ข้าพเจ้านางสาวปภัสรา ได้ทุกทาง  ประเภทประชาชน  หลักสูตรโคกหนองนาโมเดล(HS02)  ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาลัย “มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ”

วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์ ผ่านทาง Google Meet เรื่อง การรณรงค์มาตรการโควิด-19 อาจารย์ได้แจ้งในเรื่องของกิจกรรม u2t covid-19 week ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายในวันที 31 พฤษภาคม 2564 นี้ อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน  กิจกรรมเชิงรุก แบ่งออกเป็น 3 step ดังนี้ step 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด “กิจกรรมการทำความสะอาดพื้นที่” เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ทำให้สภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดเชื้อ ทำให้ตำบลของเราน่าอยู่มากขึ้น step 2 สร้าง safe zone เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด “การเตรียมความพร้อม” การใช้พื้นที่อย่างปลอดภัย ศึกษาคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุข สำรวจและกำหนดบริเวณพื้นที่ และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ออกแบบและเผยแพร่มาตรการการใช้สถานที่ร่วมกันอย่างปลอดภัย step 3 จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อม กับสถานการณ์โควิด-19 “จัดหาและบริหารจัดการอุปกรณ์” ให้พอและพร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์  ฉากกั้นและอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อการป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้ง 3 step นี้อาจารย์ได้แบ่งให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบ step 1 บัณฑิตจบใหม่ step 2 นักศึกษา step 3 ประชาชน กิจกรรมเชิงรับ  u2t รวมพลัง ฉีดวัคซีน  พิชิตภัย covid ด้วยวัคซีน “u2t รวมพลัง ปกป้องชีวิต พิชิตภัย covid  ด้วยวัคซีน” รวมพลังชาว u2t ร่วมรณรงค์การฉีดวัคซีนเพื่อลดการระบาดโควิดด้วยการ –ศีกษา หาข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน –เผยแพร่ ข้อมูลถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติ ก่อนและหลังฉีดวัคซีน –เร่งสำรวจคนในชุมชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว  เร่งสร้างความมั่นใจ และอำนวยความสะดวกให้สมบูรณ์ ให้ผู้ปฏิบัติงานเชิญชวนชาวบ้าน รณรงค์ รวมพลังฉีดวัคซีน และพูดถึงข้อดี ข้อเสียของการฉีดซีน และการทำคลิปวีดิโอแต่ละขั้นตอนให้ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจ

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

วันที่ 23 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเตรียมจอบและเสียม ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ เพื่อขุดหลุมเตรียมปลูกป่าสร้างคุณค่า สู่แผ่นดิน โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 การลงพื้นที่ในวันนี้มีทั้งชาวบ้านและผู้ปฏิบัติงานทั้ง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองโสน ตำบลหนองกง และตำบลหนองยายพิมพ์  ผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านได้ร่วมด้วยช่วยกันขุดหลุมในพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ จากนั้นชาวบ้านและผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันและแยกย้ายกัน

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและทางทีมงานได้จัดเตรียมอุปกรณ์ หน้ากากอนามัย และสเปรย์แอลกอฮอล์ เพื่อมอบให้กับชาวบ้าน ข้าพเจ้าและทีมงานได้จัดทำสเปรย์แอลกอฮอล์เอง อุปกรณ์ 1.ขวดสเปรย์ขนาด 30 ml 2.แอลกอฮอล์ 3.กลีเซอรีน ขั้นตอนการทำ 1.เตรียมแอลกอฮอล์ 2.จากนั้นใส่กลีเซอรีนที่เตรียมไว้ ผสมลงในขวดแอลกอฮอล์ 3.เขย่าส่วนผสมให้เข้ากัน 4.เทใส่ขวดสเปรย์ที่เตรียมไว้ 5.ฉีดและพ่นลงบนฝ่ามือแล้วถูจนแห้ง หรือใช้ตามอัธยาศัย หลังจากจัดเตรียมอุปกรณ์เสร็จ ข้าพเจ้าและทีมงานได้นำไปมอบให้กับชาวบ้าน วัด และพนักงาน อบต.หนองโสน หลังจากนั้นข้าพเจ้าและทีมงานได้รับประทานอาหารกันและแยกย้ายกัน

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ เข้าร่วม โครงการรวมใจปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564  เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเสวานาครั้งนี้มีการถ่ายทอดสดผ่านทาง husoc-bru channel & ออนไลน์ช่อง youtube  โดยมีนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานในพิธีปลูกต้นไม้ และกล่าวเปิดงานเสวนาปลูกป่าชุมชน  นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน ผู้กล่าวรายงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้กล่าวขอบคุณ   ผู้ร่วมเสวานา พระครูวิสุทธิ พัฒนาภิรมย พ่อคำเดื่อง ภาษี ดร.พิสมัย ประชานันท์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายเดช สวัสดิ์พูน นายณรงค์ฤทธิ์ เสนาสังข์ อาจารย์ไพรัช ชื่นศรี  นายคำนึง เจริญศิริ นายพิชาญ ดัดตนรัมย์  ช่วงบ่ายข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมปลูกป่าสร้างคุณค่า สู่แผ่นดิน  พื้นที่ 20 ไร่ ด้านหลังโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ในการเข้าร่วมปลูกป่าครั้งนี้ มีทั้งชาวบ้านจากหลายพื้นที่ ผู้นำชุมชนแต่ละหมู่บ้าน และผู้ปฏิบัติงานของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ตำบลที่เข้าร่วมได้แก่ ตำบลหนองโสน ตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง ตำบลพระครู ฯลฯ การปลูกป่าในครั้งนี้ได้เห็นถึงความสามัคคี ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ทำให้งานครั้งนี้ราบรื่นไปได้ด้วยดี

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

วันที่ 11 มิถุนายน 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สำรวจระบบจัดเก็บข้อมูล u2t ตามหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ซึ่งพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นเกษตรกร สัตว์ในท้องถิ่นที่พบมากทีสุด คือ ไก่ สุนัข วัว ควาย เป็นต้น พืชในท้องถิ่นที่พบมากที่สุด คือ ชะอม กล้วย มะม่วง มะพร้าว มะยม เป็นต้น ส่วนอาหารประจำถิ่น ร้านอาหารในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่พัก/โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว แหล่งน้ำในท้องถิ่น ในแต่ละหมู่บ้านก็จะแตกต่างกันไป ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้เห็นบรรยากาศ ความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และข้าพเจ้าหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้าน อย่างยั่งยืนของชุมชนต่อไป

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

 

 

อื่นๆ

เมนู