หลัก“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ที่พระราชทานเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทยมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
1. งื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ข้าพเจ้านายสอนราม   แหวนแก้ว ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลหนองกง  อำเภอนางรอง   จังหวัดบุรีรัมย์  สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01 (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน  2564 

           วันที่ 28 ตุลาคม 2564  เวลา 09.00-12.00น. ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมรับฟังเสวนาออนไลน์ ผ่าน Zoom  Meeting  เรื่อง “Quadruple Helix :จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยมีรองศาสตราจารย์มาลิณี  จุโทปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เปิดการเสวนาออนไลน์  และมีผู้กล่าวรายงานคือ รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์   เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ 

 – นายคำเดื่อง   ภาษี  ประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์   

– รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท  เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

– นายสุพจน์   สวัสดิ์์พุทรา  นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน   

– นายณัชอิสร์   ศรีสุขพรชัย  ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์

– รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์   เนื้อไม้หอม  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ดำเนินการโดย อาจารย์ชมพู  อิสริยาวัฒน์  รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์  ซึ่งการเสวนาครั้งนี้อาจสรุปได้คือ การพัฒนนาที่ยั่งยืนนั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ปัจจัยทางวิทยาศาสตร์  โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำประเทศไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  และจะต้องอาศัยหน่วยงานในการขับเคลื่อนภาระกิจการพัฒนาประกอบด้วย 1.มหาวิทยาลัย  2. ชุมชน/วัด   3. หน่วยงานเอกชน  และ 4.หน่วยงานราชการ

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10:30 น .ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์  ผ่าน Google Meet และได้รับมอบหมายงานประจำเดือนพฤศจิกายน  ให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม CBD ตามแบบสอบถามส่วนที่ 1.เกษตรกรในท้องถิ่น   และ 2 .อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น  โดยลงพื้นเก็บข้อมูลบ้านหนองตาไก้  หมู่ที่่ 3 และบ้านหนองตาไก้น้อย หมู่ที่ 4  และบ้านตาตึ๊ด หมู่ที่5

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชน ได้ลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม CBD โดยเก็บแบบสอบถามในหัวข้อเรื่อง 1.เกษตรกรในท้องถิ่น  ซึ่งประชาชนในสามหมู่บ้านได้แก่บ้านหนองตาไก้ หมู่ที่3 บ้านหนองตาไก้น้อย หมู่ที่4 และบ้านตาตึ๊ด หมู่ที่5 ที่ลงเก็บข้อมูลประกอบอาชีพ ทำนา  เลี้ยงสัตว์  ปลูกไม้ดอกไม้ประด้บ  2 .อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น  ดักแด้คั่วสมุนไพร  แกงไก่ใส่หยวกกล้วย  น้ำพริกผัก แกงเห็ดป่า  ยำไข่มดแดง                                                                                                             

สรุปผลการดำเนินงานในเดือนพฤศจิกายน  ได้เข้าร่วมรับฟังเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ zoom  เรื่อง จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาอย่างยี่งยืน และทำงานกลุ่มจัดทำในรูปแบบ Power point  และได้เรียนรู้ถึงประเภทเกษตรในท้องถิ่น เช่นปลูกไม้ดอกไม้ประดับเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา  และอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เช่นคั่วดักแด้สมุนไพรแสนอร่อย ของตำบลหนองกง

คำสำคัญ: เศรษฐกิจพอเพียง / ทางสายกลาง /ความพอประมาณ / ความมีเหตุผล /ความรู้คู่คุณธรรม /จตุรภาคีสี่ /พัฒนาที่ยั่งยืน/ดักแด้คั่วสมุนไพร /ยำไข่มดแดง/แกงไก่ใส่หยวกกล้วย

อื่นๆ

เมนู