ดิฉัน นางสาวอรวรรณ คิดรัมย์  ประเภท : นักศึกษา  

หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพิ่มเติมจากเดือนตุลาคม 2564 มีรายละเอียดดังนี้

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2564 เวลา 14.54 น. อาจารย์หัวหน้าหลักสูตรแนะนำกิจกรรม U2T ONLINE COMMUNITY

เชิญชวนร่วมแข่งขัน Esports Tourtnament ในรายการ U2T Esports สุดยิ่งใหญ่ !! พร้อมชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท 

  • เปิดรับสมัครทีมจาก U2T Online Community 256 ทีม

เปิดรับสมัครตั้งแต่ วันนี้ – 5 พฤศจิกายน 2564 ที่หน้า challenge www.u2t.ac.th เท่านั้น!!!

รายละเอียด Tournament

  • สมัครแข่งขันผ่าน www.u2t.ac.th (email@u2t.ac.th)
  •  สมาชิกอย่างน้อย 3 คน ใน 1 ทีม ต้องเป็นสมาชิก U2T
  • วันรับสมัคร: 18 ตุลาคม 2564 – 5 พฤศจิกายน 2564
  • จำนวนทีมที่เปิดรับ: 256 ทีม

วันประกาศสายการแข่ง: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564

ช่องทางประกาศสายแข่งขันติดตามได้ที่ Facebook U2T Online Community และ  https://earena.com/tournament/227/overview

วันที่แข่งขัน

  • รอบ 256 – 8 ทีมสุดท้าย : วันที่ 7 พฤศจิกายน – 12 พฤศจิกายน
  • รอบ 4 ทีมสุดท้าย : วันที่ 13 พฤศจิกายน
  • รอบ Grand Final : วันที่ 17 พฤศจิกายน
  • รูปแบบการแข่งขันล แข่งขันทั้งแบบ Online 
  • แข่งแบบ Single Elimination (แพ้คัดออก)
  •  รอบ 256 – 8 ทีมสุดท้าย แข่งแบบ Best of 3
  •  รอบ 4 ทีมสุดท้าย แข่งแบบ Best of 5
  •  รอบ Grand Final แข่งแบบ Best of 7

เงินรางวัล

  •  ชนะเลิศ 100,000 บาท
  •  รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : 40,000 บาท
  •  รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : 20,000 บาท
  •  รองชนะเลิศอันดับที่ 3 : 20,000 บาท
  •  เงินรางวัลพิเศษ Challenge 20,000 บาท

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.u2t.ac.th บนแฟลตฟอร์ม Online Community หน้า Challenge !!!!

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.00 น. มีการจัดอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน มผช. โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข ณ ศาลาประชาคม หมู่บ้านหนองบัวราย ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้

ช่วงแรก เวลา 13.30 น. – 14.30 น. เป็นการอบรม เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มอาชีพพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP บรรยายโดย นางภัททรวดี มักขุนทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP

               ความหมายของ “กลุ่ม” หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการติดต่อสัมพันธ์กัน หรือปฏิสัมพันธ์กัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และความสัมพันธ์นี้จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับพอดี การที่บุคคลมารวมกันเป็นกลุ่มจะต้องมีลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะต่อไปนี้

  1. จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ
  2. แต่ละคนจะถือว่าเป็นคนกันเอง เป็นสมาชิกกลุ่ม
  3. แต่ละคนในกลุ่มจะยอมรับกันเป็นสมาชิกกลุ่ม
  4. มีปทัสถานร่วมกัน (น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ)
  5. แต่ละคนจะมีบทบาทที่ชัดเจน
  6. มีการเลียนแบบลักษณะบางอย่างที่ตนคิดว่าเหมาะสมจากสมาชิกในกลุ่ม
  7. สมาชิกมีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก
  8. สมาชิกจะแสวงหาเป้าหมายร่วมกัน
  9. มีการรับรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกัน
  10. สมาชิกกลุ่มจะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม

