ข้าพเจ้านางสาววราภรณ์ สาระปัญญา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบรูณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14.00 น. กลุ่มบัณฑิตและทีมงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลหนองกง และตำบลหนองยายพิมพ์ ได้เข้าร่วม ประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Google Meet เรื่องแบบสอบถาม การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) “U2T-SROI” โดยมี อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ อาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดงานประจำเดือนตุลาคม และได้มอบหมายงานในส่วนต่างๆ ให้กับผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลหนองกง และตำบลหนองยายพิมพ์
โดยกลุ่มบัณฑิตตำบลหนองกงได้รับผิดชอบในหัวข้อแบบสำรวจ 8 หัวข้อ ดังนี้
- ลูกจ้างโครงการ ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา บัณฑิต ประชาชน
- ครอบครัวลูกจ้าง ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ
- ชุมชนภายใน ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน แหล่งการเกษตร ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน (ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ) เช่น เจ้าของร้านข้าวมันไก่ ในตำบล
- ชุมชนภายนอก ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชน แหล่งการเกษตร ร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน (ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ฯ) เช่น เจ้าของร้านอุปกรณ์การเกษตร ที่อยู่นอกตำบล
- ผู้แทนตำบล ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ อบต. ประจำตำบล (ผู้ได้รับมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล)
- หน่วยงานภาครัฐ ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาล พัฒนาชุมชน รพ.สต.
- อปท. ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย ตัวแทน อปท. ที่มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเทศบาลตำบล นายก อบต.
- เอกชนในพื้นที่ ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก. บริษัท ภายในตำบล
และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. ข้าพเจ้าและกลุ่มบัณฑิตทีมงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลหนองกง ได้นัดกันประชุมเพื่อปรึกษาหารือ ตกลงแบ่งหัวข้อในการรับผิดชอบเก็บข้อมูลกัน จากนั้นก็ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบหัวข้อ ครอบครัวลูกจ้าง และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลนั้นในตำบลหนองกงของกลุ่มบัณฑิตนั้น เป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเป็นอย่างดี ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง และกลุ่มบัณฑิตสามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร
และเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.30-16.30 น.ข้าพเจ้าและทีมงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลหนองกง ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมมนุษย์สังคมวัฒนา อาคาร 25 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากรอบรมให้ความรู้ ดังนี้
- ดร.ไกร (ดร.เมษยา บุญสีลา) อบรมหัวข้อ การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพ
- อาจารย์ วงจันทร์ พูลเพิ่ม อบรมหัวข้อ นักเล่าเรื่องและสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ประจำตำบล
- ผศ. สนิท พาราษฎร์ อบรมหัวข้อ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจำหน่ายปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดและผลิตภัณฑ์ชุมชน
หลังจากนั้นทีมงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลหนองกง ก็ได้จับฉลากเพื่อแบ่งกลุ่มการจัดตั้งทำ Facebook page เพื่อทำการโปรโมทและจำหน่ายสินค้าในชุมชน
และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. ทีมงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลหนองกง ตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองโสน ได้เข้าร่วมโครงการ “เสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อออกแบบการเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับชุมชน
- ปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อส่งเสริมประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดในการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ : ประชุมออนไลน์ , U2T-SROI , ครอบครัวลูกจ้าง , อบรมเชิงปฏิบัติการ , เสวนาเกษตรทฤษฏีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal