1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS01 - ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง
  4. HS01 ตำบลหนองกง(กลุ่มประชาชน) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม SROI ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างทักษะการสร้างอาชีพในชุมชนและร่วมรับฟังเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค  New Normal 

HS01 ตำบลหนองกง(กลุ่มประชาชน) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม SROI ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างทักษะการสร้างอาชีพในชุมชนและร่วมรับฟังเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค  New Normal 

ไม่ประมาทการ์ดอย่าตกเป็นคำพูดที่ใครๆก็เน้นย้ำในการใช้ชีวิตแบบ “New Normal” ในสถานการณ์ “COVID-19” ยุคปัจจุบัน  ซึ่งยังคงให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด คือการปฎิบัติตามแนวทาง MHTTD กันอย่างต่อเนื่อง  โดยเป็นตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษของแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ มาจากคำเต็มว่า

  • D ย่อมาจาก Distancing คือการเว้นระยะห่างกับคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร เพราะละอองฝอยจากการพูด ไอ จาม จะฟุ้งมากในระยะ 1-2 เมตร
  • M ย่อมาจาก Mask Wearing คือการสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยเพื่อลดการฟุ้งกระจายของละอองฝอย โดยประชาชนทั่วไปสามารถสวมหน้ากากผ้าได้ตลอด เพราะยิ่งซักบ่อยก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการกรองเชื้อที่ดี
  • H ย่อมาจาก Hand Washing คือการหมั่นล้างมือบ่อยๆ ทั้งน้ำสบู่ และเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เพราะมีโอกาสที่เราจะนำมาสัมผัสใบหน้าโดยไม่รู้ตัวได้
  • T ย่อมาจาก Testing คือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายสม่ำเสมอ ทั้งก่อนเข้าทำงาน ร้านสะดวกซื้อ และหากทราบว่ามีประวัติไปพื้นที่เสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจโควิด-19
  • T ย่อมาจาก Thai Cha na คือการสแกนแอปไทยชนะทุกครั้งที่เดินทางไปสถานที่ต่างๆ และโหลดแอปหมอชนะพร้อมลงทะเบียนหากทำได้ เพื่อให้ทราบความเสี่ยงติดโรคของตนเอง หากมี SMS แจ้งเตือนว่ามีประวัติไปที่เสี่ยงมา จะได้กักตัว หรือตรวจโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม แม้จะปฎิบัติตามแนวทางนี้แล้วอย่างเคร่งครัด ก็ยังอาจมีโอกาสรับเชื้อเข้ามาโดยไม่ตั้งใจเช่นกัน ดังนั้นจึงขอให้ทุกท่านไม่ประมาทการ์ดอย่าตกในการดำเนินชีวิตในยุคโควิด-19

ข้าพเจ้านายสอนราม   แหวนแก้ว ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลหนองกง  อำเภอนางรอง   จังหวัดบุรีรัมย์  สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01 (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม   

           วันที่ 5 ตุลาคม 2564  เวลา 16.00 น. ข้าพเจ้าได้ร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยคณาอาจารย์ประจำหลักสูตร HS01   ซึ่งอาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ เป็นผู้เปิดการประชุม   ในการประชุมได้มอบหมายการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม   โดยแบ่งกลุ่มให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามSROI เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละตำบล ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ  และกลุ่มประชาชนได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลตามแบบสอบถามข้อที่1 ตำบลเป้าหมาย  และข้อ2 ลูกจ้างโครงการ    

          วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามSROI  ตามแบบสอบถามข้อที่ 1 ตำบลเป้าหมาย  และข้อ 2 ลูกจ้างโครงการ พบว่ากลุ่มชุมชน กลุ่มอาชีพ เกษตรที่เข้ารวม และลูกจ้างโครงการ  ได้มีส่วนร่วมโครงการภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสัมคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) เช่นการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ Covid-19  การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ)  ด้านการทำงานในสังคมแบบมีส่วนร่วม 

          วันที่ 10 ตุลาคม 2564  ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชนได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 ชั้น 2   เรื่องการพัฒนาเสริมสร้างทักษะการสร้างอาชีพในชุมชนและการทำตลาดส่งออก ภาคเช้าได้เรียนรู้การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพ  ต้องอาศัยองค์ประกอบหลัก 5 ก คือ 1.กลุ่มสมาชิก 2.กรรมการ 3.กติกา  4.กิจกรรม 5.กองทุน   ตลอดจนหลักการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร  การสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าจดจำโลโก้ต้องสื่อถึงตัวตนและดึงดูดให้มากพอ   รวมถึงการสร้าง Story ของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นที่น่าสนใจ    ช่วงบ่ายได้แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติสร้างเพจ “facebook page”  จำหน่ายปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดบ้านหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการตลาดให้หลากหลายมากขึ้น

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชนได้เข้าร่วมรับฟังเสวนา เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค  New Normal  ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง  ได้เรียนรู้ “โคกหนองนาโมเดล” เป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ ที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำ และพื้นที่การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน   ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์  รองคณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง    นายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรชุมชนชำนาญการ  อำเภอนางรอง  อาจารย์ดนัย สุริยะวงศ์ศรี นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบบ(นพต.) นายเกรียงศักดิ์ แผ้งผลสง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน  และนางสาวดนุลดา ธรรมนิยม สารวัตรกำนัน ตำบลหนองโสน

           ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet

           ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามSROI

         อบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25

ร่วมรับฟังเสวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค  New Normal

จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้เรียนรู้หลักการจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพ   ตลอดจนหลักการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร  การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ดึงดูด   รวมถึงการสร้าง Story ของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นที่น่าสน  ยังได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติสร้างเพจ “facebook page”  และได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม SROI  ตามที่ได้รับมอบหมาย  และร่วมรับฟังเสวนา   เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล ทางเลือกและทางรอดในยุค  New Normal  

คำสำคัญ :  การ์ดอย่าตก,New Normal, COVID-19, Distancing, Mask Wearing, Hand Washing, Testing , Thai Cha na, บูรณาการ, การทำงานในสังคมแบบมีส่วนร่วม , สัมมาชีพ, มูลค่า, แบรนด์, Story, facebook page, โคกหนองนาโมเดล

 

                                                                                              

อื่นๆ

เมนู