การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมากและข้าวแต๋น ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ประจำเดือนตุลาคม
ข้าพเจ้า นายพิษณุ อุทธาพงษ์ ประเภท ประชาชน ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับการคัดเลือกลงปฏิบัติงานตำบลทะเมนชัย หลักสูตร SH08 พัฒนากิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป ข้าวหมาก และ ข้าวแต๋น ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจาเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้เข้าประชุมผู้ปฏิบัติงานใหม่ ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เวลา 10:30 น อาคาร 6 ชั้น 1 ห้องส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย สาขา รปศ ซึ่งมีการชี้แจงในเรื่องต่างๆเช่น การลงเวลาเข้างาน ออกงาน การทาเอกสารที่ได้รับมอบหมาย การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เรื่องบทความในแต่ละเดือน การทำกิจกรรมประจำเดือนในชุมชน ในตำบลทะเมนชัยก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่ 2 ชนิด คือ ข้าวหมาก และ ข้าวแต๋น มีการวางแผนที่จะขายในตลาดไหม ตลาดออนไลน์ และในสื่อต่างๆที่สามารถประชาสัมพันธ์ขายได้
วันที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ได้มีการนัดหมายทีมผู้ปฏิบัติงานที่สถานีรถไฟทะเมนชัยได้ทำกิจกรรมแนะนำตัวเองกับผู้ปฏิบัติงานใหม่หลังจากนั้นรวมกลุ่มกันเพื่อที่จะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกข้อมูลตามแบบสอบถาม SROI ซึ่งข้าพเจ้าได้รับมอบหมายในหัวข้อหน่วยงานเอกชนในตำบลทะเมนชัย( ร้านขายวัสดุก่อสร้าง ) โดยมีทีมผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 5 คน ได้แก่
1.นายพิษณุ อุทธาพงษ์
2.นายธนาธิป เสาวพันธุ์
3.นายอภิสิทธิ์ ชะร่างรัมย์
4.นางสาวพัชรี แก้วเจ๊ก
5.นางสาวรัชฎาภรณ์ ทุมประสิทธิ์
ซึ่งมีเจ้าของร้านข้าพเจ้าทีมผู้ปฏิบัติงานได้สอบถามข้อมูลกับเจ้าของร้านทุกหัวข้อเจ้าของร้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างในการสอบถามข้อมูลทุกข้อในการปฏบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน
รูปภาพประกอบ
หลังจากนั้นได้เดินทางไปลงพื้นที่ติดตามผลิตภัณฑ์ข้าวหมากของชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่ 5 ตำบลทะเมนชัย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากถือว่าเป็นการยอมรับของผู้คนในชุมชนเป็นอย่างมากเพราะมีความหวาน หอม รับประทานง่ายเปรียบเสมือนเป็นยาบำรุงเลือดทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากมีแนวทางที่จะขยายการขายออกตลาดให้กว้างใหญ่ขึ้นโดยใช้ช่องทางการขายผ่านทางตลาดออนไลน์ เช่น Facebook และ Line เป็นสื่อโฆษณาทางตลาดออนไลน์ที่ดีสามารถเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ผู้คนรู้จากมากขึ้นโดยการสื่อผ่านออนไลน์ การแชร์ชักชวนคนมาซื้อสินค้าและสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ในอนาคตต่อไป
วิธีการทำข้าวหมาก
ส่วนประกอบและอัตราส่วน
-ข้าวเหนียวหอมมะลิ 1 กก.