ความหมายของ “กลุ่มอาชีพ” การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรรมการผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับ

การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP

               จากแนวคิด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP) ที่เน้นกระบวนการ กรสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ

โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ความเป็นมา

               รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
  • ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน

ประเภทผลิตภัณฑ์

ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่จะนำดำเนินการลงทะเบียนต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญาจำนวน 5 ประเภท ดังนี้

1) ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • ผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้บริโภคสด
  • ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
  • อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2) ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

3) ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย

4) ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก

5) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

“ข้อกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง”

เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

เครื่องหมายการรับรองคุณภาพที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

 

 

 

มีลักษณะเป็นรูปมือประสานต่อเนื่องการภายในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นมุม 45 องศา

 

 

 

หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)

 

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้นมีความปลอดภัย
  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
  • ผู้ซื้อผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • สร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มโอกาสทางการค้าผู้ผลิตท่อถึงการตลาดได้ง่ายขึ้น

 

ช่วงที่สอง เวลา 14.30 – 16.00 น. อบรม เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มอาชีพพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP บรรยายโดย นายชยุต ชำนาญเนาว์ นักวิชาการอาหารและยา ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

กรณีศึกษาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน Primary GMP

ความปลอดภัย = ปลอดภัยจากอันตราย 3 ประการ
กายภาพ เคมี จุลินทรีย์

หัวใจ 3 ประการ ของการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

  • หัวใจที่ 1 ลดอันตรายเบื้องต้น

          คัดเลือกวัตถุดิบ ส่วนผสมที่มีคุณภาพดี ใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาด และมีการล้างทำความสะอาดรวมทั้งผลิตในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน

  • หัวใจที่ 2 ลด/ยับยั้ง-ทำลายเชื้อจุลินทรีย์

          ใช้ความร้อนฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ

  • หัวใจที่ 3 ป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ

           โดยการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ แยกระหว่างของสุกและของดิบ

Primary GMP

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2555 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย

กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจประเมินสถานที่ฯ 6 หมวด

 หลักเกณฑ์ Primary GMP

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย

หัวข้อที่ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต

  1. สถานที่ตั้งตัวอาคารและ ที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ ๆ จะไม่ทำ ให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  2. อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้องรักษาความสะอาดและรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

หัวข้อที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

  1. ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย
  2. ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัส กับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำความสะอาด
  3. โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วย วัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

     2.1 ง่ายแก่การทำความสะอาด

  • ดูซอกมุมจุดอับ
  • รอยเชื่อมต่อของอุปกรณ์
  • สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย ทั่วถึง
  • การวางเครื่องมือ เครื่องจักรต้องไม่ชิดผนัง เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด

     2.2 ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อน

หัวข้อที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต

  1. วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาด มีคุณภาพ ต้องล้างทำความสะอาดตามความจำเป็นเพื่อขจัดสิ่งสกปรก และต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อนโดยมีการเสื่อมสลายน้อยที่สุด และหมุนเวียน ของวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร Major Defect
  2. การดำเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
  3. ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไป ตามข้อกำหนดหรือตามความเหมาะสมของกระบวนการผลิตนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด
  4. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด บริโภคได้ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภค และการนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  5. น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็ง และการนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  6. การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและกันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย

หัวข้อที่ 4 การสุขาภิบาล

  1. น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามที่จำเป็น
  2. จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบการจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
  3. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาด และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
  4. จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอ ใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
  5. การจัดการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อที่ 5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

  1. ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาดและรักษา ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
  3. การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะ ต้องแยกให้เป็นสัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ

หัวข้อที่ 6 บุคลากรและสุขลักษณะ

  1. ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุในกฎกระทรวง หรือมีบาดแผลที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
  2. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเครื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  3. แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
  4. วิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปใน บริเวณผลิต ต้องปฏิบัติตามข้อ 2 เมื่ออยู่ในบริเวณที่ผลิต

