย ณ บ้านหนองตาชี ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
8. เดือนกันยายน
- กิจกรรมอบรมการแปรรูปเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์
สรุป การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์มีการเริ่มจากการจัดเวทีเพื่อรวบรวมข้อมูล การลงพื้นที่เพื่อสำรวจครัวเรือนจาก การสำรวจพื้นที่ อาชีพของชาวบ้านหนองตาชีส่วนใหญ่จะเป็นการประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำไร่ มันสำปะ หลัง ทำสวนเพื่อไว้ใช้อุปโภคบริโภค และจำหน่าย นอกเหนือจากการทำนา ทำไร่ ในช่วงฤดูกาลแล้ว จะมีการทำงานรับจ้างทั่วไป ทรัพยากรในชุมชน คือ สระน้ำหมู่บ้านและป่าไม้ในชุมชนในช่วงฤดูฝนก็มีการเก็บเห็ด เพื่อนำมาบริโภคและจำหน่ายรายได้หลักของผลผลิตนั้นมาจากการทำนาเป็นส่วนใหญ่และปัญหาที่พบส่วนมากของคนในชุมชน คือภาวะการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภคไม่มีระบบการจัดเก็บน้ำให้เพียงพอในช่วงหน้าแล้ง เส้นทางถนนชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อจึงเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งคนในชุมชนเป็นหนี้ธนาคารมากกว่าการมีเงินออมการว่างงานจากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า -19 เนื่องจากมีการเลิกจ้างงานมีงานมาให้ทำน้อยลง การอบรมเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ รวบรวมข้อมูลการจัดเวทีอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละ วิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเก็บข้อมูลที่ได้รับผิดชอบ การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลลงใน Application U2T ลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหาในการทำขนม พบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมไทยนี้มีการวางจำหน่ายอยู่ในขอบเขตของชุมชนตนเองและชุมชนใกล้เคียง โลโก้ของผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน
3.2 กระบวนการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติมีหลักการทำงาน
มีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาและพูดคุยกับคนในชุมชนเพื่อรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และได้มีการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน และยังมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน เช่น รพ.สต.บ้านสิงห์ และอบต.บ้านสิงห์ ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน เช่น เส้นทาง สถานที่ และสำรวจความต้องการของชุมชนและคนในชุมชน การประสานงานเป็นหัวใจหลักสำคัญของการทำงานร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องมีทักษะในด้านการพูด การวิเคราะห์สถานการณ์ สำรวจปัญหาทั้งจากการสอบถามและการสังเกตุการณ์ จากนั้นก็ศึกษาปัญหาว่าเหตุใดจึงเกิดปัญหานี้ มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร และเนื่องด้วยการวิเคราะห์และแก้ปัญหาไม่สามารถทำได้ด้วยการลงสำรวจเพียงครั้ง จึงมีต้องการลงพื้นที่เพื่อสำรวจอีกหลายๆ ครั้ง และก็มีการสร้างประโยชน์และความก้าวหน้า หรือการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อการที่เข้าไปแก้ปัญหานั้น
3.3 ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
เนื่องด้วยผู้ปฏิบัติทุกคนที่เข้าร่วมในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) จะต้องผ่านการอบรมทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านสังคม ทักษะด้านดิจิทัล และทักษะด้านบัญชีหรือการเงิน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานคือผู้ที่จะเข้าไปพัฒนาชุมชนนั้น ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความสามารถในการจะเข้าไปพัฒนาโดยอบรมทักษะด้านต่าง ๆ และนอกเหนือจากทักษะที่มาจากการอบรมแล้วผู้ปฏิบัติงานเองก็ยังได้ความรู้จากทักษะที่ได้มาจากการเข้าไปพัฒนาชุมชน เช่น ทักษะเรื่องสูตรขนม หรือทักษะด้านการพูดคุยประสานงานกับชุมชน ทักษะการทำงานร่วมกับชุมชน การได้ความรู้ในเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโคโรน่า – 19 เป็นต้น
3.4 ปัญหา/อุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงาน
สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักทำให้มีประชาชนติดเชื้อจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลประสบปัญหาไม่สามารถรองรับและจัดหาเตียงสำหรับผู้ป่วยโคโรนา 19 ที่รองรับการรักษาจำนวนมากได้ และการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ในการลงพื้นที่สำรวจในช่วงแรกก็ประสบกับปัญหากับการให้ข้อมูลของชาวบ้านในชุมชนและชาวบ้านปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล และด้วยถนนหนทางเข้าไปในหมู่บ้าน เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความยากและใช้เวลานานกว่าจะเข้าถึงในตัวหมู่บ้านหนองตาชี