-แป้งข้าวหมาก 2-3 ลูก
วิธีทำ
1.นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วมาล้างน้ำฝน ประมาณ 3 ครั้ง ใช้มือถูเบาๆ จนข้าวหมดเมือกหรือให้น้ำใส แล้วใส่ตะแกรงผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
2.นำลูกแป้งข้าวหมากมาบดให้ละเอียด โรยแป้งข้าวหมากบนข้าวเหนียว ใช้ไม้พายคลุกเคล้าข้าวเหนียวให้ทั่ว
3.บรรจุข้าวเหนียวที่ได้ใส่ภาชนะ ปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ 2-3 วัน ก็จะสามารถรับประทานได้
เคล็ดลับวิธีทำ ข้าวหมากหวาน
– ข้าวเหนียวใหม่ คือข้าวเหนียวซึ่งเพิ่งเก็บเกี่ยวในหนึ่งปี เมื่อนำไปนึ่งข้าวจะนิ่มแฉะกว่าข้าวเหนียวเก่า
– การเตรียมนึ่งข้าว ต้องให้น้ำไหลออกจากหวดจนสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะนำไปนึ่ง
– ห้ามล้างข้าวขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ ควรรอให้ข้าวคลายความร้อนก่อนล้าง หากล้างข้าวเหนียวเละ และแฉะ จะมีน้ำอยู่ในข้าวมาก ทำให้ข้าวหมากที่มีรสเปรี้ยวได้
– น้ำต้อยข้าวหมากออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้า เมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากแล้ว ค่อนข้างมีเมล็ดติดกัน น้ำต้อยจะออกมามาก แต่ถ้าเมล็ดข้าวที่คลุกเคล้าลูกแป้งข้าวหมากค่อนข้างแห้งเมล็ดไม่ติดกันน้ำต้อยจะออกมาพอดี
– ลูกแป้งข้าวหมากต้องไม่เก่าเกินไป เพราะเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในลูกแป้งอาจตายหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ข้าวหมากไม่หวาน- เก็บข้าวหมากที่อยู่ระหว่างการหมักไว้ในพื้นที่ที่สะอาด
ซึ่งนอกจากนี้ในการใช้บรรจุภัณฑ์ซึ่งตอนที่ยังไม่ขายแบบออนไลน์ก็ใช้ใบตองสดสีเขียวห่อก็จะได้อรรถรสอีกแบบหนึ่งวิถีแบบบ้านๆแต่อาจจะมีน้ำข้าวหมากซึมออกมาได้มันจะลำบากในการขนส่ง แต่สามารถเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แบบที่ทันสมัยเป็นกระปุกมีฝาปิดเปิดที่มิดชิดมีวันเวลาที่หมดอายุบอกด้วย
วันเดือนปีที่ผลิตวิธีการทานคำแนะนำในการจัดเก็บข้าวหมาก เป็นการเพิ่มผลผลิตเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย
รูปภาพประกอบ
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564 กิจกรรมผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป หรือ ข้าวแต๋น ที่ ศาลากลางบ้าน บ้านน้อยพัฒนา ม.16 ได้มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูป ข้าวแต๋น มีมาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิด 19 โดยมีการวัดอุณหภูมิและเจลล้างมือก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมลงทะเบียนเพื่อแสดงรายชื่อการเข้าร่วม มีชาวบ้านผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมการทำข้าวแต๋นจำนวน 54 คน ในการทำข้าวแต๋นครั้งนี้ พบปัญหาในการทำข้าวแต๋นคือในฤดูกาลนี้เป็นฤดูฝนอากาศเย็นชื้นไม่เหมาะกับการทำข้าวแต๋นเพราะข้าวแต๋นต้องเอาไปนึ่งและตากให้แห้งเพื่อที่จะนำมาทอด แต่ในฤดูกาลนี้ทำให้ข้าวแต๋นไม่แห้ทอดไม่ฟูและในการตากข้าวแต๋นเวลาพริกข้าวแต๋นทำให้ติดกระด้งทำให้แผ่นข้าวแต๋นแตก ไม่ควรตากในกระด้งเลย ควรหาที่รองหรือพลาสติกถุงยางรองก่อนตาก เพื่อที่จะลดการแตกของข้าวแต๋นในการทอดและเป็นที่สวยงามในการทอดและลงออกขายในท้องตลาด แนะนำในการทำข้าวแต๋นควรใช่น้ำชาเขียวใส่แทนน้ำแตงโม เพราะน้ำแตงโมผู้คนรู้เยอะแล้วควรเปลี่ยนเป็นแนวที่แปลกใหม่บ้างเพื่อการตลาดและสีที่สวยงามน่ารับประทาน ควรใช่บรรจุภัณฑ์ที่เป็นถุงพลาสติกที่สามารถซีลปากถุงได้ เพื่อรักษาความกรอบและรสชาติของข้าวแต๋น ถุงมีซิบ หรือถุงที่มิดชิด เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในถุง ถ้าอากาศเข้าไปในถุงจะทำให้ข้าวแต๋นหยาบได้ ในการทำข้าวแต๋นส่งออกตลาดออนไลน์ ต้องใช่ความระมัดระวังในการส่งเพราะข้าวแต๋นข่อนข้างที่จะแตกง่ายต้องระมัดระวังอย่างมากมีวิธีการทำดังต่อไปนี้
สูตรและขั้นตอนวิธีการทำข้าวแต๋น
1.ข้าวแต๋นชาเขียว
ส่วนผสม
1.ข้าวเหนียว 1/2 กก.
2.เกลือป่น 1 ชช.