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 เข้าร่วมการเสวนา เวลา 09.00 -12.00 น. เรื่อง จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) เสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom

  1. นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
  2. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาณ
  3. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

ดำเนินเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ และภูมิทัศน์

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564 09.00 – 12.00 น. การลงพื้นที่อบรมการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ เรื่อง ตลาด Online สำหรับผู้ประกอบการ วิทยากรบรรยายโดย อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดออนไลน์ การทำการตลาดสามารถทำได้โดยใช้สื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจหรือสินค้า เช่น Facebook, Line, Instagram, Google เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น การสร้างเพจบน Facebook การสร้าง Line “บ้านสิงห์ ของดีบอกต่อ” และการสอนเทคนิคการโพสต์ขายสินค้า

การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ประชุมแผนการปฏิบัติงานเพื่อการแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม และการวิเคราะห์ Pain Point (SWOT, VROI หรือเครื่องมือวิเคราะห์ใดๆ ตามเหมาะสม) การจัดทำ PowerPoint นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-Map
โดยเลือก 3 หัวข้อจากทั้งหมด 10 หัวข้อใน CBD ได้แก่ แหล่งน้ำ อาหาร ภูมิปัญญา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ แหล่งน้ำ
2. กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ อาหาร
3. กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษา ภูมิปัญญา

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น. เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในระดับตำบล โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ณ ศาลาประชาคม หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้มีการจัดอบรมการทำลูกประคบจากสมุนไพร และการนวดแผนไทยหรือการนวดกดจุดเบื้องต้น วิทยากรสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร : ดร.สุกัญญา ทองขัน และ ดร.วิรัญรัชน์ สื่อออก อาจารย์จากสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

วัสดุอุปกรณ์

  • ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร
  • เชือกยาว 200 เซนติเมตร
  • ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
  • เครื่องชั่ง

สมุนไพรสำหรับทำลูกประคบ ใช้สมุนไพรสดหรือแห้งก็ได้แต่ต้องไม่มีรา

กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (ใช้อย่างน้อย 3 อย่าง)

  • ไพล ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม
  • ตะไคร้ แต่งกลิ่น ลดอาการฟกช้ำ ลดอาการปวดเมื่อย
  • ขมิ้นอ้อย ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
  • ขมิ้นชัน ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
  • ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหย แก้วิงเวียน (ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้)
  • ผิวส้ม บรรเทาลมวิงเวียน
  • ข่า รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

กลุ่มที่มีรสเปรี้ยว (กรดอ่อนๆ)

  • ใบมะขาม ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว
  • ใบขี้เหล็ก ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง ช่วยบำรุงผิว
  • ใบส้มป่อย ช่วยบำรุง แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

กลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยเมื่อถูกความร้อน

  • การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
  • พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ
  • เกลือ ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น

การเก็บรักษาลูกประคบ

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3-5 วัน

การใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

สรุปการปฏิบัติงานเดือนพฤศจิกายน 2564

          ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง  มีการวางแผนการรับมือ และป้องกันตนเองกับสถานการณ์ฯ ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น โดยผู้ปฏิบัติงานและคนในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019  จึงทำให้มีการลงพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานได้สะดวกมากขึ้น แต่ละพื้นที่ยังมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ส่วนการประชุมวางแผนการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบเครือข่ายออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับการปฏิบัติงานเดือนพฤศจิกายน 2564 นี้ มีการลงพื้นที่จริงในการจัดอบรม 3 กิจกรรมด้วยกัน คือ 1) การจัดอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน มผช.  2) การจัดอบรมการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ เรื่อง ตลาด Online สำหรับผู้ประกอบการ  3) การจัดอบรมการทำลูกประคบจากสมุนไพร และการนวดแผนไทยหรือการนวดกดจุดเบื้องต้น ซึ่งการจัดกิจกรรมการอบรมทั้ง 3 กิจกรรม ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

 

อื่นๆ

เมนู