ข้าพเจ้า นายรพีภัทร หรบรรพ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร:เกษตรผสมผสานในรูปแบบโคก หนอง นาโมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน HSO2 ได้ปฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
กิจกรรมวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น.-15.00 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมการสร้างเพจ Facebook เพื่อขายสินค้า ณ บริเวณลานวัฒนธรรม บ้านโคกว่าน หมู่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นโดยคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ที่กำกับดูแลโครงการU2Tของตำบลหนองโสน มีวิทยากรมาให้ความรู้ ได้แก่
- ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
- อ.ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
ในการอบรมมีผู้เข้าร่วมรับการอบรมประมาณ 20 ท่าน หัวข้อในการอบรมเป็นการสร้างเพจ Facebook เพื่อช่วยโปรโมทขายสินค้า ของกิน ของใช้ ที่เกิดจากพี่น้องประชาชนในตำบลหนองโสนทุกหมู่บ้าน จากการอบรมมีการเสนอชื่อเพจได้ชื่อว่า “ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง” จากการปรึกษาหารือกันของผู้เข้าร่วมรับการอบรม ได้เสนอสินค้าที่พร้อมจะลงขายในเพจ ได้แก่ ประเภทของกิน คือ ข้าวเม่าแปรรูป มะพร้าวเผา และน้ำตาลอ้อย ประเภทของใช้ ได้แก่ เครื่องจักสาน ผ้าไหม ผ้าขาวม้า การสร้างเพจต้องระบุรายละเอียดลงในเพจมีเนื้อหา รายละเอียดของสินค้า ราคา ปริมาตร สโลแกน ภาพถ่ายสินค้า ในการออกแบบได้ใช้แอพพลิเคชั่นในการช่วยสร้างคือ CANVA สะดวกช่วยในการออกแบบโปรเจคงานได้ง่าย ในการอบรมมีผลิตภัณฑ์ที่เอามาเป็นตัวอย่างในการสร้างเพจ คือ ข้าวเม่าแปรรูป ของบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน ข้าวเม่าแปรรูปมีอยู่ 12 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
- ข้าวเม่าโปร
- ข้าวเม่าคลุก
- ข้าวเม่าทอด
- ข้าวเม่าลูกชิ้น
- ข้าวเม่าคั่ว
- ข้าวเม่าหมี่สมุนไพร
- ข้าวเม่าซีเรียล
- ข้าวเม่าตู
- ข้าวเม่ารางน้ำกะทิ
- ข้าวเม่าเบญจรงค์
- ข้าวเม่าแฟนซี
- ข้าวเม่ากระยาสารท
ภาพการอบรม
กิจกรรมวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2564 เวลา 16.00 น.-18.00 น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมตีข้าวที่แปลงนา โคกหนอง นาโมเดล ของคุณสว่าง หมู่ 5 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การตีข้าว หรือ การฟาดข้าว หรือ การนวดข้าวด้วยมือ เป็นการนวดข้าวแบบโบราณดั่งเดิม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชนบท เป็นการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง เพื่อให้ข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าว โดยการตีข้าวหรือฟาดข้าวแบบโบราณดั่งเดิมนี้ จะตีด้วยการใช้ไม้ตีข้าวด้วยวิธีเข้าไปยืนในผ้าแยงเขียวที่ปูไว้ แล้วเอารวงข้าวมาประมาณ 1 หอบยัดใส่ลงในไม้ตีข้าว หันรวงข้าวออกไปทางด้านหน้าของผู้ตี ก่อนจะฟาดอย่างต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้งแล้วพลิกกลับมาตีอีกด้านหลายๆ ครั้งต่อเนื่องกัน เมื่อเห็นว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงแล้วก็จะใช้ไม้ตีฟ่อนข้าวเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง แล้วยกขึ้นมาเขย่าหลายๆ ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้าวเปลือกหลุดออกจากรวงข้าวหมดแล้ว ไม้ตีข้าว หรือ ไม้หนีบ หรือ เรียกแบบไทอุบลฯ ว่า ไม้ค้อนตีข้าว หรือเรียกภาษาโคราชว่า ไม่ตีหัวข้าว ทำด้วยไม้ขนาดกำถนัด (จะเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ก็ได้) ยาวประมาณศอกครึ่ง 2 อัน ข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้างหนึ่งประมาณหนึ่งคืบ ผูกติดกันด้วยเชือกยาวประมาณหนึ่งคืบ ใช้สำหรับรัดฟ่อนข้าวเวลาตี ดังภาพ
ภาพกิจกรรมตีข้าว
กิจกรรมวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น.-12.00 น. ประชุมชี้แจง และลงพื้นที่ ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน หมู่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อรับฟังการชี้แจงภาระงานชิ้นสุดท้ายก่อนจบโครงการ หัวหน้าทีมงานได้ชี้เจงและแบ่งงานให้สมาชิกแต่ละคนจัดการ มีอยู่สองประเด็นด้วยกัน ได้แก่
- การจัดทำหลักสูตร
- เพจ “ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง”
ในการจัดทำหลักสูตร ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในประเด็นของขอบข่ายเนื้อหาหลักสูตร หัวข้อที่สาม “การแบ่งสัดส่วน โคก หนอง นา เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์” ในเรื่องของเพจ“ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง” ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในประเด็นเรื่องการเก็บข้อมูล และประชาสัมพันธ์ลงในเพจ เกี่ยวกับของกิน คือ ข้าวเม่าแปรรูป หลังจากประชุมเสร็จก็ได้ลงพื้นที่โดยทันที ได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลกับคุณประไพพิมพ์ หรบรรพ์ 1 หมู่ 1 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ประกอบการข้าวเม่าแปรรูป ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้าวเม่าแปรรูป ให้คำแนะนำต่างๆ และได้ติดต่อให้เป็นสินค้าที่จะวางขายลงในเพจ“ของดีที่หนองโสน อำเภอนางรอง”ต่อไป
ภาพการประชุมและการลงพื้นที่
การปฏิบัติงานในเดือนธันวาคมนี้ สามารถผ่านไปได้อย่างดี ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านสามัคคีกันมาก คอยให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน ข้าพเจ้าขอขอบคุณชาวบ้านในเขต ต.หนองโสน ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
จากการปฎิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม ในการปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ โครงการนี้เป็นการลงไปพัฒนาร่วมกับชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ในเรื่องของโคก หนอง นา โมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งสิ้น 11 แปลง ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติงานใหม่ ไม่ได้ลงพื้นที่ครบทั้ง 11 แปลง แต่ก็ได้ลงพื้นที่ในการลงไปเก็บข้อมูล CBD อยู่บ่อยครั้ง ข้าพเจ้าเป็นคนในพื้นที่ ในการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลจึงไม่ค่อยยากลำบากสักเท่าไหร่ แต่ก็มีความสุขทุกครั้งเมื่อได้ลงไปปฏิบัติงาน เพื่อนๆผู้ปฏิบัติงานในโครงการนี้ทุกท่าน ทำงานอย่างสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีปัญหาอะไรสามารถปรึกษาหารือกันได้ คณาจารย์ผู้ดูแลและกำกับตำบลหนองโสน ก็เป็นกันเอง คอยให้คำปรึกษาตลอดเวลา ขอบคุณ และหวังว่าจะได้ร่วมปฎิบัติงานในโครงการนี้ครั้งต่อไป
วีดิโอประจำเดือนธันวาคม 2564