3.น้ำชาเขียว(ชาตรามือ) 1 ถ้วยตวง(สำหรับทำสีของข้าว)
4.น้ำชาเขียว(ชาตรามือ) 3 ช้อนโต๊ะ(สำหรับเคี่ยวน้ำตาล)
5.งาดำหรืองาขาว 2 ช้อนโต้ะ
6.น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย(มิตรผล) 500 กรัม
7.น้ำตาลทรายแดง 2-3 ช้อนโต๊ะ
8.น้ำกะทิกล่อง 1 ช้อนโต้ะ
วิธีการทำ
1.นำข้าวเหนียวล้างเอาสิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด และแช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน(หม่าข้าว)
2.นึ่งข้าวเหนียวและพักไว้ให้คลายความร้อน (ถ้าข้าวแข็งๆนิดนึงจะดีมากเพราะจะทำให้ใส่พิมพ์และปั้นง่าย)
3.เมื่อข้าวคลายร้อนแล้ว ให้ใส่น้ำชาเขียวที่ผ่านการกรองเหลือแต่น้ำแล้ว 1 ถ้วยตวงหรือให้เช็กดูว่าข้าวที่ใส่ชาเขียวแล้วเหนียวได้ที่กำลังดี
4.ใส่เกลือป่นและงาดำหรืองาขาวก็ได้
5.ใช้มือคลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันเบาๆพยายามให้ข้าวกระจายเป็นเม็ดและให้สังเกตสีของข้าวว่ามีสีชาเขียวทั่วทุกเม็ด ห้ามบี้หรือบีบข้าวเพราะจะทำให้เกาะกันเป็นไตได้
6. เสร็จแล้ว พักไว้ 5 นาที
7. ข้าวที่พักไว้แล้ว ปั้นใส่พิมพ์ พยายามอย่าให้ข้าวอัดกันแน่นเกินไปเพราะเวลานำมาทอดข้าวจะไม่ฟู
8. นำไปตากแดดจัด 1 วัน (ครึ่งวันๆอย่าลืมพลิกกลับด้านข้าวด้วยนะคะ)
วิธีทอดข้าวแต๋น
-ตั้งไฟรอน้ำมันเดือดจัด แล้วนำข้าวที่ตากแล้ว ลงทอด ตอนทอดพยายามอย่าใช้ไฟแรงจนเกินไป และให้หมั่นพลิกกลับด้านข้าวบ่อยๆ จนเหลืองสวย แล้วนำพักบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน
วิธีทำน้ำตาลราดข้าวแต๋น
-นำน้ำกะทิ+น้ำชาเขียว+น้ำตาลมะพร้าว/น้ำตาลอ้อย+น้ำตาลทรายแดง(น้ำตาลทรายแดงจะช่วยให้น้ำตาลตกทรายง่ายขึ้นสามารถเช็กความหนึดของน้ำตาลเวลาเคี่ยวแล้วเพิ่มปริมาณได้) และเกลือ1หยิบมือ ใส่ลงไป แล้วเปิดไฟ ใช้ไฟอ่อนอย่าใช้ไฟแรง เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน **ทั้งเคี่ยวและคน**ระวังน้ำตาลไหม้นะคะ เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มตกทรายเกาะขอบหม้อ แล้วให้ปิดไฟ และเคี่ยวต่อแบบไม่มีไฟ
-พักน้ำตาลให้คลายร้อนซักพัก แล้วค่อยนำมาราดบนหน้าข้าวแต๋น
2.ข้าวแต๋นมันม่วง
-มีส่วนผสมและขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกันกับชาเขียว โดยมีปริมาณในการใช้ส่วนผสมเหมือนกัน แต่ให้เปลี่ยนจากชาเขียวเป็นมันม่วง ซึ่งน้ำสีของมันม่วงได้จากการเอามันม่วงมาปั้นกรองเอาแต่น้ำ
เคล็ดลับ : เวลาเคี่ยวน้ำตาลชาเขียว/มันม่วงให้สังเกตกลิ่นและสีของน้ำราด ถ้ายังหอมออกกลิ่นของชาเขียวไม่พอสามารถเติมน้ำชาเขียวเพิ่มได้..แต่ห้ามเติมตอนเคี่ยวร้อนๆเด็ดขาด ให้เติมตอนที่น้ำตาลคลายร้อนแล้วเท่านั้น เพราะถ้าเติมตอนร้อนๆน้ำตาลจะไหม้ได้(สูตรและเทคนิควิธีการทำสามารถปรับได้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล)
รูปภาพประกอบ