ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ในรอบที่ 3 สถานการณ์ยังไม่คลี่คลายเท่าที่ควร การปรับตัวในการดำรงชีวิต จะต้องดำเนินต่อไปเกษตรกรไทยเราต้องมองหากลยุทธวิธี มาปรับวิถีในการทำการเกษตร ให้เข้ากับสถานการณ์ในยุคโควิด 19
ข้าพเจ้า นายนัฏฐวัฒน์ มุกดา ปฏิบัติงานใน ประเภทประชาชน ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01 ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ภารกิจที่ได้รับผิดชอบในเดือน มิถุนายน 2564 ได้รับมอบหมาย
1. วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 รับมอบหมายงานเก็บข้อมูลลงระบบ U2T มหาลัยสู่ตำบล หัวข้อพืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่นและเกษตรกรในท้องถิ่น หมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายใน หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 8 และหมู่ที่ 9
2. วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอัดเม็ด HS01 ร่วมปลูกป่าที่โรงเรียนหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานใน ประเภทประชาชน ช่วยกันเตรียมความพร้อม โดยการขุดหลุมไว้สำหรับปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน
3. วันที่ 29 พฤษภาคม 2564 ลงพื้นที่อบรมการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ที่โรงผลิตปุ๋ย หมู่ที่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมรับมอบหมายงานใหม่เพิ่มคือการรณรงค์ในการฉีดวัคซีน
มีคำพูดรณรงค์ว่า “รวมพลังวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดโควิด” ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลหนองกงทุกคน ไปติดสติ๊กเกอร์ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ร้านค้าชุมชนเป็นต้น พร้อมแจกหน้ากากอนามัยและสเปรย์แอลกอฮอล์ให้กับชาวบ้าน โดยลงพื้นที่ในหมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 8 และหมู่ที่ 9
จากการลงสำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูล U2T มหาลัยสู่ตำบล หัวข้อพืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่นและเกษตรกรในท้องถิ่น หมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายใน หมู่ที่ 2, 3, 4, 5, 8 และหมู่ที่ 9 ชาวบ้านส่วนใหญ่ในตำบลหนองกงจะปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายเพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัว และจะเลี้ยงสัตว์คือวัว, ควาย, หมู, ไก่, เป็ด เป็นต้น ไว้เป็นอาหารและขายสร้างรายได้ พร้อมกันนี้ข้าพเจ้ากับทีมงานประชาชนได้ทำการรณรงค์ในการฉีดวัคซีนให้กับชาวบ้านทราบ พร้อมแจกจ่ายหน้ากากอนามัยและสเปรย์แอลกอฮอล์ให้กับชาวบ้าน และชาวบ้านส่วนใหญ่รู้สึกดีใจที่ได้รับสิ่งของในการช่วยป้องกันโรคโควิด 19
ในการเข้าอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพ โดยมีผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง เป็นวิทยากรท่านได้ให้ความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด โดยย้ำเรื่องการพึ่งพาตนเองของชุมชนและชาวบ้านใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น 80 % ในการนำมาทำเป็นส่วนผสม
เหตุผลหลักคือ
1. วัตถุดิบหาง่าย
2. ส่งเสริมรายได้ให้ชาวบ้าน
3. กำไรสองทาง กำไรจากมูลวัวที่เลี้ยง พร้อมได้กำไรในการฟื้นฟูสภาพดินและสิ่งแวดล้อม
สูตรส่วนผสมปุ๋ยหมักชีวภาพมีดังนี้
1. มูลวัวแห้ง 1,000 กิโลกรัม
2. ปุ๋ยยูเรีย 46- 0- 0 2 กิโลกรัม
3. แร่ฟอสเฟต 25 กิโลกรม
วิธีการทำ
1. นำส่วนผสมทั้งหมดมากองซ้อนกันเป็นชั้นโดยนำมูลวัวมาเทเป็นกองก่อน ตามด้วย ปุ๋ยยูเรีย และตามด้วยแร่ฟอสเฟต
2. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันโดยกลับกอง กลับไปกลับมา 3 รอบ พร้อมเติมน้ำเปล่าเพื่อเพิ่มความชื้น วิธีตรวจสอบคือการกำปุ๋ยด้วยมือ ถ้าปุ๋ยจับกันเป็นก้อนแสดงว่าใช้ได้แล้ว
3. ใช้ผ้ายางคลุมกองปุ๋ยไว้ 3 วันเพื่อกำจัดไข่แมลง เชื้อโรคต่างๆ ในดิน
4. ทำการกลับพลิกกองปุ๋ยหลังจากวันที่ 3 จะกลับกองปุ๋ยทุกๆ 7 วัน จำนวน 3 ครั้ง รวมการทำปุ๋ยทั้งหมด 24 วัน
5. นำปุ๋ยที่หมักได้ที่แล้วเข้าเครื่องตีปุ๋ยให้ละเอียด
6. นำปุ๋ยที่ละเอียดดีแล้วเข้าเครื่องอัดเม็ด ทำให้ปุ๋ยเป็นเม็ด
7. นำเม็ดปุ๋ยที่อัดเป็นเม็ดแล้วไปตากแดดให้แห้ง ก่อนบรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์ นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าถ้าเราต้องการสูตรปุ๋ยชีวภาพกึ่งเคมี เราก็สามารถกำหนดสูตรปุ๋ยตามความต้องการของพืชได้ และการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดนี้ทำให้ชาวบ้านได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ ราคาประหยัด ลดต้นทุนในการผลิตได้แถมยังเพิ่มรายได้จากการนำมูลวัวมาจำหน่ายให้กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด นี้คือทางรอดของเกษตรกรในยุคปัจจุบัน และทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนต่อไปได้ ผู้ใหญ่ฉะไมพร แผ้วพลสง กล่าว
ภาพประกอบการลงพื้นที่เก็บข้อมูล U2T
ภาพประกอบร่วมปลูกป่าที่โรงเรียนหนองยายพิมพ์
ภาพประกอบรวมพลังวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดโควิด
ภาพประกอบอบรมการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ที่โรงผลิตปุ๋ย หมู่ที่ 1 ตำบลหนองยายพิมพ์
การปฏิบัติงานในครั้งนี้ได้มีส่วนร่วมกับชุมชนในการปลูกป่า ได้รับการอบรมความรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ทราบถึงทุนของชุมชน ทุนทางด้านจิตใจ กล่าวคือ ในชุมชนที่ลงปฏิบัติงาน จุดเด่นคือคนในชุมชนมีความสมัครสมานสามัคคี พร้อมเรียนรู้รับสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา มีผู้นำทางจิตวิญญาณ เช่นพระครูวิสุทธิพัฒนาภิรม เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของคนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน เบื้องต้นข้าพเจ้าจะรวบรวมข้อมูล ส่งผู้ที่เกี่ยวข้องและส่วนกลางต่อไป