ข้าพเจ้า นางสาวสุภาพร โสกูล ปฏิบัติงานใน ประเภทประชาชน ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ ๑ มหาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้รับหน้าที่ สำรวจเก็บข้อมูลต่างๆ ในตำบลหนองกง รับผิดชอบในหมู่ที่ 8,9,11 และหมุู่ที่ 5 ในแบบสอบถาม 02 การเก็บข้อมูลของหมู่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน เป็นการเก็บข้อมูลลงในโทรศัพท์มือถือ
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้เข้าอบรมเรื่องการทำปุ๋ย และการทำน้ำหมักชีวภาพ และให้ดำเนินงานต่อจากเดือนที่แล้ว คือการเก็บข้อมูล ในแบบ 01และ02 บันทึกลงในโทรศัพท์ ซึ่งงานการอบรมครั้งนี้ มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 นายประทวน คำเสนา เป็นผู้ฝึกอบรม ความรู้ที่ได้จะมีการทำปุ๋ยจากดินขุยไผ่ ,การทำน้ำหมักจากนมจืดเพื่อบำรุงดิน,การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงหรือ น้ำแดง ,การทำปุ๋ยจากไข่ไก่ ฮอร์โมนไข่,การทำน้ำด่างจากขี้เถ้าจากเตา
ทั้งหมดมี 5 สูตร เป็นปุ๋ยชีวภาพ ที่สามารถไปใช้ในภาคการเกษตร ทำให้พืชผัก ปลอดภัยไร้สารเคมี เกษตรกรก็ห่างไกลจากโรค ผู้บริโภคก็ ได้รับอาหารที่ปลอดสารพิษ ผู้บรรยายมีการสาธิตการทำ การอธิบาย การนำไปใช้ และพาไปดูพื้นที่จริงที่นำปุ๋ยและน้ำหมักไปใช้ จากการสังเกตุเห็นว่าดินที่เพาะปลูกดำร่วนซุยดีมาก พืชผัก ที่ปลูกเจริญเติบโตสมบูรณ์ดีมาก
รูปภาพประกอบ การอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพพร้อมการเข้ารับฟังคำสั่งจาก อาจารย์ประจำหลักสูตร
ภาพประกอบการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ภาพประกอบ การศึกษาดูแปลงผัก
ภาพประกอบการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน
ข้าพเจ้าได้จัดเก็บข้อมูลในแบบฟอร์ม 01และ02 บันทึกผ่านโทรศัพท์มือถือโดยการลงพื้นที่ได้ลงพร้อมสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 5 คน เริ่มเก็บ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 – 10 มีนาคม 2564 ทำงานในภารกิจนี้สะดวกกว่าเดือนที่แล้ว ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลพบว่า สภาพปัญหาของชาวบ้านจะมีปัญหาหลักๆคือ ถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ น้้ำประปาไม่สะอาด เพราะเป็นน้ำดิบยังไม่ผ่านตัวกรองน้ำ ปัญหาความยากจน รัฐบาลมุ่งเน้นในการแจกเงินทำให้ชาวบ้านตั้งตารอคอย ไม่สนใจในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เหมือนคำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “จะให้สิ่งของสิ่งใดแก่ใคร ต้องให้ผู้นั้นกระทำปฏิบัติงานการใดๆ เพื่อจะเห็นประโยชน์ในสิ่งนั้นๆที่หยิบยื่นให้” หรือสุภาษิต อีกอย่าง จะให้ปลาแก่ผู้ใด สอนให้ผู้นั้นหาปลา จะเกิดความยั่งยืนเสียกว่า การสำรวจพบว่าคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จะประกอบอาชีพใดก็ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ อยากให้ภาครัฐเข้ามาหนุนเสริมฝึกอบรมความรู้ในการประกอบอาชีพ พร้อมให้เงินเพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพ ดีกว่าไล่แจกเงินเหมือนในปัจจุบัน ชาวบ้านจะได้มีความรู้และเงินลงทุนในการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน ข้อมูลบทความทั้งหมดนี้ข้าพเจ้าจะส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาต่อไป