ในสถานการณ์ปัจจุบันที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว การเข้ามาของระบบทุนนิยม ทำให้เกิดช่องว่างทางรายได้ ประชาชนส่วนใหญ่จะอยู่ในฐานะที่ยากจน  ทางอยู่ทางรอดของชุมชนต้องปรับตัวโดยนำทุนทางโภคทรัพย์ที่มีอยู่ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต จึงจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันได้

ข้าพเจ้า นายนัฏฐวัฒน์ มุกดา ปฏิบัติงานในกลุ่มประชาชน ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ 1 มหาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ภารกิจที่ได้รับผิดชอบในเดือน พฤษภาคม 2564 ได้รับมอบหมาย

1.เข้าประชุมรับภารกิจประจำเดือน พฤษภาคม 2564 พร้อมเข้าอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพในวันที่ 29 เมษายน 2564

2.เข้ารับฟังการถ่ายทอดสดผ่านช่อง HUSOC-BRU Channel ในงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564

3.ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูล U2T หัวข้อพืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่นและเกษตรกรในท้องถิ่น หมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย คือ หมู่ที่ 2, 3 , 4, 5, 8 และหมู่ที่ 9

ในวันที่ 29 เมษายน 2564 เข้าอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพ มีท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดย มีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1ตำบลหนองยายพิมพ์นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง เป็นวิทยากรท่านได้ให้ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยเน้นย้ำเรื่องการพึ่งพาตนเองของชุมชนและชาวบ้าน โดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น 80 % ในการนำมาทำเป็นส่วนผสม เหตุผลหลัก คือ

-วัตถุดิบหาง่าย

-ส่งเสริมรายได้ให้ชาวบ้าน

-กำไรสองทาง กำไรจากมูลวัวที่เลี้ยง พร้อมได้กำไรในการฟื้นฟูสภาพดินและสิ่งแวดล้อม

ท่านผู้ใหญ่ยังกล่าวอีกว่าทำปุ๋ยครั้งละ 10 ตัน ได้ 200 กระสอบ ราคากระสอบละ 400 บาท กำไรจะได้กระสอบละ 70 บาท แต่มีปัญหาเรื่องการยอมรับมาตรฐานจากลูกค้า  ท่านผู้ใหญ่จึงดำเนินการผ่านสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  โดยทางสถาบันได้จัดอบรมให้กลุ่มชาวบ้านเพื่อให้ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดเป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ  ตอนนี้ได้ขอจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนพร้อมขอขึ้นทะเบียนในการขายปุ๋ยแล้ว ท่านกล่าว

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เข้ารับฟังการถ่ายทอดสดผ่านช่อง HUSOC-BRU Channel ในงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ รับฟังการบรรยายเรื่อง กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค World Disruption  โดย ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรับฟังการบรรยายของคุณโจน จันได เรื่อง กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption ในพิธีมีประธานกล่าวเปิดงาน นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  ฝ่ายสงฆ์มีพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมเจ้าคณะตำบลหนองกงและเจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง พร้อมนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศนายอำเภอนางรอง และรองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา รักษาการแทนอธิบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย ในงานนี้ได้รับความรู้มากเช่นเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธรท่านกล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่นำมาใช้ได้เฉพาะอาชีพเกษตรเท่านั้น แต่ทุกสาขาอาชีพสามารถนำมาใช้ได้รวมถึงการพัฒนาประเทศชาติของเราด้วยท่านกล่าว และ ได้ความรู้จากคุณโจน จันได ในการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้ธรรมชาติดูแลธรรมชาติ เช่น การไม่ใช้ยากำจัดวัชพืช แต่ใช้วิธีการตัดหญ้าให้เป็นปุ๋ยคลุมดินเป็นอาหารทั้งพืชและสัตว์ได้

กลุ่มประชาชนเริ่มลงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2564 จนถึง วันที่ 15พฤษภาคม2564 ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลU2T หัวข้อพืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่นและเกษตรกรในท้องถิ่น หมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายคือ หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 8 และ หมู่ที่ 9 การเก็บข้อมูลในครั้งนี้เป็นไปด้วยดี เพราะมีชุดเจ้าหน้าที่พร้อมป้ายชื่อหน่วยงาน ชาวบ้านให้ข้อมูลดีมาก แต่ติดเรื่องโรคโควิด 19 นิดหน่อย ทางเราต้องเว้นระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัย ปฏิบัติงานอย่างรัดกุมชาวบ้านส่วนใหญ่ในตำบลหนองกงจะเลี้ยงสัตว์ คือ วัว, ควาย, หมู, ไก่, เป็ด และ ตัวไหม เป็นต้น ไว้เป็นอาหารและขายสร้างรายได้ แต่มีสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นแล้วประทับใจมากคือสัตว์ในท้องถิ่นที่อาศัยตามธรรมชาติของตำบลหนองกงมี จำนวนเยอะมาก เช่น กบ, อึ่งอ่าง, แมงดา, แมงมันข้าว, แมงจีซอน เป็นต้น  เป็นแหล่งอาหารที่ถือว่ายังอุดมสมบูรณ์ เป็นอาหารให้ชาวบ้านพร้อมสามารถขายสร้างรายได้เสริม ได้อีกด้วย

ภาพประกอบการอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพ

 

ภาพประกอบการเข้ารับฟังการถ่ายทอดสดผ่านช่อง HUSOC-BRU Channel ในงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์

 

ภาพประกอบการลงพื้นที่เก็บข้อมูลU2T หัวข้อพืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่นและเกษตรกรในท้องถิ่น

 

การปฏิบัติงานในครั้งนี้ได้ทราบถึง การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ในการพัฒนาชุมชน และพัฒนาประเทศของเราได้  พร้อมรู้ถึงทุนทางโภคทรัพย์ ทุนของชุมชน ทุนทางด้านจิตใจ กล่าวคือ ในชุมชนที่ลงปฏิบัติงาน จุดเด่นคือคนในชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคี พร้อมเรียนรู้รับสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา มีผู้นำทางจิตวิญญาณ เช่นพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของคนในพื้นที่ ก่อให้เกิดการพัฒนาที่เต็มใจ ระเบิดจากภายใน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  จากการลงสำรวจเก็บข้อมูลพบว่าคนในชุมชน ยังขาดทักษะการบริหารจัดการ เกี่ยวกับปุ๋ย มูลสัตว์ที่ตนเลี้ยง ในการเพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณค่า เบื้องต้นข้าพเจ้าจะรวบรวมข้อมูล ส่งผู้ที่เกี่ยวข้องและส่วนกลางต่อไป

อื่นๆ

เมนู