ข้าพเจ้านางสาวจีราวดี กันเกตุ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองกง หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพ อัดเม็ด HSO1 ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อการพัฒนาเสริมสร้างอาชีพในชุมชนและการทำตลาดส่งออก ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ในระบบ Google Meet ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานในตำบลโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มอบหมายงานให้แก่ทีมผู้ปฏิบัติงานได้ให้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้
- ตำบลเป้าหมาย
- ลูกจ้างโครงการ
- ครอบครัวลูกจ้าง
- ชุมชนภายใน
- ชุมชนภายนอก
- อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
- เจ้าหน้าที่โครงการ (USI)
- ผู้แทนตำบล
- หน่วยงานภาครัฐ
- หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เอกชนในพื้นที่
โดยกลุ่มบัณฑิตได้รับผิดชอบในกลุ่มเป้าหมายที่ 2, 3, 4, 5, 8, 9, 10 และ 11
วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในส่วนของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ นายเสวียน ใยสิงห์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 บ้านหนองพลวง ได้มาให้ข้อมูลแบบสอบถามในครั้งนี้กล่าวว่าโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ทำให้หมู่บ้านเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานของทีมงานได้มาสอบถามข้อมูลที่เป็นจุดเด่นของหมู่บ้านและช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าในตำบลสู่ตลาดภายนอก
วันที่ 10 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมรับฟังการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อการพัฒนาเสริมสร้างอาชีพในชุมชนและการทำตลาดส่งออกร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานในตำบล โดยมีหัวข้อบรรยาย 3 หัวข้อ ดังนี้ หัวข้อที่ 1.การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพ โดย ดร.เมษยา บุญสีลา อธิบายถึงขั้นตอนการจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพ คุณสมบัติของกลุ่มอาชีพที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร และการสร้างแบรนด์สินค้า หัวข้อที่ 2 นักเล่าเรื่องและสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ประจำตำบล โดย อาจารย์วงจันทร์ พูลเพิ่ม อธิบายถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จะประสบความสำเร็จ เช่น มีลักษณะที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร มีสิ่งดึงดูดคนหมู่มาก และมีข้อเสนอราคาสินค้าที่น่าเชื่อถือ หัวข้อที่ 3 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สนิท พาราษฎร์ ได้ให้จัดตั้ง Facebook Page เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์เป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้ประชาชนนอกพื้นที่ได้สะดวกต่อการซื้อขายเนื่องจากตลาดออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับทีมผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโสนและตำบลหนองยายพิมพ์ โดย กล่าวว่าเกษตรทฤษฎีใหม่มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1. พออยู่ 2. พอกิน 3. พัฒนา เพื่อประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดลและมีชาวบ้านในพื้นที่ได้มาให้ความรู้ในการทำโคกหนองนาโมเดลเพิ่มเติม
จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเดือนนี้ถือว่าไปตามเป้าหมายที่กำหนดเนื่องจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างดีอีกทั้งทางทีมผู้ปฏิบัติงานก็ได้ปฏิบัติตามมาตราการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัดจึงทำให้การลงพื้นที่เป็นไปอย่างราบรื่นและในการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการที่ผ่านมาทำให้ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ความรู้เพิ่มเติมในด้านต่างๆ เช่น การสร้างแบรนด์สินค้ายังไงให้น่าสนใจและการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดให้กับชุมชน
คำสำคัญ : กลุ่มสัมมาชีพ, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, เกษตรทฤษฎีใหม่, โคกหนองนาโมเดล, New Normal