3.5 วิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปได้ด้วยดี
ก่อนการลงพื้นที่สำรวจให้นัดหมายวันเวลาที่จะลงพื้นที่ด้วยการแจ้งล่วงหน้ากับผู้นำชุมชน เพื่อเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ชาวบ้านในชุมชน และในด้านปัญหาจากสถานแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสามารถแก้ปัญหาได้โดยที่ว่าปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมีความทันสมัย สามารถนำสื่อสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้โดยการจัดกิจกรรม การอบรม การให้ความรู้ โดยผ่านสื่อสารสนเทศนี้ แต่สื่อสารสนเทศก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของระบบเครือข่ายการเชื่อมต่อ การใช้ทักษะกระบวนการทำงาน โดยมีการวิเคราะห์งาน การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายของงาน การลงมือทำงาน เป็นการลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้ ด้วยความมุ่งมั่นอดทนและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ การประเมินผลการในการแก้ปัญหาและอุปสรรคให้ลุล่วง
3.6 สำหรับการเพิ่มกิจกรรมเพื่อทำให้การปฏิบัติงานในชุมชนเกิดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง
ควรมีการพัฒนาในส่วนของการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บเพจของ Facebook และสื่อSocial Media อื่น ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน การสร้างเว็บไซต์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และข้อมูลในชุมชน และเพื่อเป็นช่องทางเว็บไซต์หลักของการสั่งซื้อสินค้าในรูปแบบออนไลน์ การประชาสัมพันธ์ในด้านต่อไปคือ การสร้างแผนที่ GPS ไปยังแหล่งจำหน่าย หรือศูนย์จำหน่ายสินค้าได้
4. การเก็บข้อมูลที่ได้รับผิดชอบ
การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลลงใน U2T Tracker ซึ่งมีรายละเอียดการมอบหมายงานประจำเดือนกันยายน ดังนี้
1. การเก็บข้อมูลกลุ่มที่พักอาศัย
1.1.1 กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน
1.2.1 กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน
1.3.1 กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน
2. การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
3. การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล
การเก็บข้อมูลกลุ่มนักศึกษา มีจำนวน 5 คน โดยแบ่งกันสำรวจดังนี้
- บ้านหนองขาม จำนวน 2 คน และ
- บ้านหนองตาชี จำนวน 3 คน ตามที่ได้ลงพื้นที่สำรวจบ้านหนองตาชี มีรายละเอียดการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้
แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย
- มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
- เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
- ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่
- ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่
-
- มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่
- มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่
- มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่
- ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่
- เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่
สรุปการปฏิบัติงานเดือนกันยายน
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการรับมือ และป้องกันตนเองกับสถานการณ์ฯ ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น จึงทำให้การประชุมวางแผนการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบเครือข่ายออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ แต่ละพื้นที่ยังมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ มีเจ้าหน้าที่ อสม. คอยตรวจวัดอุณหภูมิคัดกรองบุคคลเข้า – ออกภายในชุมชน ซึ่งทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด จึงส่งผลให้การลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล และการจัดอบรมตามโครงการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยาก แต่ทางผู้ปฏิบัติงานทุกคนในตำบลบ้านสิงห์ ได้ช่วยการแสดงความคิดเห็นในการวางแผนการรับมือ และป้องกันตนเองกับสถานการณ์ฯ ได้เป็นอย่างดี