ข้าพเจ้านางสาววิสารัตน์ ทองดำ ประเภทนักศึกษา ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

การทำงานในเดือนตุลาคม มีกิจกรรมดังต่อไปนี้

วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564  

          อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google meet เวลา 10:00 น.เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ในเดือนตุลาคม พร้อมกับพบปะแนะนำงานให้แก่สมาชิกผู้มาร่วมดำเนินงานใหม่ และแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบพื้นที่ให้แก่สมาชิกใหม่เพื่อทำการสำรวจและเก็บข้อมูล

       

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

          อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ Google meet เวลา 10:00 น.เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงาน และแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบเก็บข้อมูลในแบบสอบถาม U2T-SROI และชี้แจงกิจกรรมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การลงพื้นที่ในชุมชน บ้านโคกพวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยวางแผนการดำเนินงานในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

         

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564

          อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดกลุ่มงานนักศึกษา เตรียมอุปกรณ์ในการทำเนินงานกิจกกรม ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เวลา 13.00 น. โดยสถานที่นัดหมาย ห้อง717 อาคาร7 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

         

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564

          อาจารย์ประจำหลักสูตรชี้แจงการดำเนินงานในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยแบ่งงานดังนี้ กลุ่มงานนักศึกษาเตรียมอุปกรณ์ในการดำเนินงาน เวลา 09.00 น.สถานที่ห้องสโมสรคณะมนุษยศาสตร์ กลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่จัดเตรียมสถานที่ในการดำเนินงานเวลา 13.00 น.ที่ศาลากลางหมู่บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ และให้ผู้ปฏิบัติงานเรียนเชิญตัวแทนหมู่บ้าน กำหนดหมู่บ้านละ 2 คน เข้าร่วมอบรมกิจกรรม ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ในเวลา 09.00 น. สถานที่ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

           

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อาจารย์ประจำหลักสูตรนัดหมายการลงพื้นที่ทำกิจกรรม ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร สถานที่ดำเนินกิจกรรม ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจะมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ 1. สเปรย์กันยุงสมุนไพร       2. น้ำมันเหลือง 3. ยาหม่องไพร โดยมีการดำเนินการดังนี้

1.สเปรย์กันยุงสมุนไพร

ส่วนประกอบดังนี้ 1. เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร    2. ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม   3. ผิวมะกรูด 50 กรัม   4. การบูร 50 กรัม

       

 

 

 

วิธีทำ                                                                                                                                                                                              1.นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง                                                                                  2.แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาให้สนิทหมักทิ้งไว้ 1สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)                      3.กรอกใส่ขวดพร้อมน้ำไปใช้งาน

           

         

2. น้ำมันเหลือง

การเตรียมน้ำมันไพล                                                                                                                                                            ส่วนประกอบดังนี้

1. ไพล 200 กรัม     

2. ขมิ้น 50 กรัม     

3. น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

         

 

 

 

วิธีทำ นำไพลและขมิ้นที่แก่จัดปลอกเปือกให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพล และขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70 – 80 มิลลิลิตร)

ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง  1. เมนทอล 120 กรัม   2. การบรู 80 กรัม     3. พิมเสน 40 กรัม   4. น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร

วิธีทำ ผสมเมนทอล การบรู และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล แล้วจึงเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน

          

 

 

 

3. ยาหม่องไพล

ส่วนประกอบ  1. วาสลีน 120 กรัม   2. พาราฟิน 80 กรัม   3.  น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร  4. พิมเสน 20 กรัม                     5.เมนทอล 20 กรัม   6. การบูร 20 กรัม     7. น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร   8. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

       

 

 

 

วิธีทำ                                                                                                                                                                                              1.ชั่งพาราฟินและวาสลีนลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตว่าพาราฟินวาสลีนจะเริ่มละลาย (น้ำใสๆ)                            2.ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน                     3.เมื่อพาราฟินและวาสลีนใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมส่วนผสมระหว่าง เมนทอล การบรู พิมเสน น้ำมันระกำ และน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน                                                                                                                                                4.เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว         

                                             

 

     

 

หมายเหตุ  1. ไม่ควรให้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้                                                                     2. การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้                                                                           3. สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น

วันที่ 10 – 16 กันยายน พ.ศ. 2564

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นเก็บแบบสำรวจสำหรับที่พักอาศัย ณ บ้านท่าปูน หมู่ที่8 ตำบลหนองโบสถ์   อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 20 ชุด ในการเก็บแบบสอบถามในครั้งนี้ หลังจากที่ได้พูดคุย ซักถามข้อมูลรายละเอียดตามแบบสอบถามที่ทางส่วนกลางได้ให้มา พบว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนมาก มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลในครอบครัว ว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร  และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้ว เป็นต้น  เมื่อออกนอกบ้านจะสวมหน้ากากอนามัยและเมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน จะล้างมือ ชำระร่างกาย หรือเปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที

สิ่งที่ได้เรียนรู้                                                                                                                                                                          ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การทำงานกันเป็นทีมร่วมกับผู้ปฏิบัติงานท่านอื่น และคนในชุมชนอีกทั้งได้เข้าใจถึงวิถีความเป็นอยู่ในชุมชน และได้รับความรู้ในการนำสมุนไพรต่างๆ เช่น ตะไคร้หอม ขมิ้น ไพร มะกรูด ฯลฯ ที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรในชุมชนได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน – การแก้ไขปัญหา                                                                                              เนื่องจากเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เดินทางเข้า-ออกชุมชน และทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความยากกว่าเดิม เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องวางแผนการทำงานทุกครั้งก่อนออกไปปฏิบัติหน้าที่ และควรใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากตัวเองและคนในชุมชน

สรุปผลการปฏิบัติงาน                                                                                                                                                            ข้าพเจ้า ทีมงาน และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้เข้าร่วมอบรมการสร้างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ณ บ้านโคกพลวง ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และได้เก็บข้อมูลโดยการพูดคุย ซักถามการสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ พบว่า ชาวบ้านในชุมชนส่วนมาก มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลในครอบครัวอยู่เสมอ มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และเมื่อออกนอกบ้านจะสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ

การทำสเปรย์สมุนไพร

อื่นๆ

เมนู