ข้าพเจ้า นางสาวจริยาภรณ์ แก้วปุม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : HS02 การเกษตรผสมผสานในรูปแบบโคกหนองนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ในเดือนมิถุนายน  2564 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 20 มิถุนายน  2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติงานในกิจกรรม Nongsano Health Care ภายในกิจกรรมมีการสอนวิธีการล้างมือให้ถูกสุขลักษณะโดยมีคุณหมอจากโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลหนองโสนมาบรรยายและสอนวิธีการทำเจลแอลกฮอล์ล้างมือและแอลกฮอล์ล้างมือเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองโสน  กิจกรรมในตอนช่วงบ่ายได้มีการเดินรณรงค์ เชิญชวนชาวบ้านในพื้นที่ตำบลหนองโสนไปฉีควัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด – 19 และแจกเจลแอลกฮอล์ให้กับประชาชนตามบ้านเรือน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม Nongsano Health Care มีนายก เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน กลุ่มตัวแทนอสม.ทั้ง 12 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลหนองโสน กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน U2T ประจำตำบลหนองโสนและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย  

วันที่ 25 มิถุนายน 2564 และ วันที่ 28  มิถุนายน  2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเพื่อลงพื้นที่ปฏิบัติงานในกิจกรรมเอามื้อสามัคคีโคกหนองนาโมเดล ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการจัดกิจกรรมอามื้อสามัคคีโคกหนองนาโมเดลตำบลหนองโสน ก่อนจะเริ่มกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมผู้นำจะกล่าวต้อนรับ ทักทายกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เคารพธงชาติ สวดมนต์ กล่าวคำปฏิญาณตน บอกวัตถุประสงค์ของกิจกรรม โดย และแนะนำเจ้าของแปลงโคกหนองนาโมเดล ดังนี้ 1. แปลงนายบุญลือ นวลปักษี บ้านบุคราม หมู่ที่ 11 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  2. แปลงนายจุล ชื่นชู บ้านโคกว่าน  หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  3. แปลงนายบุญมี หรบรรพ์  บ้านโคกว่าน  หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์ 4. แปลงนางสาวดนุลดา ธรรมศิริ บ้านโคกสูง หมู่ที่ 4 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  5. แปลงนางสาวปรีดา จรกระโทก บ้านโคกน้อย หมู่ที่ 10 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  6. แปลงนายอุทัย งามแพง บ้านหนองโสน หมู่ที่ 5 ตำบลหนองโสน  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์  7. แปลงนายสว่าง อุดมดัน บ้านโสนน้อยพัฒนา หมู่ที่ 12 ภายในกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมด้วย ช่วยกันปลูกต้นไม้เศรษฐกิจ เช่น ต้นพะยูง ต้นสัก ต้นประดู่ ต้นยางนา และปลูกต้นไม้ประเภทกินผล เช่น ต้นกล้วย ต้นมะม่วง ต้นขนุน ต้นมะเขือ เป็นต้น ในแต่ละครั้งที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานก็จะมีนักพัฒนาชุมชนชำนาญการประจำตำบลหนองโสนมาให้ความรู้เกี่ยวกับโคกหนองนาโมเดล ดังนี้ รูปแบบ “โคก หนอง นา” โมเดล
“โคก หนอง นา โมเดล” จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว 30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจเพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความสมบูรณ์และความร่มเย็น และ 10% สำหรับที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น

เดือนกรกฎาคมได้ลงพื้นที่พร้อมด้วยทีมงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ณ บ้านโคกตะโก หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูล 10 หัวข้อใน Applications. U2T ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลผ่าน Applications. U2T ในพื้นที่บ้านโคกตะโก  หมู่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน อสม.ในชุมชนวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องการโรคระบาดอย่างเคร่งครัด การลงพื้นที่เก็บข้อมูล 10 หัวข้อในApplications. U2T ได้แก่ 1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2. แหล่งท่องเที่ยว 3. ที่พัก/โรงแรม 4. ร้านอาหารในท้องถิ่น 5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6. เกษตรกรในท้องถิ่น 7. พืชในท้องถิ่น 8. สัตว์ในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่นเพิ่มเติม และเก็บข้อมูลของ 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) ประจำเดือนกรกฎาคม โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายให้กลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม มีหัวข้อมูลการเก็บข้อมูลจำนวน 4 หัวข้อ ดังนี้ 1. แบบสำรวจชุดที่ 1สำหรับที่พักอาศัย  2. แบบสำรวจชุดที่ 2 สำหรับตลาด  3. แบบสำรวจชุดที่ 3 สำหรับศาสนสถาน  4. แบบสำรวจชุดที่ 4 สำหรับโรงเรียน การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งงานเก็บข้อมูลคนละ 40 ครัวเรือน ซึ่งในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี

อื่นๆ

เมนู