ดิฉันนางสาว เดือนเพ็ญ พัดทอง ประเภท ประชาชน ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมเเละพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01
วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น.ได้ร่วมงานเสาวนาออนไลน์ ผ่านทางโปรเเกรม Zoom เรื่อง จตุรภาคีสีประสานสู่การพัฒนาที่ยังยืน การพัฒนาอย่างยั่งยืน (อังกฤษ: sustainable development) เป็นหลักการจัดองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนามนุษย์ พร้อมกับยังรักษาความสามารถของระบบธรรมชาติไว้เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและบริการระบบนิเวศซึ่งเศรษฐกิจและสังคมต้องพึ่งพา โดยผลที่คาดหวังคือ สภาพสังคมที่มีการใช้ภาวะการครองชีพและทรัพยากรเพื่อบรรลุความต้องการของมนุษย์โดยไม่บ่อนทำลายบูรณภาพและเสถียรภาพของระบบธรรมชาติ การพัฒนาอย่างยั่งยืนยังนิยามได้ว่าเป็นการพัฒนาที่บรรลุความจำเป็นในปัจจุบันโดยไม่ลดทอนความสามารถของชนรุ่นหลังในการบรรลุความจำเป็นของพวกเขา เป้าหมายความยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับสหประชาชาติปัจจุบัน จัดการกับความท้าทายทั่วโลก รวมทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของธรรมชาติ สันติภาพและความยุติธรรม เช่น
แนวคิด “ขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste)” เป็นแนวทางในการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้ลดเหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ ซึ่งหัวใจสำคัญของแนวคิดขยะเหลือศูนย์ คือ การจัดการขยะที่ต้นทาง เน้นการลดขยะ การใช้ซ้ำ และการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ก่อนนำไปกำจัด
วันที่ 30 ตุลาคม 2564 ได้อบรบการทำปุ๋ยอัดเม็ด ที่ศาลาบ้านหนองกง กระบวนการสำคัญที่จำเป็นต้องพัฒนาการเกษตรโดยเน้นที่ปัจจัยการผลิต คือ การปรับปรุงบำรุงดิน และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เองแทนการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ปุ๋ยชีวภาพในชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปุ๋ยชีวภาพคือการการที่นำเอาจุลินทรีย์ มาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยอินทรีย์วัตถุจากพืช จากอินทรีย์ หรือจากอนินทรีย์วัตถุ
1.ปุ๋ยจากมูลวัว มูลควาย
N ไนโตรเจน 1.01%
P ฟอสฟอรัส 0.30%
K โพเทสเซียม 0.58%
เหมาะสำหรับบำรุงต้น ช่วยเร่งการเติบโตของพืช ควรใช้มูลแห้งเช่นเดียวกับมูลโค เหมาะสำหรับใส่รอบโคนต้นไม้ผล หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกไม้ต้น
2.ปุ๋ยจากมูลวัว
Nไนโตรเจน 1.30%
Pฟอสฟอรัส 2.40%
K โพเทสเซียม 1.00%
เหมาะสำหรับไม้ผลบำรุงในช่วงติดดอก อาจนำมูลเหลวจากคอกไปลงบ่อหมักก๊าซชีวภาพแล้วเอามาเป็นปุ๋ยใส่พืชได้ และยังได้ก๊าซชีวภาพที่นำไปใช้หุงต้มหรือใช้ในฟาร์มได้ด้วย
3.อินทรีย์ คือสารประกอบที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ผ่านกระบวนการผลิตทางธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชจึงชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณธาตุอาหารอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงไปในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นออกมาในรูปสารประกอบอินทรีย์ เช่นเดียวกันกับปุ๋ยเคมี จากนั้นพืชจึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้
4.ปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถเปลี่ยนธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ กรมวิชาการเกษตรนับเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้ศึกษาวิจัยปุ๋ยชีวภาพมามากกว่า 30 ปี และผลิตปุ๋ยชีวภาพจำหน่ายให้แก่เกษตรกรด้วย
ประชากรตำบลหนองยายพิมพ์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ปัญหาที่พบบ่อย คือการที่ต้นทุนการผลิตข้าวสูงเกินไป สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาที่สูง ซึ่งข้าวที่เกษตรกรปลูกต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตทุกๆระยะ การใส่ปุ๋ยในนาข้าวเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ต้นข้าว เช่น ปุ๋ยสูตรรองพื้น ปุ๋ยสูตรเร่งการเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงจนทำให้มีต้นทุนสูง แต่การทำนาแบบอินทรีย์เกษตรกรสามารถนำเอาปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยหมักมาใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ด้วยต้นทุนต่ำ